อย่างโหด!! 10 วิธีการ ต่อราคา ของฝ่ายจัดซื้อที่คุณต้องร้อง!!

      ฝ่ายจัดซื้อเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาหาซื้อสินค้าต่าง ๆ เข้าสู่บริษัทหรือองค์กร โดยต้องการเน้นที่การได้สินค้าที่มีราคาถูก ขณะเดียวกันก็ต้องมีประโยชน์ใช้สอยได้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์การใช้งานด้วย ในบทความนี้ ร้านไทยจราจร จึงได้รวบรวม 10 วิธีการต่อรองราคาของฝ่ายจัดซื้อ ที่ร้านค้าจำนวนมากได้มีโอกาสประสบกับตัวเอง มาฝากกัน ดังนี้ 

  1. ขอลดราคาห้าสิบเปอร์เซ็นต์

        การต่อรองให้ลดราคาเป็นเรื่องปกติของลูกค้า แต่การจะลดราคาได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ต้องขึ้นกับปริมาณการสั่งสินค้า ที่ต้องถัวเฉลี่ยค่าขนส่ง รวมถึงค่าใช้จ่ายต่อล็อตสินค้าให้ลดลงได้ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะ หากเป็นสินค้าที่มีการขนส่งทางเรือหรือทางอากาศ นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น  อุปกรณ์จราจร ของร้านเรา เช่น กรวยจราจร เสาจราจรล้มลุก ที่มาจากญี่ปุ่น ก็ย่อมมีต้นทุนในการจัดส่งเพิ่มขึ้น หากจะให้ลดมากถึงห้าสิบเปอร์เซ็นต์คงเป็นไปได้ยาก

  1. ซื้อน้อยชิ้น แต่ขอลดราคาเท่ากับการซื้อล็อตใหญ่ 

        สินค้าหลายชิ้น โดยเฉพาะที่มีการนำเข้า เช่น เสากั้นเลนถนน รุ่นใหม่ที่ทำจากโพลียูรีเทน สามารถสะท้อนแสง โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เก็บเอาไว้ในตัว เพื่อปล่อยเป็นแสงสว่างในช่วงกลางคืนเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงจากประเทศญี่ปุ่น การที่จะสั่งซื้อในแต่ละครั้ง จึงต้องมีปริมาณการจะสั่งซื้อขั้นต่ำ การต่อรองราคาสินค้าจำนวนน้อย ๆ ให้ลดราคาเท่ากับการซื้อครั้งละมาก ๆ จึงเป็นเรื่องที่สร้างความลำบากใจอย่างมาก

  1. ทำไมสินค้าเจ้าอื่นถึงลดได้เยอะกว่า

     ราคาสินค้าแต่ละตัว นอกจากขึ้นกับการขนส่งแล้ว ยังขึ้นกับคุณภาพของวัตถุดิบหรือความสามารถในการใช้งานได้อย่างยาวนาน หากสามารถใช้งานได้หลายปีและมีการบริการหลังการขาย ก็มักจะมีราคาที่สูงกว่า

  1. ดู ๆ แล้วก็เหมือนกัน ลดให้อีกหน่อย

       ตัวอย่างเช่น กรวยจราจร หมุดถนนระบบโซล่าเซลล์ ถ้ามองเพียงผิวเผินอาจจะคิดว่ามีความคล้ายคลึงกันหมด แต่ในความเป็นจริงแล้ว อุปกรณ์ของร้านเราเป็นสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ที่มีระยะเวลาการประกันคุณภาพสินค้ายาวนาน 3 ปี ถึง 5 ปี แสดงถึงคุณภาพที่สูง จึงไม่สามารถจะลดราคาได้มากนัก

  1. ขอลดราคาให้เท่ากับล็อตที่แล้ว 

        สินค้าแต่ละล็อตนั้นจะมีต้นทุนมาไม่เท่ากัน ขึ้นกับค่าเงิน และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีผลต่อค่าขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าของร้านเราหลายรายการที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ก็ย่อมมีต้นทุนที่สูงกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถลดราคาได้เท่ากันทุกครั้งที่สั่งซื้อ

