ขนาดทางม้าลาย ตามมาตรฐานกรมทางหลวง

ทางม้าลาย

         ขนาดของทางม้าลายนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากมีขนาดไม่กว้างเพียงพอก็อาจส่งผลให้รถยนต์ที่สัญจรผ่านไปมามองไม่เห็น เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุกับผู้สัญจรที่กำลังใช้ทางข้ามได้ หรือก็อาจมีขนาดที่ไม่เพียงพอกับปริมาณของคนข้ามถนนที่มีเป็นจำนวนมากได้

      ดังนั้นเพื่อให้การทำทางสำหรับคนข้ามถนนเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายจึงควรปฏิบัติตามข้อกำหนดตามมาตรฐานทางหลวงด้วย ร้านไทยจราจรขอชี้แจงรายละเอียดการใช้สัญลักษณ์สำหรับผู้ข้ามถนนที่เหมาะสม ตามรายละเอียดต่อไปนี้

        เส้นทางข้าม หมายถึงเครื่องหมายจราจรที่มีลักษณะเป็นแถบสีขาว มีความกว้างและยาว หลายแถบประกอบกัน โดยเส้นจะอยู่ในลักษณะวางขวางกับแนวทางเดินรถ หรือเป็นเส้นทึบสีขาว 2 เส้นขนานกันในลักษณะขวางแนวเดินรถ อาจมีการเพิ่มเติมเส้นหยุดหรือเส้นให้ทางประกอบเพิ่มเติม เพื่อแจ้งให้ผู้ขับขี่รถยนต์ลดความเร็วในการขับรถลง และมีความพร้อมที่จะหยุดรถทันทีที่สังเกตเห็นผู้ข้ามถนน โดยยวดยานพาหนะไม่ควรล้ำเข้าไปยังเส้นหยุดหรือเส้นให้ทาง เพื่อความปลอดภัยของผู้ข้ามถนนทุก ๆ คน

ขนาดทางม้าลาย ตามมาตรฐานกรมทางหลวง

 

ลักษณะของการตีแถบเส้นสำหรับทางเดินคนข้ามถนนตามมาตรฐานของกรมทางหลวงก็มีด้วยกัน 2 ลักษณะคือ

  1. แบบม้าลาย คือลักษณะของแถบสีขาวที่วางขนานกันคล้ายลายบนผิวของม้าลาย โดยชุดของทางข้ามลักษณะม้าลายนี้จะวางขนานกับเส้นทางเดินรถ
  2. แบบแนวคนข้าม มีลักษณะเป็นเส้นทึบวางขนานเรียงกัน ในลักษณะขวางเส้นทางเดินของรถ โดยมีการเว้นช่องว่างตรงกลางเอาไว้ เพื่อให้คนข้ามถนน ลักษณะของทางข้ามในลักษณะนี้จะใช้งานเมื่อสัญลักษณ์คนข้ามถนนอยู่ในบริเวณที่มีไฟกระพริบ หรือ สัญญาณไฟจราจร อื่น ๆ 

รายละเอียดขนาดของทางม้าลาย และเส้นทึบสีขาว รวมถึงองค์ประกอบเพิ่มเติมอย่างเช่นเส้นเตือนหรือเส้นให้ทางนั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ขนาดทางม้าลาย ตามมาตรฐานกรมทางหลวง

1.ความกว้างของสัญลักษณ์ทางคนข้ามถนน

        ความกว้างเป็นมาตรฐานที่สำคัญของทางเดินคนข้ามถนน เพราะเป็นปัจจัยที่ต้องเพียงพอกับปริมาณคนข้าม และยังจำเป็นต่อการสังเกตของผู้ขับขี่รถยนต์อีกด้วย ความกว้างของทางข้ามตามมาตรฐานของกรมทางหลวงนั้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ในกรณีที่มีผู้คนใช้ข้ามถนนเป็นจำนวนมาก หรือหากรถยนต์ที่ขับขี่มีการใช้ความเร็วที่สูงกว่า 60 กิโลเมตร ก็ควรเพิ่มขนาดของทางข้ามให้ไม่น้อยกว่า 4 เมตร แต่ก็อาจเพิ่มเติมมากกว่านี้ได้โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามหลักทางวิศวกรรม

