บริษัทที่จำเป็นต้องส่งสินค้ากระจายกันไปหลาย ๆ พื้นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าแค่รถขนส่งสินค้าเพียงคันเดียวคงไม่เพียงพอกับการใช้งานแน่ ๆ ไม่ว่าจะบริษัทเล็กหรือใหญ่จึงต้องซื้อรถขนส่งสินค้าเอาไว้ให้เพียงพอกับการทำงาน แต่ประเด็นคือเมื่อมีรถขนส่งสินค้าหลาย ๆ คัน
แล้วจะทำอย่างไรดีเพื่อให้การใช้งานของรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เสียบ่อย หลักสำคัญคือการตรวจเช็คให้พร้อมก่อนขนส่งนั่นเอง ร้านไทยจราจร จึงอยากขอแนะนำจุดต่าง ๆ ที่ควรต้องตรวจเช็คว่ามีตรงไหนเวลาออกถนนไปจะได้ไม่ต้องปวดหัวกับการตั้ง กรวยจราจร เพราะรถเสีย
1.ระบบช่วงล่างทุกอย่าง
การขนส่งสินค้าแน่นอนว่ารถคันนั้นจะต้องมีการบรรทุกของหนัก ๆ อยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้บรรดาระบบช่วงล่างทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นโช๊คอัพ, ยางรถยนต์, แม็กซ์รถยนต์ เกิดการเสื่อมสภาพได้เร็วกว่าปกติ ยิ่งมีรถหลาย ๆ คันแบบนี้การเช็คระบบช่วงล่างให้ดีจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำประจำ
โดยเฉพาะคนที่ต้องใช้รถคันนั้นเป็นประจำหากเริ่มรู้สึกว่ารถมีอาการแปลก ๆ เช่น เวลาแบกของหนัก ๆ แล้วรถเอียงมากกว่าปกติ ให้รีบตรวจสอบทันทีไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ สินค้าเสียหาย ไปไม่ตรงตามเวลานัดและกลายเป็นปัญหาใหญ่ของบริษัทได้เลย
2.อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์
ยิ่งบรรทุกของหนักเท่าไหร่เครื่องยนต์ย่อมต้องทำงานหนักกว่าปกติเป็นเรื่องธรรมดา การตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องยนต์ เช่น สายพาน, แบตเตอรี่, หม้อน้ำ ฯลฯ เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบบ่อยครั้ง หากเช็คแล้วพบว่ามีปัญหาหรือกำลังจะมีปัญหาต้องรีบซ่อมทันทีอย่าปล่อยทิ้งเอาไว้ประเภทวันนี้รีบขับไปก่อนก็ได้ไม่น่าจะเป็นอะไร เพราะเราไม่รู้ว่าระหว่างขับขี่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเกิดมันเสียหายขึ้นมากลางทางแน่นอนว่ายังไงก็ส่งผลเสียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แถมไม่ใช่ผลเสียแค่บริษัทหรือตัวคนขับแต่อาจรวมถึงผู้ร่วมทางคนอื่นด้วย
3.ระบบของเหลวต่าง ๆ ของรถ
ไม่ว่าจะเป็นน้ำกลั่นแบตเตอรี่, น้ำมันเบรก, น้ำมันเครื่อง, น้ำหล่อเย็น, น้ำมันเกียร์, น้ำมันคลัทช์ ฯลฯ ทุกอย่างต้องมีการตรวจสอบอยู่เสมอ หากพบว่าของเหลวตรงไหนสูงหรือต่ำกว่ากำหนดให้รีบจัดการแก้ไขโดยด่วน อย่าปล่อยทิ้งเอาไว้เด็ดขาดเพราะของเหลวเหล่านี้มีผลกระทบต่อรถโดยตรง บางคนเห็นน้ำมันเครื่องลดน้อยกว่าขีด Min นิดหน่อยอาจมองว่าไม่เป็นไรแค่นิดเดียวแต่นั่นคือความเสี่ยงที่พร้อมจะทำให้รถขนส่งสินค้าของคุณเสียหายได้ตลอดเวลา
4.ระบบเบรกทั้งระบบ
