ถังดับเพลิง มีกี่ชนิด และ แต่ละชนิดใช้งานยังไง….(เห็นถามมาเยอะ อ่านปุ๊ปเข้าใจปั๊ป)

ถังดับเพลิง

ถังดับเพลิงนับเป็นอุปกรณ์ระงับเหตุเพลิงไหม้พื้นฐานที่มีการใช้งานในทุกอาคารสถานที่ เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการดับไฟได้ดี พกพาสะดวก ติดตั้งง่าย ทำให้เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามการเลือกใช้อุปกรณ์ถังดับเพลิงนั้นจำเป็นต้องพิจารณาชนิดของถังดับเพลิงด้วย เพราะมีวิธีในการใช้งานที่แตกต่างกัน ถังดับเพลิงนั้นมีด้วยทั้งหมด 6 ชนิด ซึ่งทางร้านไทยจราจรจะนำความรู้เกี่ยวกับถังดับเพลิงนั้นทั้ง 6 ชนิดนี้มาให้รู้จักกัน ดังต่อไปนี้

                      1.ถังดับเพลิงสารเคมีแห้ง

                              เป็นถังดับเพลิงที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เนื่องจากมีราคาไม่แพง น้ำหนักไม่มาก สามารถใช้ดับเพลิงได้หลายประเภท ทั้งไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง (ไฟประเภท A) , ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงของเหลว (ไฟประเภท B) และไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ (ไฟประเภท C) หลักการทำงานคือสารเคมีจะเข้าไปขัดขวางไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปสัมผัสกับเชื้อเพลิง ข้อดีของถังดับเพลิงชนิดนี้คือสามารถดับเพลิงได้รวดเร็ว วิธีการใช้งานง่าย เพียงดึงสลักบริเวณหัววาล์วออก จับสายฉีดให้มั่นหันไปยังจุดหมายที่ต้องการ แล้วกดบีบที่หัวฉีด เมื่อใช้งานเสร็จสามารถเสียบฉลักคืนได้ แต่มีข้อจำกัดที่ผงสารเคมีละเอียดสีขาวที่จะหลงเหลืออยู่หลังจากการดับไฟ ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด อย่างไรก็ตามถังดับเพลิงชนิดนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบสภาพอยู่เสมอด้วยการเขย่าถังน้ำยาและฟังเสียงน้ำยาในถังว่าเคลื่อนไหวได้หรือไม่ เพราะน้ำยาในถังอาจจับเป็นก้อนแข็ง  ถังดับเพลิงชนิดนี้มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 5 ปี

                     2.ถังดับเพลิงจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

                            เป็นถังดับเพลิงที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการทำงานเข้าไปขัดขวางการทำงานของก๊าซออกซิเจนไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิของเชื้อเพลิงไปด้วย จึงมีประสิทธิภาพในการดับไฟได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงของเหลว (ไฟประเภท B) และไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ (ไฟประเภท C) โดยไม่ทิ้งให้เกิดคราบสกปรกเหมือนกับถังดับเพลิงแบบสารเคมีแห้ง แต่ข้อเสียคือมีน้ำหนักค่อนข้างมาก หากเทียบกับถังดับเพลิงชนิดอื่น ๆ จึงนิยมใช้การวางบนป้ายตั้งถังดับเพลิงมากกว่าการแขวนบนผนัง การใช้งานก็เพียงดึงสลัก หันด้านปลายสายหาจุดหมายให้มั่นแล้วกดบีบที่หัววาล์วเพื่อปล่อยก๊าซออกมา ควรตรวจสอบมาตรวัดแรงดันของแก๊สในถังว่าอยู่ในระดับที่พร้อมใช้งานอยู่หรือไม่

