2. บันไดหนีไฟ ต้องสามารถเข้าถึงได้สะดวก ทางออกสำหรับหนีไฟที่ดีนั้นต้องเข้าถึงได้ง่าย และไม่มีการวางสิ่งของใด ๆ เกะกะขวางทางอีกด้วย ทั้งนี้ตำแหน่งในการติดตั้งต้องพิจารณาว่าผู้ที่พักอาศัยอยู่ภายในอาคารต่าง ๆ เหล่านั้นต้องสามารถใช้อพยพหนีออกมาจากอาคารได้อย่างรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคารทุก ๆ คน กรณีเป็น บันไดหนีไฟ แบบพกพา กล่องหรือสถานที่จะเก็บจะต้องไม่มีข้าวของใด ๆ ไปวางปิดเอาไว้ให้ยากต่อการนำมาใช้งาน และควรอยู่ใกล้กับบริเวณหน้าต่าง หรือทางออกที่ต้องการด้วย
3. ความลาดชันของบันไดสำหรับหนีไฟ ในกรณีที่อาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่ติดตั้งทางออกหนีไฟนั้นมีขนาดความสูงไม่เกิน 4 ชั้น บันไดสำหรับหนีไฟสามารถมีความลาดชันมากกว่า 60 องศาได้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานในขณะที่กำลังอพยพเคลื่อนย้ายออกจากอาคารสถานที่นั้น ๆ อย่างกรณีบันไดสำหรับหนีไฟแบบพกพาควรมีความแข็งแรงพร้อมราวจับที่มั่นคงเพื่อให้สะดวกและปลอดภัยในระหว่างการใช้งาน และสามารถอยู่ในลักษณะแนวดิ่งได้ ด้วยความกว้างไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร
4. วัสดุที่นำมาใช้ทำบันไดสำหรับหนีไฟ บันไดสำหรับหนีไฟที่ดีควรทำจากวัสดุทนไฟ อย่าง บันไดหนีไฟแบบพกพา ที่ทำจากโลหะคุณภาพดีที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน จึงสามารถรองรับน้ำหนักของผู้ที่กำลังอพยพเคลื่อนย้ายได้มากถึง 450 กิโลกรัม โดยไม่เกิดความเสียหายเพราะความร้อนจากเปลวเพลิงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย โดยมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
5. การติดตั้งป้ายแสดงทางออกฉุกเฉิน ในบางกรณีผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคารขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้อาจเป็นเพียงแขกผู้มาเยือน มิใช้บุคคลที่อาศัยอยู่ภายในอาคารนั้น ๆ เป็นประจำทำให้ยากต่อการทราบเว้นทางสำหรับอพยพหนีไฟได้ ดังนั้นจึงควรมีการติดป้าย หรือสัญลักษณ์ไว้ในบริเวณที่ทำการติดตั้งบันไดสำหรับหนีไฟ เพื่อให้ผู้คนเหล่านี้สามารถอพยพเคลื่อนย้ายออกจากอาคารสถานที่นั้น ๆ ได้อย่างทันท่วงที
6. ตำแหน่งของบันไดสำหรับหนีไฟ บันไดสำหรับหนีไฟควรมีระยะห่างระหว่างประตูห้องสุดท้ายของปลายทางเดินไม่เกิน 10 เมตร หรือในกรณีที่ติดตั้งบริเวณทางเดินภายในอาคาร ก็ควรมีระยะห่างจากทางเดินไม่เกิน 60 เมตร ไม่มีสิ่งกีดขวางในการเข้าออก และต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อความปลอดภัยในระหว่างการอพยพเคลื่อนย้ายออกจากอาคารสถานที่นั้น ๆ ที่กำลังประสบเหตุเพลิงไหม้
7. พื้นด้านล่างบันไดสำหรับหนีไฟ บันไดสำหรับหนีไฟที่ดีควรพาผู้ที่อพยพออกจากอาคารมาอยู่ยังพื้นชั้นล่างของอาคาร โดยพื้นที่ด้านล่างดังกล่าวควรสามารถเดินทางต่อไปยังจุดรวมพล หรือพื้นที่ที่มีความปลอดภัยได้ทันที ไร้สิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคใด ๆ พื้นอาคารส่วนที่อยู่ด้านล่างบันไดสำหรับหนีไฟ ยังควรมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่มีลักษณะชำรุดอีกด้วย
8. ระยะห่างระหว่างขั้นบันได ในกรณีที่อาคารใช้บันไดสำหรับหนีไฟในลักษณะแนวดิ่ง หรือบันไดสำหรับหนีไฟแบบพกพานั้น จำเป็นต้องพิจารณาระยะห่างระหว่างขั้นบันไดด้วย เพื่อความปลอดภัยในขณะทำการอพยพเคลื่อนย้าย โดยระยะห่างระหว่างขั้นบันไดที่ดีคือระยะไม่เกิน 60 เซนติเมตร และมีระยะลอยห่างจากพื้นไม่เกิน 3.5 เมตร
9. การใช้งานซ้ำ ในกรณีที่เป็น บันไดหนีไฟแบบพกพา นั้น ผู้ใช้งานไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ เพราะบันไดอาจเกิดการชำรุดเสียหายอันเนื่องมาจากการใช้งานครั้งแรกได้ จนก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่นำกลับมาใช้งานซ้ำใหม่ได้ และในการใช้งานแต่ละครั้งควรให้ผู้ใหญ่ทดลองใช้บันไดดูก่อนให้เด็กใช้ เพื่อความปลอดภัยของเด็ก และเป็นการทดสอบสภาพการใช้งานของบันไดด้วย
10. การทำความเข้าใจและทดสอบอพยพหนีไฟอยู่เสมอ แม้จะเป็นอาคารบ้านเรือนทั่วไป แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะเตรียมความพร้อมให้กับทุก ๆ คนที่พักอาศัย หรือใช้อาคารสถานที่นั้น ๆ อยู่เสมอ จึงควรมีการชี้แจงให้ทุก ๆ คนทราบว่าบันไดสำหรับหนีไฟนั้นจัดเก็บ หรือติดตั้งอยู่ที่บริเวณใด หากเป็นบันไดสำหรับหนีไฟแบบพกพาอาจทดสอบด้วยการนำไปแขวน และปล่อยเพื่อดูระยะห่างที่เหมาะสมของบันไดในระหว่างการฝึกเพื่ออพยพหนีไฟด้วย