เราควรให้ลูกขับรถเมื่อไหร่?

เราควรให้ลูกขับรถเมื่อไหร่?

          การขับขี่รถยนต์ จักรยานยนต์ หรือยานพาหนะใด ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องมีความรับผิดชอบ และมีวินัยจราจรอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตัวเองและผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน มิใช่เพียงแค่การรู้จัก ป้ายจราจร และ สัญญาณไฟจราจร เท่านั้น 

         สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยรุ่นหรือวัยเริ่มทำงานที่ต้องการมีรถส่วนตัวไว้ใช้ การจะให้ลูกขับรถได้ด้วยความวางใจว่าสามารถควบคุมรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ต้องพิจารณาจากปัจจัยสำคัญหลายประการ จะมีอะไรบ้างนั้น ร้านไทยจราจร ได้รวบรวมมาไว้ที่นี่แล้ว 

เราควรให้ลูกขับรถเมื่อไหร่?

วุฒิภาวะและการควบคุมอารมณ์ของลูก

ก่อนการยื่นกุญแจรถให้ลูกหัดขับ คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาเรื่องวุฒิภาวะทางอารมณ์ของลูกว่ามีความพร้อมที่จะควบคุมรถหรือยานพาหนะหรือไม่ โดยสังเกตจากสิ่งต่อไปนี้ 

  1. การแสดงออกเมื่อมีอารมณ์โกรธ โมโห เมื่อมีการขัดใจหรือประสบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เช่น การฉุนเฉียว ตัดสินใจแบบหุนหันพลันแล่น การใช้กำลังแก้ไขปัญหา ฯลฯ เพราะในสถานการณ์การขับขี่จริงบนท้องถนน ลูกย่อมต้องเจอกับการถูกขับรถปาดหน้าหรือการต้องเบรกรถกะทันหันตามรถคันหน้า หากลูกไม่สามารถควบคุมการแสดงออกเหล่านี้ได้ ก็เรียกได้ว่ายังไม่พร้อมสำหรับการขับขี่อย่างแน่นอน
  2. การขับรถเป็นเพียงอารมณ์อยากได้ชั่ววูบหรือเป็นความจำเป็นที่ต้องขับขี่รถไปเรียนหรือทำงาน เพราะในปัจจุบันมีจำนวนรถบนท้องถนนมากมายอยู่แล้ว หากไม่มีความจำเป็นก็ควรชะลอการใช้รถออกไปก่อน (วัยรุ่นจำนวนไม่น้อย ต้องการรถใหม่เพื่อแสดงฐานะและความสะดวกสบาย ทั้งที่มีบริการรถสาธารณะที่ใช้ได้อยู่หลายช่องทาง) 
  3. ความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมและความมีน้ำใจต่อผู้อื่น เป็นคุณสมบัติที่สำคัญทำให้การขับรถราบรื่น ลดความขัดแย้ง และไม่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การเลี่ยงเส้นทางการจราจรให้รถพยาบาล รถดับเพลิง หรือรถตำรวจ วิ่งผ่านไปก่อนตามเหตุการณ์ฉุกเฉิน
เราควรให้ลูกขับรถเมื่อไหร่?

อายุที่เข้าหลักเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด

         การทำใบขับขี่เพื่อขับรถส่วนตัวของไทยในปัจจุบัน ผู้ขับขี่ต้องมีอายุขั้นต่ำที่ 18 ปี ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือจักรยานยนต์ หากเป็นกรณีที่ครอบครัวต้องการให้ลูกช่วยขับรถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์เพื่อช่วยในการประกอบอาชีพ ลูกก็ต้องมีอายุ 18 ปีเช่นกัน ส่วนการสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์และรถตั้งแต่สามล้อขึ้นไปเพื่อการสาธารณะ เช่น ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นวินจักรยานยนต์ หรือ messenger ส่งของ ลูกก็ต้องมีอายุ 20 และ 22 ปีขึ้นไป ตามลำดับ หากไตร่ตรองแล้วว่าลูกมีวุฒิภาวะและมีอายุถึงหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ก็เป็นไปได้สูงที่ลูกจะขับรถได้ด้วยความปลอดภัยและมีสติมากกว่าความคึกคะนอง

 

การมีพื้นฐานความรู้ในการขับขี่

          ในปัจจุบัน เราสามารถอ่านกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ทางการจราจรจากหนังสือและศึกษาผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ของกรมการขนส่ง รวมถึงเว็บไซต์อื่น ๆ เพื่อการให้ความรู้เชิงวิชาการ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรกำชับสิ่งที่ลูกควรรู้ในขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 

เราควรให้ลูกขับรถเมื่อไหร่?