ขนาดทางม้าลาย ตามมาตรฐานกรมทางหลวง

2.ความกว้างของแถบเส้นสีขาว

        เส้นสีขาวทึบที่วางเรียงต่อกันคือสัญลักษณ์ทางคนข้ามที่เป็นสากล เพราะมองเห็นได้ง่ายบนพื้นผิวถนน แต่ความกว้างของแถบสีขาวที่เหมาะสมตามมาตรฐานของกรมทางหลวงนั้นต้องไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร โดยเว้นระยะกับสีพื้นผิวถนนหรือแถบสีดำที่ระยะ 0.8 เมตร

ขนาดทางม้าลาย ตามมาตรฐานกรมทางหลวง

3.ความกว้างของเส้นเตือนหรือเส้นให้ทาง

       เส้นเตือนหรือเส้นให้ทางคือเส้นสัญญาณสำหรับให้รถใช้หยุดก่อนถึงทางม้าลาย ความกว้างของแถบเส้นนี้ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ในกรณีที่เป็นทางแยกหรือเส้นทางสัญจรมีลักษณะเป็นสี่แยก ความกว้างของเส้นเตือนจะอยู่ที่ 0.3 – 0.6 เมตร แต่กรณีที่เป็นเส้นทางตรงแถบความกว้างนี้ไม่ควรน้อยกว่า 0.6 เมตร

       การเว้นระยะห่างจากทางคนข้ามกรณีที่เป็นทางแยกหรือบริเวณที่เป็นสี่แยกไม่ควรน้อยกว่า 1 เมตร แต่ในกรณีที่เป็นทางตรงระยะห่างระหว่างเส้นเตือนหรือเส้นให้ทางนี้ไม่ควรน้อยกว่า 2 เมตรเป็นอย่างน้อย และความยาวของเส้นแถบนี้ควรยาวตลอดช่องทางขับรถและรถต้องสังเกตเห็นก่อนที่จะขับเคลื่อนมาถึงทางม้าลายเพื่อความปลอดภัย

      นอกจากความกว้างของแถบเส้นสีต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบทางคนข้ามจะมีความสำคัญแล้ว สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยในการทำทางคนข้ามคือการเลือกทาสีทางม้าลายหรือวัสดุที่นำมาใช้เป็นเส้นสัญลักษณ์ ควรใช้สีที่สามารถสะท้อนแสงได้เพื่อให้มองเห็นได้ดีแม้ในที่มืด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ข้ามถนนในเวลากลางคืนหรือเวลาที่มีแสงสว่างน้อย ยิ่งในบริเวณที่เป็นแหล่งชุมชนอย่างโรงเรียน หรืออาคารพาณิชย์ควรมีการใช้ป้ายสัญลักษณ์เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

        ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ หรือเลือกใช้ทางม้าลายในลักษณะสำเร็จรูปที่มีการติดตั้งแผ่นยางชะลอความเร็ว และเพิ่มสัญลักษณ์คนข้ามภายในอุปกรณ์มาแล้ว นอกจากจะเป็นจุดสังเกตให้รถยนต์สังเกตเห็นได้ง่ายแล้ว ยังช่วยลดความเร็วของรถ ทำให้ผู้ข้ามถนนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

          ร้านไทยจราจรเชื่อว่าหากทุกหน่วยงานหรือองค์กรที่กำลังต้องใช้ทางสำหรับคนข้ามปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กรมทางหลวงกำหนดเอาไว้แล้ว ก็ย่อมเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้คนที่จำเป็นต้องสัญจรบนท้องถนนได้ดี ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ในปัจจุบันได้กลายเป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทยเพิ่มมากขึ้นทุกวันแล้ว

       อย่างไรก็ดีนอกจากการติดตั้งที่ถูกต้องเหมาะสมจะมีความสำคัญแล้ว การดูแลรักษาให้ทางคนข้ามอยู่ในลักษณะที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน หากพบว่าสีทางม้าลายมีลักษณะหลุดร่อนควรเร่งแก้ไขให้มีความชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดความปลอดภัยต่อผู้ข้ามถนนทุกคน

 

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found