1. ไม่มีการตรวจสอบสายไฟและระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านเลย – บางคนตั้งแต่ย้ายเข้ามาอยู่ทั้งสายไฟ, ปลั๊กไฟ, มิเตอร์, คัตเอาท์ต่าง ๆ เคยใช้อย่างไรก็อยู่แบบนั้น ไม่เคยมีการตรวจสอบสภาพใด ๆ ทั้งสิ้น อย่าลืมว่าทุกอย่างบนโลกใบนี้มีวันเสื่อมสภาพทั้งสิ้น ยิ่งเป็นระบบไฟฟ้าด้วยแล้วเวลาเสื่อมสภาพมันอันตรายมาก ๆ การไม่ตรวจสอบใด ๆ โอกาสที่จะทำให้เกิดไฟไหม้บ้านจึงมีสูง อย่างน้อยควรตรวจสอบปีละครั้งก็ยังดี
2. ไม่ชอบถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จแล้ว – คิดว่าหลายคนเป็นเหมือนกันประเภทใช้พัดลม, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, ไฟฉายสปอตไลท์ พอใช้เสร็จก็แค่ปิดเครื่องมันอย่างเดียวไม่มีการถอดสายไฟออกจากปลั๊ก นั่นทำให้กระแสไฟยังคงไหลเวียนเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอด ยิ่งเมืองไทยเป็นเมืองร้อนทั้งไฟฟ้าและความร้อนมาเจอกันหนัก ๆ เข้าการระเบิดของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือการลัดวงจรมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้และนั่นหมายถึงโอกาสที่ไฟจะไหม้บ้านมีสูง
3. จุดธูปเทียน ยากันยุง ทิ้งเอาไว้โดยไม่ใส่ใจ – เรามักเห็นข่าวกันบ่อย ๆ ว่าไฟไหม้บ้านเกิดจากคนที่จุดธูปเทียนไหว้พระในบ้านหรือจุดยากันยุงเอาไว้แล้วไหม้ นั่นเพราะไม่ได้สนใจพอจุดและทำภารกิจเสร็จก็เดินไปทำอย่างอื่นต่อปล่อยให้ไฟติดอยู่อย่างนั้น บางทีอาจมีลมพัดเศษกระดาษ, เศษใบไม้ปลิวใส่ก็ทำให้เกิดไฟ หรือลมพัดธูปเทียนล้มไปโดนฉนวนไฟฟ้าต่าง ๆ ก็เกิดไฟไหม้เอาง่าย ๆ เลย
4. ไม่ชอบปิดวาล์วแก๊สเมื่อใช้งานเสร็จ – คงเคยได้ยินคำว่าแก๊สระเบิดกันบ่อย ๆ สาเหตุหนึ่งมาจากการไม่ปิดวาล์วแก๊สทำให้แก๊สสามารถรั่วไหลผ่านสายมาถึงเตาได้ตลอดเวลา บางทีเตาที่ยังร้อนอยู่เมื่อเจอกับแก๊สและอาจเกิดประกายไฟเล็กน้อยก็ทำให้แก๊สระเบิดได้แล้ว ทางที่ดีเมื่อใช้งานแก๊สเสร็จควรปิดเตาแก๊สและวาล์วแก๊สให้สนิททุกครั้ง ทำให้เป็นนิสัยจนเคยชินจะได้ไม่ลืม
5. ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าหนักเกินไป – บางคนใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดทั้งวันทั้งคืน เช่น เปิดพัดลมทิ้งไว้ตลอดเวลา, ส่อง ไฟฉายสปอตไลท์ ทิ้งเอาไว้ทั้งที่ตอนกลางวันปิดก็ได้ เป็นต้น ของเหล่านี้หากถูกใช้งานหนัก ๆ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มอเตอร์พอมันทำงานหนักเข้าจะเกิดความร้อนและอาจระเบิดจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุไฟไหม้บ้านเอาแบบง่าย ๆ เลย
6. สูบบุหรี่แล้วไม่ดับให้สนิท – เรื่องนี้คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง บ้านไหนมีคนสูบบุหรี่ในบ้านแล้วไม่ชอบดับให้สนิท ประเภทสูบหมดมวนแล้วก็โยนทิ้งมั่วซั่ว ไฟจากปลายบุหรี่ที่ยังติดอยู่สามารถไปติดกับเศษกระดาษ เศษใบไม้จนเกิดเป็นเพลิงเอาได้ง่าย ๆ เลย ทางที่ดีติดตั้งอุปกรณ์ประเภท เสาดับบุหรี่ เอาไว้ในบ้านก็ดีอย่างน้อยก็ช่วยลดโอกาสเสี่ยงตรงนี้ได้ชัวร์
7. ไม่ตรวจสอบบ้านให้เรียบร้อยก่อนออกไปข้างนอก – การถอดปลั๊กให้หมดหรือการปิดแก๊สเป็นสิ่งสำคัญหากต้องออกไปนอกบ้านแล้วในบ้านไม่มีใครอยู่ เพราะเวลาเกิดการลัดวงจรหรือแก๊สรั่วขึ้นมาหากมีคนในบ้านยังพอช่วยหยุดหรือดับไฟไว้ได้ทันแต่ถ้าไม่มีใครอยู่เลยแล้วยังทำแบบนี้ทิ้งไว้โอกาสจะเกิดไฟไหม้บ้านมีสูง แนะนำให้ทำเป็นนิสัยจะได้ชิน
8. ไม่มีการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าเลย – เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อใช้งานไปได้ในระยะเวลาเหมาะสมควรมีการตรวจสอบว่าระบบภายในยังคงใช้ได้ปกติหรือไม่ เช่น พัดลมที่เปิดประจำหากรู้สึกว่าอยู่ดี ๆ มอเตอร์ร้อนผิดปกติก็ควรให้ช่างไฟฟ้าดูให้, แอร์ที่เปิดอยู่ ๆ ได้กลิ่นเหมือนกลิ่นไหม้ก็ควรเรียกช่างแอร์มาตรวจสอบ เป็นต้น
9. ถ่านและมอเตอร์เสีย ๆ เก็บรวมกันไว้ – สิ่งเหล่านี้จัดเป็นชนวนไฟฟ้าชั้นดีที่ติดไฟง่าย ยิ่งถ่านถ้าอยู่ในพื้นที่ร้อนจัด อาจเกิดการเสียดสีภายในจนกลายเป็นสะเก็ดไฟและค่อย ๆ ลามไปเรื่อยกับกองถ่าน กองมอเตอร์ หรือแม้แต่ไฟแช็กที่เก็บรวม ๆ ในกล่องเอาไว้ แนะนำว่าหากใช้ถ่านเสร็จแล้วก็ทิ้งไปเลย
10. ไม่กำจัดหนูและแมลงสาบในบ้าน – สัตว์เหล่านี้ชอบการกัดแทะสายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ หากไม่มีการกำจัดเวลาพวกมันไปกัดแล้วคุณไม่รู้เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานอาจเกิดการลัดวงจรจนไฟไหม้เอาได้ง่าย ๆ