การวางแผนเส้นทางเดินรถในการส่งสินค้าในเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑลเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะบริษัทที่มีการทำธุรกิจขายปลีก ขายส่งและบริษัทที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ที่ต้องการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและหาวิธีที่ทำให้สามารถส่งสินค้าในแต่ละวันได้มากขึ้น
ในบทความนี้ ร้านไทยจราจร ขอเสนอวิธีวางแผนเส้นทางเดินรถของบริษัทที่มีรถส่งสินค้าของตัวเอง สำหรับบริการลูกค้าในเขตพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ในปัจจุบันที่ควรทราบ 2 วิธี คือ
1.การใช้ Google map
Google map เป็นแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ ที่คนไทยนิยมใช้เนื่องจากใช้งานง่าย และสามารถเช็คเส้นทางและสภาพการจราจรใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด โดยมีขั้นตอนการใช้ ดังนี้
(1) ติดตั้งแอปพลิเคชัน Google Maps ลงในโทรศัพท์มือถือ จาก Play Store ของมือถือระบบ Android และ app store จากโทรศัพท์ iPhone
(2) เมื่อคลิกเปิดโปรแกรม จะเห็นภาพแผนที่ประเทศไทย (คล้ายกับที่เราเห็นกันในแผนที่การเดินทางแบบกระดาษรุ่นเก่า) ให้ผู้ขับขี่รถเลือกที่ช่องด้านบนสุด เพื่อใส่สถานที่ส่งสินค้าที่ต้องการไป
(3) เมื่อใส่ชื่อสถานที่แล้ว ระบบจะทำการคำนวณ และแสดงตัวหมุดสีแดงขึ้นในแผนที่ ตรงตำแหน่งของที่ตั้ง (พร้อมละติจูด ลองจิจูด ซึ่งเป็นพิกัดทางภูมิศาสตร์ด้วย)
(4) ทำการยืนยันตำแหน่ง โดยกดปุ่มเลือกเส้นทาง เพื่อให้ระบบ Google Map คำนวณทั้งเวลาและระยะทางที่สามารถไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วที่สุด โดยให้ผู้ขับขี่เลือกช่องแสดงผล สำหรับผู้มีรถของตัวเอง (นอกจากนี้จะมีเส้นทาง สำหรับการใช้รถโดยสารประจำทางและการเดิน)
(5) นอกจากระบบ Google Map จะแสดงผลระยะเวลาและเส้นทางเป็นตัวเลขแล้ว จะมีการแสดงสีที่สื่อถึงสภาพการจราจรในช่วงที่กำลังค้นหาข้อมูล ถ้าเป็นสีแดงคือรถติดมาก สีฟ้าคือการจราจรคล่องตัว เป็นต้น
(6) กรณีที่ต้องการส่งของหลายจุดในวันเดียวกัน สามารถเลือก เพิ่มตำแหน่งค้นหาได้ที่ช่องหาตำแหน่งด้านบนของจอมือถือ เพื่อให้ระบบหาเส้นทางที่รวดเร็วที่สุดใหม่ได้
(7) ทำการบันทึกเส้นทางที่ปักหมุดสีแดงไว้ในโทรศัพท์ เพื่อตรวจสอบสภาพการจราจรอย่างรวดเร็วในแต่ละวันได้
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อที่ควรต้องระวังในการใช้ Google Map ได้แก่
– แม้จะเดินทางตาม GPS แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจ ควรสังเกต ป้ายจราจร ป้ายเตือน ต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ร่วมด้วย
– ต้องสังเกตสภาพการจราจรและอุบัติเหตุเฉพาะหน้าร่วมด้วย เช่น กรณีที่มีผู้เมาแล้วขับรถชนกับ กรวยจราจร แผงกั้นจราจร ก็อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางอีกครั้งในวันนั้น
– ถ้าอยู่ในจุดที่อับสัญญาณ จะทำให้ GPS หายไปชั่วคราว แนะนำว่าให้ใช้การสังเกตเส้นทางจาก ป้ายจราจร ต่าง ๆ หรือหากไม่แน่ใจในเส้นทางใหม่ ให้จอดรถด้านข้างทางบริเวณป้อมตำรวจหรือวินมอเตอร์ไซค์ ก็จะทำให้สามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยและไม่หลงออกนอกเส้นทาง