                     3.ถังดับเพลิงชนิดเนื้อโฟม

                            เป็นถังดับเพลิงที่เมื่อฉีดพ่นออกมาจะมีลักษณะเป็นเนื้อโฟมเคลือบที่ผิวหน้าของเชื้อเพลิง เป็นการยับยั้งไม่ให้ออกซิเจนทำงานและยังช่วยลดอุณหภูมิของเปลวไฟได้ด้วย แต่เนื่องจากเนื้อโฟมมีลักษณะเป็นสื่อนำไฟฟ้าจึงไม่สามารถใช้ดับเพลิงประเภทที่มีสื่อไฟฟ้าได้ เหมาะสำหรับดับเพลิงของไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง (ไฟประเภท A) และไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงของเหลว (ไฟประเภท B) เท่านั้น การใช้งานด้วยการดึงสลักออกเหมือนกับถังดับเพลิงประเภทอื่น ๆ และมีข้อควรระวังเพราะหลังใช้งานแล้วเนื้อโฟมจะทิ้งคราบหรือเข้าไปทำให้ส่วนประกอบของเครื่องจักรเสียหายได้ และควรมีการตรวจสอบเกณฑ์วัดความดันอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา

                      4.ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย

                             เป็นถังดับเพลิงรุ่นใหม่ เนื่องจากน้ำยาในถังดับเพลิงถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เพราะสารเคมีในถังชนิดนี้จะไม่มีส่วนประกอบของสาร CFC อันเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายชั้นบรรยากาศ ทั้งยังไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังการใช้งาน มีราคาไม่แพง น้ำหนักไม่มาก เคลื่อนย้ายได้ง่ายและสะดวก มีความสามารถดับไฟได้หลายแบบ ทั้งไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง (ไฟประเภท A) , ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงของเหลว (ไฟประเภท B) , ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ (ไฟประเภท C) และไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงโลหะ (ไฟประเภท D) จึงเป็นถังดับเพลิงที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน  ซึ่งหากเลือกใช้งานถังดับเพลิงชนิดนี้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบสภาพความพร้อมในการใช้งานเหมือนกับถังดับเพลิงประเภทอื่น ๆ หลักการใช้งานก็คือการดึงสลักและกดฉีดน้ำยาเช่นเดียวกับถังดับเพลิงประเภทอื่น ๆ

                        5.ถังดับเพลิงชนิดน้ำ

                                เป็นการดับเพลิงด้วยน้ำผสมแรงดัน ทำให้ถังประเภทนี้สามารถดับเพลิงได้ชนิดเดียวนั้นก็คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง (ไฟประเภท A) เท่านั้น เป็นรูปแบบที่มีข้อจำกัดในการใช้งานค่อนข้างมาก แต่ถือเป็นถังที่มีความปลอดภัยเพราะไร้สารตกค้างหลังการใช้งาน การใช้งานจะใช้วิธีดึงสลักวาล์วแล้วบีบน้ำแรงดันสูงออกไปดับไฟ ระดับแรงดันของน้ำภายในถังต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ

                      6.ถังดับเพลิงน้ำยา Halotron

                           เป็นถังดับเพลิงชนิดสารเคมีเหลวที่มีความเย็นจัด ทำให้เมื่อฉีดพ่นน้ำยาออกมาจะกลายเป็นไอระเหยทันที ทำหน้าที่กำจัดความร้อนและขัดขวางการทำงานของออกซิเจน ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้าและไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังใช้งาน แต่สารเคมีภายในมีส่วนผสมของ CFC ที่ทำลายชั้นบรรยากาศได้ อย่างไรก็ตามถังดับเพลิงประเภทนี้สามารถดับเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง (ไฟประเภท A) , ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงของเหลว (ไฟประเภท B) , ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ (ไฟประเภท C) , ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงโลหะ (ไฟประเภท D) และไฟที่เกิดจากไขมันอาหาร (ไฟประเภท K)

ถังดับเพลิงทุกประเภทจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยมีการติดตั้งอย่างเหมาะสมพร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไฟฉุกเฉิน ป้ายตั้งถังดับเพลิง เพื่อให้ทุกคนในอาคารสามารถมองเห็นและหยิบใช้ทันทีที่ต้องการได้ ทางร้านไทยจราจรหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อท่านเลือกถังดับเพลิงที่เหมาะสมกับอาคารของท่านและดูแลรักษาอย่างเหมาะสมแล้ว ท่านควรเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นอื่น ๆ ด้วย อย่างป้ายทางออกฉุกเฉิน หรือวัสดุทนไฟให้เหมาะสมด้วย เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในอาคาร

fire traffic

Block "content-bottom" not found