  1. ขอลดราคาไม่ได้เท่าที่ต้องการ ก็ขอของแถมแทน

        การลดราคา เป็นการตัดส่วนกำไรในการที่จะไปต่อทุนหรือขยายกิจการได้ ดังนั้น หากลดไม่ได้มากกว่านั้นแล้ว และฝ่ายจัดซื้อมาขอในรูปแบบของแถมเสียอีก ก็เท่ากับจะแทบไม่ได้กำไรกลับมาเลย ซึ่งในการลงทุนนั้น ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสินค้าจำเป็นจะต้องมีการใช้เงินสดหมุนเวียนอยู่เสมอ หากมีการต่อรองจนกระทั่งไม่ได้กำไรแล้ว ก็จะทำให้มีโอกาสดำเนินธุรกิจต่อไปได้ยากด้วย การต่อรองคุณภาพสินค้า จึงควรจะพิจารณาจากราคากลางหรือราคาเฉลี่ยทั่วไปของสินค้าด้วย

  1. สนใจราคาที่ถูกที่สุดมากกว่าคุณภาพหรือลิขสิทธิ์

        การต่อรองราคาของสินค้า โดยไม่ได้ศึกษาเรื่องของลิขสิทธิ์หรือเป็นสินค้า Copy จะทำให้ในระยะยาวเกิดปัญหา คือการเคลมประกันไม่ได้ หรือว่าใช้งานได้ดีเพียงแค่ไม่กี่เดือน หลังจากนั้น ก็จะเกิดความเสียหาย ชำรุดง่าย ตัวอย่างเช่น เสาล้มลุกจราจร ของร้านเรา เป็นสินค้าแท้ที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ผ่านการทดสอบมาแล้วว่าสามารถล้มลุกได้มากกว่า 1000 ครั้ง ถ้าเลือกใช้เสาแบบ copy เพราะเน้นที่ราคาถูก ก็อาจไม่ได้สินค้าที่มีความคุ้มค่าในการใช้งานเท่าที่ควร ทำให้ต้องเปลี่ยนสินค้าบ่อยและเปลืองงบประมาณหน่วยงานมากขึ้น

  1. เจ้าอื่นแถมให้เยอะกว่า 

       การมอบของแถมนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำได้เมื่อมีการซื้อสินค้าเป็นล็อตใหญ่ ๆ ซึ่งผู้ขายหรือนำเข้าสินค้าจะมีการคำนวณและจัดโปรโมชั่นที่เหมาะสมอยู่แล้ว การที่บางบริษัทมีการเสนอของแถมให้มากกว่า ฝ่ายจัดซื้อต้องพิจารณาถึงสเปคของของแถมเหล่านั้น ว่าเป็นของที่เก่าเก็บ ตกรุ่น หรือว่าใกล้หมดอายุหรือไม่ เพราะหากเป็นของที่แทบไม่มีมูลค่า ถึงได้แถมมาก็ไม่คุ้มค่าต่อราคาที่จ่ายซื้อของไป

  1. ขอซื้อสินค้าแบบเครดิต โดยได้ลดราคาเท่ากับการจ่ายเงินสด

           เรื่องระยะเวลาเป็นปัญหาในการจัดซื้อและการเบิกจ่ายเงิน ซึ่งหากเป็นระบบเครดิตจะทำให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสินค้า มีสภาพคล่องทางการเงินที่ลดลง จึงไม่สามารถจะลดราคาสินค้าได้เท่ากับการสั่งซื้อสินค้าและจ่ายเงินสด ที่จะสามารถนำไปบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัวมากกว่า ประเด็นนี้จึงเป็นสิ่งที่สร้างความลำบากใจให้คู่ค้าเช่นเดียวกัน

  1. ราคานี้เทียบกับเมื่อหลายปีที่แล้ว แพงเกินไป

ด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ค่าเงิน การขนส่ง หรือระบบบริหารบริษัท จึงทำให้สินค้าบางอย่างมีต้นทุนสูงขึ้น การอ้างอิงราคากับหลายปีที่แล้ว จึงเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุผล ควรพิจารณาถึงคุณภาพสินค้าและราคาเฉลี่ยในท้องตลาดในปัจจุบันมากกว่า

 

วิธีการต่อรองราคาของฝ่ายจัดซื้อ ที่ ร้านไทยจราจร ยกตัวอย่างมาทั้ง 10 ข้อนั้น จะเห็นได้ว่าเกิดจากมุมมองที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อสินค้าควรดูคุณภาพและราคาที่เหมาะสมกัน และมีสเปคตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ

 

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found