ทำอย่างไรเมื่อคุณจับได้ว่า..ลูกน้องคุณกำลังโกงค่าน้ำมัน!?

 

       ปัญหาการทุจริตเป็นปัญหาอันดับต้นที่เกิดขึ้นภายในองค์กรทุกแห่ง แต่สำหรับ ร้านไทยจราจร มองว่าปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เป็นเพียงแค่ปัญหาในเฉพาะองค์กรเท่านั้น แต่ปัญหาการทุจริตกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ และสำหรับประเทศไทยปัญหานี้ถือได้ว่าอยู่ในระดับค่อนข้างวิกฤตเลยทีเดียว ยังมีเรื่องของการทุจริตในองค์กรที่ต้องใส่ใจ และถือว่าไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะนายจ้างหรือลูกจ้างแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่มันคือเรื่องจำเป็นของทั้งสองฝ่าย เพราะนายจ้างก็ไม่สามารถดำเนินกิจการได้หากไม่มีลูกจ้าง และลูกจ้างก็จะไม่มีค่าตอบแทนหากไม่มีนายจ้าง แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าจะทำอย่างไร หากลูกจ้างเกิดการทุจริตต่อองค์กร

      หากถามว่าธุรกิจประเภทใดที่มีความเสี่ยงโดนลูกจ้างทุจริตมากที่สุด คงตอบได้แค่เพียงว่าธุรกิจทุกประเภทมีความเสี่ยงเท่ากัน แต่ถ้าหากถามว่าลักษณะงานรูปแบบใดที่มีโอกาสโดนลูกจ้างทุจริตมากที่สุด คำตอบก็คงหนีไม่พ้นงานทุกประเภทที่ต้องเกี่ยวข้องกับการขนส่ง เพราะเมื่อลูกจ้างขับขี่ยานพาหนะของบริษัทออกไปนอกองค์กรแล้ว จะไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไรก็ไม่มีใครรู้ การใช้ยานพาหนะในองค์กร นอกจากต้องส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ทั้งเรื่องการปฏิบัติตามป้ายจราจร การใช้อุปกรณ์จราจร พื่อความปลอดภัยอย่างเหมาะสม รวมถึงอบรมให้ความรู้และให้พนักงานรู้จักอุปกรณ์จราจรประเภทต่าง ๆ แล้ว ยังมีปัญหาการขโมยน้ำมันรถเพื่อจำหน่ายต่อหรือปัญหาการเปิดบิลเกินโกงเงินค่าน้ำมัน จึงมักมีให้พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง หากคุณคือนายจ้างที่จับได้ว่าลูกจ้างกำลังโกงค่าน้ำมันคุณจะทำอย่างไร ถ้ายังคิดไม่ออกลองดูวิธีการดังต่อไปนี้

  1. เปิดใจคุยกันด้วยเหตุผล

      บางทีการที่ลูกจ้างโกงค่าน้ำมันบริษัทคุณ เขาอาจจะมีเหตุผลหรือสาเหตุที่คุณยังไม่รู้ แต่ปัญหาหลัก ๆ แล้วก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของเงิน ๆ ทอง ๆ ลองแก้ปัญหาจากการเริ่มต้นเปิดใจคุยด้วยเหตุผลดูเสียก่อน อย่าเพิ่งใจร้อนวู่วามไล่ออกจากงานเพียงอย่างเดียว ไม่แน่ว่าเหตุผลหรือแรงจูงใจที่ทำให้เขาต้องทำแบบนั้น อาจจะมาจากตัวของนายจ้างเองก็ได้ ต้องทำความเข้าใจและตกลงแนวทางการทำงานร่วมกันใหม่ทั้งสองฝ่าย เชื่อได้ว่าหากลูกจ้างได้ในสิ่งที่พึงพอใจแล้ว เขาจะไม่กลับไปมีพฤติกรรมทุจริตแบบเดิมอีก ก็ถือว่าจบด้วยดีทั้งสองฝ่าย

  1. เปลี่ยนระบบการจ่ายค่าน้ำมัน

     หากกลัวว่าเมื่อคุยแล้วอาจจะไม่ได้ผล และจะทำให้มัวหมองใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย ก็ลองใช้วิธีปรับเปลี่ยนระบบการบริหารเงินค่าน้ำมันดู เช่น จากแต่ก่อนโดนลูกจ้างโกงด้วยวิธีการเขียนบิลเพิ่มจากมูลค่าที่จ่ายจริง ก็ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีการเติมน้ำมันและจ่ายโดยใช้บัตร Fleet Card แทน หรือเปลี่ยนมาใช้วิธีการจ่ายชำระค่าน้ำมันเป็นแบบคูปองเงินสด หรือไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมันในทุกครั้งที่เติมและให้ปั๊มน้ำมันเรียกเก็บค่าใช้จ่ายมาในทุกสิ้นเดือน หรือวิธีการใดก็แล้วแต่ที่จะเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกจ้างต้องถือเงินสดด้วยตัวเอง

