แจก!! Checklist การสอบปฏิบัติทำใบขับขี่ ที่คุณต้องซ้อมก่อนปฏิบัติจริง (ถ้าทำได้ผ่านแน่!)

          การสอบใบขับขี่ครั้งแรกย่อมสามารถสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้สอบได้เป็นอย่างมาก และหลายคนคงต้องการให้การสอบผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งในส่วนของภาคปฏิบัติและภาคข้อเขียน โดยเฉพาะภาคปฏิบัติที่ผู้สอบส่วนใหญ่จะเกิดอาการเกร็งได้ง่ายกว่าการนำรถออกวิ่งตามถนนใหญ่เสียอีก แต่หากผู้สอบเตรียมตัวล่วงหน้าด้วย Checklist ที่ทาง ร้านไทยจราจร เตรียมเอาไว้ให้ เชื่อได้เลยว่าผู้สอบคงจะมีความพร้อมและมีโอกาสที่จะทำข้อสอบภาคปฏิบัติไปได้ด้วยดี โดยมีรายละเอียด Checklist ดังต่อไปนี้

1.การเดินหน้าและถอยหลังรถยนต์

       ถือเป็นหลักพื้นฐานในการขับเคลื่อนรถยนต์บนท้องถนน และเป็นสิ่งที่ผู้สอบจะต้องเตรียมพร้อมให้ดี รูปแบบการสอบจะมีการเตรียมช่องทางเดินเลนขนาดเท่ากับขนาดของเลนบนท้องถนน ผู้ขับขี่จึงควรฝึกวิ่งบนเลนไปข้างหน้าให้ตรงมากที่สุด พยายามอย่าไปสนใจสิ่งกีดขวางที่เจ้าหน้าที่วางเอาไว้ริมขอบทาง ตามระยะวิ่งที่ทางเจ้าหน้าที่กำหนด ซึ่งเมื่อถึงจุดที่กำหนดแล้ว ผู้สอบก็จะต้องถอยหลังกลับออกมา ซึ่งผู้สอบไม่ควรใช้ความเร็วที่สูงมาก เพราะการสอบภาคปฏิบัตินั้นไม่มีการจำกัดเวลา แต่พิจารณาผลสอบจากการขับเป็นแนวเส้นตรง หรือการเฉี่ยวชนกับสิ่งกีดขวาง จึงควรใช้สมาธิกับการขับรถเป็นแนวเส้นตรงมากกว่าการใช้ความเร็ว ระยะทางที่ใช้ในการเดินหน้า และถอยหลังนั้นจะอยู่ที่ 12 เมตร ดังนั้นผู้สอบจึงควรฝึกฝนระยะการขับขี่แบบเดินหน้าและถอยหลังทางตรงเช่นนี้สัก 15 – 20 เมตร เพื่อให้เข้าสอบได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น

2.การถอยหลังเข้าช่องจอด

       ข้อสอบในส่วนนี้อาจสร้างความกังวลให้กับผู้สอบได้ไม่น้อย เพราะต้องอาศัยทักษะทั้งเดินหน้า ถอยหลัง หักพวงมาลัยซ้ายขวาผสมกัน ทางสนามสอบจะนำ เทปติดถนนสะท้อนแสง มาทำเป็นช่องสี่เหลี่ยม เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ให้รถที่เข้าสอบนำรถมาจอดในช่องที่กำหนดเอาไว้ โดยให้โอกาสในการเดินหน้าและถอยหลังเพื่อเข้าช่องที่กำหนดได้ไม่เกิน 7 ครั้ง จึงขอแนะนำ Checklist ง่าย ๆ ที่ผู้สอบควรไปฝึกฝนไว้ดังนี้ เลื่อนรถให้เลยช่องสำหรับจอดรถ กะระยะประมาณประตูหลังอยู่ในกรอบตำแหน่งของช่องจอดรถ กะระยะห่างให้ใกล้มากที่สุด จากนั้นหักพวงมาลัยไปทางซ้ายให้สุด แล้วค่อย ๆ ถอยหลังช้า ๆ เมื่อหน้ารถพ้นจากช่องจอดด้านบนแล้วให้ค่อย ๆ คืนพวงมาลัยให้ตรง การตัดสินจะตัดสินที่แนวขนานของรถกับเส้นขอบถนน กรณีนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอุปกรณ์ช่วยอย่างกล้องมองหลังและเซ็นเซอร์ในกรณีที่รถกำลังถอยหลังจะถูกปิดเพื่อทดสอบทักษะการขับรถอย่างแท้จริง