ระบบเบรกคือหัวใจสำคัญในด้านความปลอดภัย ไม่ใช่แค่การขับขี่แล้วรู้สึกว่าเบรกมันแปลก ๆ เท่านั้น แต่เรื่องของน้ำมันเบรก, จานเบรก ก็ต้องตรวจสอบด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างอุบัติเหตุง่าย ๆ สมมุติขับ ๆ ไปอยู่มองเห็น สัญญาณไฟจราจร ข้างหน้าเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเหลืองเรากำลังจะเบรกแต่ปรากฏเบรกไม่อยู่โอกาสเกิดอุบัติเหตุรุนแรงมีสูงมาก ทั้งที่เราคิดว่าระยะนี้เบรกได้สบายแต่ด้วยปัญหาของตัวระบบจึงทำให้เกิดความผิดพลาด เป็นต้น จึงอย่าชะล่าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอันขาดหากไม่อยากมีปัญหาภายหลัง
5.ระบบ GPS ของรถยนต์
สมัยนี้รถขนส่งสินค้าทุกคันจำเป็นต้องมีระบบ GPS เพื่อตรวจสอบการขับขี่ของพนักงานว่าเป็นอย่างไร ขับตามเส้นทางปกติ, ไม่จอดรถนานเกินไป ฯลฯ เรื่องนี้แม้เป็นเรื่องใหม่ของบางบริษัทแต่ก็ควรต้องมีการติดตั้งเอาไว้เพื่อผลประโยชน์โดยรวม ส่วนบริษัทไหนที่ติดตั้งให้รถของตนเองอยู่แล้วก็อย่าลืมตรวจสอบการทำงานว่ายังคงใช้ได้ปกติเหมือนเดิม
ไม่มีปัญหาหรือไม่มีการปรับแต่งอะไรเพื่อตบตาทั้งสิ้น อย่าลืมว่ายิ่งพนักงานขับรถออกนอกเส้นทางมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เสียต้นทุนค่าน้ำมันมากขึ้นเท่านั้น หรือบางทีพนักงานแอบเอาไปใช้ส่วนตัวก็จะได้รู้และจัดการตามกฎระเบียบของบริษัท
6.นำรถเข้าศูนย์ตามระยะเวลาที่กำหนด
เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบด้วยตนเอง แต่ยิ่งมีรถหลายคันการเช็คว่ารถถึงระยะเวลาในการเข้าศูนย์หรือยังคือเรื่องห้ามมองข้าม เมื่อถึงเวลาก็ให้นำเอารถไปเช็คระยะตามปกติเพราะช่างที่ศูนย์รถจะทำการตรวจสอบระบบหมดทุกอย่างว่าอะไรมีปัญหาหรือไม่ หากมีจะแจ้งแล้วรีบดำเนินการแก้ไขทันที จะได้ไม่ต้องมากังวลใจในภายหลัง เช่น ขับรถในเวลากลางคืนที่ไม่มี โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ แต่ไฟหน้ากลับไม่สว่างเพียงพอย่อมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมาก ๆ
7.ตรวจสอบการทำงานอื่น ๆ ภายในรถตามความเหมาะสม
เช่น ระบบแอร์ หากไม่ค่อยเย็นหรือมีกลิ่นแปลก ๆ ต้องดูว่าเกิดจากอะไร, การมี ธงราว ขาว-แดง ห้อยไว้หลังรถกรณีที่สินค้ายื่นออกมาจากตัวรถเพื่อให้คนที่ขับขี่ตามหลังมามองเห็นได้ชัดเจนขึ้น, แหนบรถเอียงหรือรู้สึกว่าจะหัก เป็นต้น เรียกว่ายิ่งมีรถหลายคันเท่าไหร่การตรวจสอบยิ่งต้องเข้มงวดเพื่อความสบายใจของผู้ขับขี่, ผู้ร่วมถนน และทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เรื่องของการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ของบริษัทที่มีรถหลาย ๆ คันคือเรื่องจำเป็นมาก ๆ ช่วยลดอุบัติเหตุไปในตัวแถมยังทำให้ประหยัดต้นทุนมากขึ้น เพราะถ้าไม่ตรวจสอบอะไรเลยเวลาเสียหายครั้งหนึ่งคือเงินหลายพันถึงหลายหมื่นบาท สิ่งที่ ร้านไทยจราจร แนะนำไปทั้งหมดนี้ก็เอาไปปรับใช้กันได้รับรองว่าบริษัทของคุณจะดีขึ้นกว่าเดิม
Block "content-bottom" not found
Block "catalog-trafficfence" not found