10 อย่างเข้าใจผิด ในการใช้กรวยจราจร

กรวยจราจร

          กรวยจราจรคืออุปกรณ์การจราจรที่สามารถพบเห็นได้แพร่หลายมากที่สุด มีการใช้งานทั้งในบริเวณทางหลวงในเมืองและนอกเมือง หรือแม้แต่ในบริเวณถนนส่วนบุคคลก็มีการนำกรวยชนิดนี้มาใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเหมาะสำหรับการใช้เป็นสัญลักษณ์ที่ผู้สัญจรใช้รถใช้ถนนสามารถสังเกตได้ง่าย ทั้งเพื่อเป็นการควบคุมการสัญจร การห้ามขับผ่านในบริเวณควบคุม การกำหนดการแบ่งเลน หรือเตือนเหตุผิดปกติที่เกิดอยู่ในทางข้างหน้า แต่อย่างไรก็ดีการใช้งานของอุปกรณ์ควบคุมการจราจรชนิดนี้ถูกควบคุมตามกฎหมายเอาไว้ จึงต้องใช้งานอย่างถูกต้อง ร้านไทยจราจรจึงขอแนะนำการใช้งานที่ต้องหลีกเลี่ยงแต่หลายคนยังเข้าใจผิดและชอบใช้กับผิด ๆ ตามรายละเอียดต่อไปนี้

1. กีดขวางทางจราจร หากผู้ใช้งานต้องการนำกรวยประเภทนี้ไปวางเพื่อไม่ให้ใครมาจอดรถกีดขวาง หรือวางกรวยเพื่อจองที่จอดรถส่วนตัวเอาไว้นั้น ผู้ใช้งานต้องระลึกไว้เสมอว่าห้ามวางกรวยในรูปแบบที่ไปกีดขวางทางสัญจรของคนอื่น เมื่อวางกรวยต้องแน่ใจว่าไม่กีดขวางเส้นทางสัญจรของผู้อื่น ยิ่งในกรณีการวางกรวยขวางเลนรถยนต์ ไม่ว่าจะเพื่อกั้นเพื่อที่บริเวณประตูบ้าน หรือกั้นที่จอดรถให้ตนเองเอาไว้ ถือเป็นสิ่งกีดขวางที่เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรสามารถริบเอากรวยนี้ไปได้

2. การตั้งกรวยโดยไม่มีเหตุจำเป็น การวาง กรวยจราจร ไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม ควรวางด้วยเหตุจำเป็นเท่านั้น เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนและอำนวยความสะดวกให้กับผู้สัญจรไปมา จึงควรเลือกใช้ตามความจำเป็นเพื่อป้องกันความสับสนที่อาจเกิดขึ้นได้

3. การตั้งกรวยบนฐานที่ไม่มั่นคง บางครั้งผู้ใช้งานอาจกังวลว่าการวางกรวยลงกับพื้นจะทำให้ยากต่อการมองเห็นจึงย้ายไปวางไว้บนม้านั่ง หรือฐานที่ยกสูงขึ้นมา ซึ่งการวางในลักษณะดังกล่าวจะเสี่ยงที่กรวยจะล้มหรือปลิวตามลมได้ง่าย การวางกรวยที่ดีจึงควรวางบนฐานที่มั่นคง ในความเป็นจริงด้วยสีของตัวกรวยและรูปแบบนั้นถูกออกแบบมาให้มองเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว การใช้งานจึงควรปฏิบัติตามรูปแบบการใช้งานปกติ ก็สามารถใช้ประโยชน์จากมันได้แล้ว

4. การวางสลับไปสลับมาไม่เป็นแนว การวางกรวยควรวางเป็นแนวเพื่อให้ผู้ขับขี่และสัญจรสามารถกำหนดเส้นทางได้ชัดเจน การวางกรวยไม่เป็นระเบียบ กระจัดกระจาย ไม่เป็นแถวเป็นแนว จะทำให้การให้สัญญาณกับผู้ขับขี่ไม่ชัดเจน กลายเป็นความสับสนจนการควบคุมการสัญจรไม่มีประสิทธิภาพ

5. การวางเบียดชิดมากเกินไป การวางกรวยจราจรที่ดีควรเว้นระยะห่างพอสมควร นอกจากจะช่วยประหยัดการใช้กรวยแล้ว ยังลดโอกาสเบียดกินพื้นผิวถนนอีกด้วย โดยระยะห่างที่ดีต้องคำนึงถึงการสังเกตเห็นแม้ในระยะไกลเอาไว้ด้วย