3.การเข้าจอดเทียบทางเท้า

        เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่พวงมาลัยอยู่ทางขวา การเข้าจอดเทียบทางเท้าจะต้องใช้ด้านซ้าย ตำแหน่งการจอดรถเช่นนี้ หากไม่ฝึกให้ชำนาญอาจเกิดปัญหาได้ ระยะห่างที่ทางสนามสอบกำหนดคือระยะห่างที่ไม่เกิน 25 เซนติเมตร ผู้สอบควรหักพวงมาลัยเข้าซ้ายอย่างช้า ๆ จนล้อทับกับ เทปติดถนน สีขาวที่แสดงเส้นของถนน จึงค่อย ๆ คืนพวงมาลัยอย่างช้า ๆ อย่าเร่งมากเพราะล้ออาจชนเข้ากับขอบถนนได้ ซึ่งรูปแบบการชนหากทำให้ล้อค้างไม่สามารถไปต่อได้ก็จะถูกปรับตกทันที แต่หากเป็นการชนเบียดเล็กน้อยที่รถยังคงขยับขับเคลื่อนได้ จะไม่ถูกนำไปหักคะแนน และในกรณีที่รถยังเคลื่อนตัวไปไม่ถึงเส้นที่กำหนดอาจปรับแต่งพวงมาลัยอีกเล็กน้อย ๆ ก่อนหยุดตามตำแหน่งที่สนามสอบกำหนด

4.การอ่านสัญญาณบนพื้นถนน

      ในสนามซ้อมจะมีการนำ เทปติดถนนชนิดลูกศรสะท้อนแสง มากำหนดทิศทางให้รถที่เข้าสอบขับเคลื่อนไปในทิศทางที่กำหนดเอาไว้ด้วย ผู้สอบจึงควรตรวจดูให้ดีก่อนนำรถเคลื่อนที่ผ่านไป เพราะแม้ไม่ได้กำหนดเป็นข้อสอบ แต่ก็สามารถส่งผลต่อการพิจารณาคะแนนของกรรมการผู้ควบคุมสอบได้ และยังเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากับผู้สอบคนอื่น ๆ ที่เข้าสนามสอบพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย

      การสอบภาคปฏิบัติอาจมีหัวข้อที่กำหนดไม่มาก อย่างไรก็ตามในแต่ละหัวข้อก็ล้วนมีเทคนิคที่ผู้สอบควรฝึกฝนให้ดีก่อนเข้าสอบ เพราะต้องพึงระลึกเอาไว้เสมอว่าการขับรถในสนามสอบนั้นจะพบอุปสรรคหรือโจทย์ที่จะต้องฝ่าฟันเพียง 3 ข้อเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากการขับรถบนท้องถนนจริงที่จะต้องเผชิญทั้ง สัญญาณไฟจราจร ป้ายเตือน ป้ายห้าม หรือป้ายแนะนำการจราจรที่จะต้องปฏิบัติตาม รวมถึงผู้รวมทางคนอื่น ๆ ที่ผู้ขับขี่จะต้องเผชิญไปตลอดเส้นทาง 

      ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมในสนามสอบก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการขับขี่รถให้เกิดความปลอดภัยเท่านั้น สิ่งที่ผู้ขับขี่ทุก ๆ คนพึงระลึกเอาไว้เสมอคือการเคารพกฎจราจรอย่างจริงจัง มีน้ำใจและรักษามารยาทในการใช้ท้องถนนอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนไปตลอดการเดินทาง ร้านไทยจราจร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากผู้สอบทุก ๆ ท่าน จะดำเนินไปตาม Checklist ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็จะเป็นการช่วยให้ผู้สอบสามารถผ่านบททดสอบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี จนคว้าใบขับขี่มาได้สำเร็จ แต่หากสอบไม่ผ่านจริง ๆ ผู้สอบก็ยังสามารถฝึกฝนใหม่เพื่อขอสอบใหม่หลังวันสอบครั้งแรกไปแล้ว 3 วันได้อีก ซึ่งผู้สอบควรเน้นฝึกฝนในส่วนที่พลาดไปแล้วว่าเกิดจากการขับรถในลักษณะใด เพื่อให้เกิดความสำเร็จลุล่วงตามที่คาดหวัง

 

 

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found