2.การใช้โปรแกรมวางแผนการจราจร VRP solver
VRP solver ย่อมาจาก Vehicle Routing Problems solver เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการประมวลผลข้อมูลและวางแผนการจราจรที่มีความละเอียดและซับซ้อนสูง สามารถคำนวณผลการเปลี่ยนแปลงด้านเวลาที่ใช้ในการขนส่งแต่ละเส้นทาง และปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ได้เป็นเปอร์เซ็นต์
ซึ่งเคยมีการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติตามคำแนะนำของโปรแกรม VRP solver จะทำให้ลดเวลาในการส่งสินค้า ลดจำนวนเที่ยวรถที่ใช้ในแต่ละวัน และทำให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากถึง 40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
VRP solver จึงเหมาะกับผู้ประกอบกิจการด้านการขนส่งโดยตรง (ด้านโลจิสติกส์ขนส่งสินค้า) หรือเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนรถบรรทุกและเส้นทางการขนส่งหลายเขตพื้นที่
โดยหลักการทำงานของโปรแกรม VRP solver มีดังนี้
1.ใช้ Google map หาพิกัดละติจูดและลองจิจูดของสถานที่ที่จะจัดส่งสินค้าทุกแห่ง นำมาบันทึกไว้ในตาราง EXCEL เพื่อเตรียมเป็นข้อมูลให้โปรแกรมใช้วิเคราะห์
2.จดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการส่งสินค้าแต่ละจุด (Service time) ลงในฐานข้อมูล ซึ่งค่า Service time ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายสินค้าจากรถเข้าสู่โกดังลูกค้าหรือร้านค้าปลายทาง ในแต่ละจุดจะใช้เวลาแตกต่างกันไป ขึ้นกับจำนวนสิ่งค้าที่จัดส่งตามยอดการสั่งซื้อ น้ำหนักของสิ่งของ ฯลฯ
3.กรอกข้อมูลปริมาณสินค้าที่ต้องการส่ง หรือ ค่า demand (หน่วยเป็นกล่อง) ลงในตาราง
4.บันทึก ค่า Truck City ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการบรรจุสินค้าต่อรถ 1 คัน ตัวอย่างเช่น ถ้ารถบรรทุกขนาดขับเคลื่อน 4 ล้อ ก็สามารถบรรทุกสินค้าของคุณได้ 70 กล่อง ก็นำตัวเลขนี้มาใส่ในตารางวิเคราะห์ข้อมูล
5.ใส่ค่า Truck Distance Limit ที่เป็นข้อจำกัดในการบรรทุก เช่น ในแต่ละวันจะใช้ระยะเวลาในการขับรถส่งของไม่เกิน 8 ชั่วโมง
6.เมื่อได้กรอกข้อมูลดังกล่าวครบถ้วน โปรแกรม VRP solver จะทำการคำนวณด้วยระบบวิเคราะห์แบบ Matrix ซึ่งจะมีตัวแปรต่าง ๆ มากมาย
7.ระบบคอมพิวเตอร์จะทำการแสดงผลและนำเสนอเส้นทางที่ช่วยประหยัดเวลาและระยะทาง เพื่อให้ผู้ใช้โปรแกรมนำไปทบทวนวางแผนการเดินทางอีกครั้งในภาคปฏิบัติ
8.หลังจากการทำตามคำแนะนำของโปรแกรม VRP solver ให้นำข้อมูลมากรอกใหม่ เพื่อให้ระบบวิเคราะห์ผลก่อนและหลังการปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ โดยจะแสดงผลออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์เพื่อให้เข้าได้ง่ายที่สุด
ร้านไทยจราจร หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่ทำธุรกิจหลากหลายประเภท เพื่อช่วยในการวางแผนเส้นทางเดินรถทั้งใน กทม. และปริมณฑล ได้ดียิ่งขึ้น
Block "content-bottom" not found
Block "catalog-trafficfence" not found