1.การเข้าใจความหมายของสัญญาณไฟจราจรแลป้ายจราจร ต่าง ๆ

         เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการขับขี่ยานพาหนะทุกชนิด หากมีความสับสนในความหมายหรือเข้าใจผิดพลาดย่อมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งหากเกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายก็ต้องถูกลงโทษตามระเบียบในพระราชบัญญัติการจราจรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย 

เราควรให้ลูกขับรถเมื่อไหร่?

2.การรู้และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการใช้อุปกรณ์เพื่อการจราจรต่าง ๆ

เช่น การวางกรวยจราจร หรือแผงกั้นจราจร เพื่อการเตือนภัยว่ามีอุบัติเหตุ หรืออยู่ใกล้บริเวณก่อสร้างซ่อมแซมเส้นทาง จะมีประโยชน์ทำให้ลูกรู้ว่าต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น

เราควรให้ลูกขับรถเมื่อไหร่?

3.การมีความเข้าใจในความหมายของช่องทางพิเศษ

ได้แก่ ช่องจอดรถสำหรับคนทุพพลภาพ ซึ่งจะมีป้ายช่องจอดรถคนพิการและมีการทาสีฟ้าพร้อมรูปสัญลักษณ์คนนั่งบนรถเข็น หรือ ทางเดินคนตาบอด ซึ่งจะมีบล็อคปูถนนสีเหลือง หรือวัสดุอะลูมิเนียม สำหรับให้คนพิการทางสายตาสามารถใช้ไม้เท้าสัมผัสและนำร่องทิศทางการเดิน ลูกควรรู้ว่าไม่ควรจอดรถกีดขวางคร่อมพื้นที่สำคัญเหล่านี้

 

การมีความรู้และความชำนาญในการควบคุมรถที่จะใช้

          นอกจากความรู้เรื่องกฎหมายและวินัยการจราจรแล้ว ลูกยังต้องมีการซ้อมขับรถบ่อย ๆ เพื่อให้ไม่มีความสับสนในการเปลี่ยนเกียร์รถ การเบรก รวมถึงการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในรถ ซึ่งย่อมมีความแตกต่างกันตามลักษณะรถที่ใช้ (เกียร์รถยนต์แบบออโต้และแบบเกียร์กระปุก) หากลูกยังไม่มีความชำนาญอย่างเพียงพอ ในการขับขี่จริงอาจเกิดปัญหาการแตะเบรก หรือเหยียบคันเร่งสลับกันในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจเร่งด่วน จนเกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ดังที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ตามข่าวอุบัติเหตุทางถนน

การมีความรู้ในเรื่องการซ่อมแซมและดูแลรถเบื้องต้น

          หลายครั้งที่รถยนต์หรือจักรยานยนต์เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น รถสตาร์ทไม่ติด หม้อน้ำระเบิด ยางรั่ว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้คำแนะนำหรือตั้งเป็นประเด็นให้ลูกคิด เป็นการฝึกลูกให้รู้จักวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมไว้เสมอว่า ในกรณีที่ต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตัวเองนั้น ลูกควรทำเช่นไร การจะป้องกันปัญหาเหล่านี้ลูกต้องทำอย่างไร หากลูกต้องการช่างหรือบริษัทประกันต้องติดต่อหมายเลขใด เป็นต้น

         จะเห็นได้ว่า ก่อนการให้ลูกได้ขับรถอย่างวางใจได้นั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องประเมินความพร้อมของลูกทั้งด้านอารมณ์ ความรู้ ทักษะความชำนาญในการขับขี่ การเข้าใจกฎจราจรและป้ายสัญญาณต่าง ๆ รวมทั้งมีความรู้พื้นฐานในการดูแลและซ่อมรถด้วยตัวเอง หากมีครบทุกองค์ประกอบ ก็มั่นใจได้มาก ว่าการขับขี่ของลูกจะมีความปลอดภัยตลอดการเดินทาง และเท่ากับเป็นการช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ด้วยการเพิ่มผู้ขับขี่ที่มีคุณภาพและมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมถนน

         หากท่านต้องการสินค้าเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการขับขี่และการจราจร เชิญชมสินค้าดีมีคุณภาพของเราได้ ที่ www.trafficthai.com ร้านไทยจราจร ยินดีให้บริการทุกท่าน ตลอด 24 ชั่วโมง

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found