6. การวางห่างมากเกินไป การวางกรวยห่างเกินไปก็อาจทำให้ผู้ขับขี่บางคนหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาณกรวยได้ อย่างการวางกรวยเพื่อกั้นไม่ให้รถเข้าออก แต่ระยะห่างของกรวยมากพอที่รถจะขับผ่านไปได้ ก็อาจจะมีผู้ที่ฝ่าฝืนเข้าไปยังพื้นที่ดังกล่าวได้

7. การวางกรวยขนาดที่ไม่เหมาะสม ก่อนวางกรวยในแต่ละครั้ง ผู้ใช้งานควรประเมินว่าลักษณะของพื้นผิวถนน หรือรถราที่ขับผ่านมีลักษณะอย่างไร หากเป็นบริเวณที่รถบรรทุกที่มีความสูงวิ่งผ่านบ่อย ๆ กรวยควรมีขนาดสูงมากกว่าปกติ หรือในกรณีที่ต้องการให้ผู้ขับขี่สามารถสังเกตเห็นกรวยตั้งแต่ในระยะไกล ก็ควรเลือกกรวยที่มีการติดไฟสัญญาณเพื่อเพิ่มระยะการมองเห็นได้

8. การวางกรวยใกล้จุดเป้าหมายมากเกินไป ในกรณีการวางกรวยเพื่อเตือนถึงเหตุผิดปกติเบื้องหน้า หรือวางเอาไว้เพื่อเตือนถึงอุบัติเหตุและมีรถจอดขวางทางจราจรอยู่ จนจำเป็นต้องวางกรวยเพื่อเตือนให้ผู้ที่ขับขี่ตามหลังมาทราบล่วงหน้า ก็ควรเว้นระยะห่างจากจุดตั้งกล่าวอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และวางกรวยอื่น ๆ ทิ้งระยะห่างออกมาอีกประมาณ 3 – 4 กรวย

9. เลือกสีของกรวยไม่เหมาะสม หลายคนอาจคุ้นเคยกับกรวยจราจรสีส้มขาว แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีกรวยสีสันอื่น ๆ ให้เลือกใช้อีกมากมาย โดยการเลือกสีของกรวยที่เมื่อวางในตำแหน่งที่ต้องการแล้วสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน อย่างในกรณีที่มืดหรืออับแสง อาจใช้กรวยสีขาวหรือกรวยสีเขียวสะท้อนแสงมาเพิ่มระยะการมองเห็นแทนได้

10. กรวยผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน กรวยเป็นอุปกรณ์ควบคุมการจราจรที่ได้รับควบคุมตามมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งควบคุมตั้งแต่ขนาดของฐาน ความสูง หรือแม้แต่สีสะท้อนบนกรวย รวมทั้งความทนทานในกรณีที่ถูกรถชน หรือตั้งอยู่ในบริเวณที่สภาพภูมิอากาศเลวร้าย ดังนั้นควรเลือกใช้กรวยที่ผลิตที่มีคุณภาพ เพื่อความทนทานและประสิทธิภาพในการใช้งาน

สรุป

             เพื่อให้การวางกรวยจราจรบรรลุเป้าหมายและเกิดผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ทางร้านไทยจราจรจึงขอแนะนำว่าผู้ใช้งานควรหลีกเลี่ยงการใช้งานกรวยที่ไม่ได้มาตรฐาน วางในตำแหน่งที่ผิดกฎหมายการจราจร หรือกีดขวางการสัญจรของผู้อื่น จนนำไปสู่ปัญหาการเผชิญหน้าหรือถูกดำเนินคดีโดยเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรได้ ทั้งยังอาจส่งผลให้การควบคุมการจราจรไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่สามารถลดอุบัติเหตุ หรือลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดได้ บางครั้งการวางกรวยที่ไม่ถูกต้องยังจะส่งผลให้กรวยมีลักษณะที่ไม่มั่นคง ซึ่งเมื่อล้มหรือเปลี่ยนตำแหน่งก็จะทำให้กีดขวางทางสัญจรแทนได้ และควรวางกรวยตามความจำเป็นเท่านั้น เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้เป็นอุปกรณ์ที่ถูกควบคุมตามกฎหมาย ทั้งตัวอุปกรณ์และรูปแบบการใช้งาน จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนนำไปใช้งานในแต่ละครั้ง

Block "call-to-action" not found

Block "content-bottom" not found