กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

        ในเรื่องของความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินคือสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรต้องให้ความใส่ใจ เราจึงเห็นว่าเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทางหน่วยงานรัฐบาลจะต้องมีการออกกฎหมายมาเพื่อคุ้มครองให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้ชีวิตมากที่สุด บันไดหนีไฟ เองก็เช่นกัน ที่เราเห็นว่าทุกอาคารสูงมีการสร้างสิ่งนี้ไว้ นอกจากจะป้องกันเหตุไม่คาดฝันแล้ว ยังเป็นเรื่องของกฎหมายที่ถูกกำหนดออกมาเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและเคร่งครัด บทความนี้ ร้านไทยจราจร จะขอพูดถึงกฎหมายของบันไดหนีไฟว่ามีอะไรบ้างที่ควรรู้

กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

1.กรณีบันไดหนีไฟภายนอกอาคาร

         ความกว้างไม่น้อยกว่า 60 ซม. ผนังจุดที่บันไดพาดผ่านต้องเป็นแบบทึบและทำจากวัสดุทนไฟ หากทำไม่ถึงชั้นล่างต้องสร้างบันไดโลหะที่สามารถยึดไม่ก็หย่อนลงจนถึงชั้นล่าง หากเป็นแบบห้องแถวหรือตึกแถวปกติแล้วที่ว่างต้องไม่น้อยกว่า 3 ม. ทว่ากฎหมายได้ผ่อนปรนให้ล้ำหรืออยู่ในพื้นที่ว่าง 3 ม. ได้แต่ต้องล้ำเข้าไปไม่เกิน 1.40 ม.

กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

2.ระดับความสูงและความลาดชันที่ถูกต้อง

       ตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องของการควบคุมอาคารระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า บันไดหนีไฟ ต้องมีความลาดชันต่ำกว่า 60 องศา นอกจากเป็นตึกแถวหรือห้องแถวที่ความสูงไม่เกิน 4 ชั้น ต้องมีจุดพักในทุกชั้น ถ้าในกรุงเทพฯ ห้ามสร้างแบบบันไดเวียน กรณีที่ความสูงอาคารไม่เกิน 15 ม. จากถนน สามารถทำเป็นแนวดิ่งได้แต่ต้องมีจุดพักเช่นกัน ขั้นบันไดห่างไม่เกิน 40 ซม. วัดความสูงรวมของบันไดจากขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้ายต้องมีความสูงจากพื้นไม่เกิน 3.50 ม. 

กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

3.ตัวบันไดหนีไฟที่อยู่ภายในอาคาร

      ความกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม. รอบ ๆ ต้องกั้นด้วยผนังทำจากวัสดุทนไฟ แต่ละชั้นมีช่องเปิดเพื่อให้อากาศถ่ายเทพไปด้านนอก พื้นที่รวมไม่น้อยกว่า 1.4 ตร.ม. มีระบบส่องสว่างเพียงพอต่อการมองเห็นตลอดเวลา ถ้าเป็นอาคารในกรุงเทพฯ มีข้อกฎหมายเพิ่มเติมคือถ้า บันไดหนีไฟ อยู่ภายในอาคารต้องสร้างให้ถึงพื้นดิน มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. ด้วยการวัดความกว้างของกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดไม่เหมือนกัน ดังนั้นก่อนการสร้างต้องรู้จักวิธีวัดให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมายกำหนดด้วย

กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

4.ต้องมีประตูหนีไฟ 

    ประตูต้องกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม. สูงไม่น้อยกว่า 1.90 ซม. ทำจากวัสดุทนไฟ ลักษณะต้องผลักจากด้านในออกไปด้านนอก มีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้บานพับประตูปิดอัตโนมัติ ไม่มีขอบกั้นหรือธรณีประตูเพราะเป็นการขวางทาง ส่วนอาคารในกรุงเทพฯ จะมีกฎหมายกำหนดเรื่องประตูหนีไฟมากกว่าคือ ประตูต้องเป็นแบบบานเปิดผลักเข้าสู่บันไดเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นชั้นดาดฟ้า, ชั้นล่าง หรือชั้นที่ออกมาจากบริเวณดังกล่าวสู่ภายนอกอาคารต้องทำการเปิดจากด้านในโดยผลักออกมาด้านนอกเท่านั้น

กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

5.จุดพักของบันได 

บริเวณจุดพักบันไดต้องมีความกว้างขั้นต่ำไม่น้อยกว่าความกว้างของตัวบันได

กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

6.บริเวณพื้นที่หน้าบันได

       ตรงจุดที่เป็นพื้นที่หน้าบันไดต้องมีระดับความกว้างไม่น้อยไปกว่าความกว้างของตัวบันได ขณะที่อีกด้านต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 ม. โดยคำว่า อีกด้านหนึ่ง หมายถึง ระยะที่มีการวัดแบบตั้งฉากกับลูกนอนของตัวบันได

กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

7.ตำแหน่งของบันไดหนีไฟ

        เรื่องสุดท้ายที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้คือระยะห่างของบันได ต้องมีระยะห่างจากประตูห้องสุดท้ายตรงทางเดินที่ปลายตันไม่เกิน 10 ม. กรณีมี บันไดหนีไฟ ตั้งแต่ 2 บันไดขึ้นไป ระยะห่างของตัวบันไดระหว่างทางเดินต้องไมเกิน 60 ม. ต้องมีป้ายเรืองแสงหรือเครื่องหมายที่มีไฟส่องสว่างบอกว่าจุดนี้คือทางหนีไฟ ข้อความที่อยู่บนป้ายดังกล่าวต้องเป็นข้อความบ่งบอกถึงทางหนีไฟขนาดตัวอักษรสูงไม่ต่ำกว่า 15 ซม. การติดตั้งต้องติดตั้งตามทางเดินกับบริเวณทางออกของบันไดหนีไฟอย่างชัดเจน มองเห็นจากระยะสายตา

กฎหมาย ”บันไดหนีไฟ” มีอะไรบ้าง มาดูกัน

8.ถ้าไม่ใช่บันไดลิงต้องทำจากวัตถุทนไฟ

        ป็นวัตถุคุณภาพดี ไม่ผุกร่อน ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 ซม. ลูกนอกกว้างไม่เกินต่ำ 22 ซม. ราวบันไดสูง 90 ซม. ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดต้องมีระดับของลูกตั้งและลูกนอกแบบนี้เหมือนกันหมด

 

          กฎหมายเหล่านี้เป็นกฎหมายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับทุก ๆ คนที่ต้องอยู่ภายในอาคารสูงทั้งสิ้น เราไม่มีทางรู้เลยว่าเหตุการณ์ไฟไหม้หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่าง ๆ จะเกิดขึ้นตอนไหน ดังนั้นการป้องกันเอาไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกอาคารต้องคำนึงถึง ยิ่งถ้าเป็นอาคารในกรุงเทพฯ ด้วยแล้วจะเห็นชัดเลยว่ากฎหมายมีความเคร่งครัดมากกว่าอาคารต่างจังหวัดหลายเท่า

         อาจด้วยในกรุงเทพฯ เองมีอาคารสูงเหล่านี้เยอะมาก โอกาสที่จะเกิดเหตุร้ายนั้นมีสูงกว่า การออกกฎหมายป้องกันให้มากเท่าที่จะทำได้จึงเป็นตัวช่วยสำคัญโดยหวังว่าความเสียหายต้องเกิดน้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือทรัพย์สินภายในอาคารนั้น ๆ  

         อีกกฎหมายเกี่ยวกับบันไดหนีไฟที่ ร้านไทยจราจร อยากฝากไว้คือกรณีที่ท่านสร้างบ้านตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป หรือจากชั้น 3 แล้วมีดาดฟ้าพื้นที่เกิน 16 ตร.ม. ต้องสร้างบันไดหนีไฟเพิ่มขึ้นจากบันไดปกติอย่างน้อยอีก 1 จุด โดยทางดังกล่าวต้องไม่มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางเดินด้วย ส่วนในกรุงเทพฯ หากมีการทำขั้นใต้ดิน 2 ชั้นขึ้นไปต้องทำทางหนีไฟเฉพาะอีกทางหนึ่งด้วย 

 

 

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found