  1. ติดตั้งระบบติดตาม GPS

       นอกจากปรับเปลี่ยนระบบการจ่ายค่าน้ำมันแล้ว สามารถเพิ่มมาตรการป้องกันได้อีกขั้นด้วยการติดตั้งระบบติดตามสัญญาณดาวเทียมที่ตัวรถ หรือที่เรียกว่า GPS TRACKER ถือเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถจับความเคลื่อนไหวและการกระทำได้ทุกอย่างของลูกจ้าง ทั้งยังสามารถช่วยตรวจสอบปริมาณหรืออัตราการเติมน้ำมัน พร้อมทั้งระยะทางในการวิ่งรถได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว แต่หากสามารถเจรจาตกลงกันด้วยดีทั้งสองฝ่าย หลีกเลี่ยงวิธีการนี้ก็ดีไม่ใช่น้อย เพราะจะทำให้ลูกจ้างเกิดความรู้สึกว่ากำลังถูกนายจ้างจับตาดูพฤติกรรมอยู่ตลอดเวลา เป็นการสร้างความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและความรู้สึกของลูกจ้างได้

  1. พยายามหาทางปรับพฤติกรรม

        สาเหตุการทุจริตของลูกจ้างบางรายก็ไม่ได้มาจากนิสัยหรือตัวตนพื้นฐานของเขาอย่างแท้จริง บางทีอาจจะมีเหตุผลหรือความจำเป็นที่เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการทุจริต นายจ้างต้องลองหาวิธีการปรับพฤติกรรมและสร้างจิตสำนึกอันดีให้กับลูกจ้าง อาจใช้วิธีการสร้างแรงจูงใจด้วยของรางวัล เช่น หากภายในเดือนหรือสองเดือนมีอัตราการใช้น้ำมันลดลงก็จะมอบรางวัลพิเศษให้ เป็นต้น เพราะโดยพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์แล้ว หากมีสิ่งจูงใจจะสามารถชักจูงให้เกิดการกระทำได้เพิ่มมากขึ้น

  1. ให้ออกจากงาน

      วิธีการนี้ เราขอแนะนำว่าให้เลือกปฏิบัติเป็นวิธีการสุดท้าย หากนายจ้างไม่สามารถหาทางออกให้กับปัญหานี้ได้จริง ๆ เพราะการที่นายจ้างให้ลูกจ้างคนหนึ่งออกจากงาน นั้นอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตและครอบครัวของเขาเลยก็ว่าได้ และหากจะต้องโดนออกจากงานด้วยสาเหตุของการทุจริตด้วยแล้วละก็ ชีวิตการทำงานในอนาคตของเขาจะเดินต่อไปอย่างยากลำบาก เพราะคงไม่มีสถานประกอบใดที่อยากจะรับลูกจ้างที่มีประวัติไม่ขาวสะอาดเข้ามาร่วมทำงานด้วยหรอก ที่สำคัญอาจสร้างความไม่พอใจให้กับลูกจ้างจนทำให้เกิดอันตรายต่อตัวของนายจ้างเองก็เป็นได้

        การทุจริตหรือคดโกงถือเป็นการกระทำส่วนบุคคลที่ไม่น่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่หากชีวิตมีความเป็นอยู่ที่พอดี พอมีเหลือกินเหลือเก็บก็คงไม่มีลูกจ้างคนใดที่อยากจะเป็นคนโกงหรอกจริงไหม นอกเสียแต่ว่าลูกจ้างคนนั้นจะไม่รู้จักกับคำว่าพอเสียมากกว่า ฉะนั้น ในฐานะที่คุณคือนายจ้าง คุณจึงเป็นบุคคลที่ต้องรู้พฤติกรรมของลูกจ้างอย่างดีที่สุด หากเกิดการทุจริตขึ้นในองค์กรอย่าเอาแต่โทษหรือกล่าวหาแต่ลูกจ้างเพียงฝ่ายเดียว ลองพิจารณาพฤติกรรมและการกระทำของตัวคุณเองดูบ้าง ไม่แน่ว่าแท้ที่จริงแล้วการทุจริตของลูกจ้างก็เป็นแค่เพียงพฤติกรรมหนึ่งที่กระทำเพื่อให้คุณได้รู้สึกอะไรบ้างอย่างเพียงเท่านั้นเอง เราหวังว่าท่านจะได้รับประโยชน์จากข้อคิดที่เรานำมาฝากกันนี้ไม่มากก็น้อย ด้วยความปรารถนาดีจากร้านไทยจราจร ผู้จำหน่ายอุปกรณ์จราจรหลากหลายประเภท เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยบนท้องถนน

safety equipment

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found