มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

           ในการใช้รถใช้ถนนย่อมเป็นธรรมดาที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นจากการขับรถที่ฝ่าฝืนกฎจราจร  การขับรถด้วยความประมาท หรืออาจเกิดจากเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ขับเสียการควบคุมรถ จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมทางหลวงต้องเข้ามาดูแลป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และช่วยบรรเทาความรุนแรงของเหตุร้าย

          ดังนั้นเราท่านจะเห็นว่ามีอุปกรณ์การจราจรต่างๆ มากมายที่ถูกนำมาใช้กับเส้นทางการคมนาคม รวมถึง “ราวเหล็กกั้นถนน” ที่ ร้านไทยจราจร กำลังจะกล่าวถึงในบทความนี้ด้วย

        เราเชื่อว่าทุกท่านคงเคยเห็นแถบเหล็กสีเงินที่ถูกติดตั้งทอดยาวไปตามแนวถนนในบางจุด แถบเหล็กนั้นมีชื่อเรียกว่า “ราวเหล็กกั้นถนน” “ราวเหล็กลูกฟูก” หรือ “การ์ดเรล” (Guard Rail) ซึ่งเป็นแผ่นเหล็กชุบสังกะสีแล้วถูกนำไปผ่านวิธีการผลิตที่ทำให้วัสดุมีความแข็งแรงทนทานต่อการชนและการกัดกร่อน ราวเหล็กลูกฟูกมีลักษณะเป็นแถบเหล็กหนา

       รูปหน้าตัดเป็นคลื่นคล้ายตัว W ถูกยึดติดกับเสาเหล็กที่ถูกติดตั้งให้มีระยะห่างระหว่างเสาแต่ละต้นเท่ากัน ถูกนำมาใช้เพื่อลดและป้องกันบรรเทาอันตรายจากการพุ่งชนของรถ เช่น ป้องกันรถที่เกิดอุบัติเหตุพุ่งตกลงจากที่สูง , ป้องกันรถพุ่งลงแหล่งน้ำ เป็นต้น 

ในการติดตั้งราวเหล็กกั้นถนนให้มีประสิทธิภาพ ผู้ติดตั้งจะต้องพิจารณาถึงหลายปัจจัย ดังนี้

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

1.ราวเหล็กจะต้องมีระยะโก่งตัวที่ไม่มากเกินไป เพื่อที่จะสามารถเหนี่ยวรั้งยานพาหนะที่เข้ามาชนได้

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

2.มีคุณสมบัติช่วยลดความเร่งของยานพาหนะที่พุ่งเข้าชนแบบไม่แรงมาก

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

3.เบนทิศทางของรถที่พุ่งเข้าชนได้เป็นอย่างดี เช่น เมื่อรถพุ่งมาชนราวเหล็กกั้นถนน จากเดิมที่รถน่าจะพุ่งลงเหว รถก็ไถลไปจอดอีกทาง

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

4.สามารถคงสภาพและยังใช้งานได้แม้จะถูกชนมาแล้วก็ตาม

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

5.ลดอันตรายจากรถให้แก่ผู้ขับขี่รถคันอื่นและคนเดินเท้าได้

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

6.ราวเหล็กกั้นถนนต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจนเสมอ

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

7.ราวกั้นต้องไม่ยื่นลงมาในส่วนขอบทางให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนน

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

8.ซ่อมแซมง่ายและรวดเร็ว

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

9.ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงไม่สูงมาก

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

10.มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง

      นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ติดตั้งควรพิจารณาว่าคันทางและวัตถุข้างทางจะเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนหรือไม่ โดยดูว่าในสภาพคันทางนั้นๆ ผู้ขับขี่จะสามารถควบคุมรถได้มากหรือน้อยแค่ไหน และวัตถุข้างทางอยู่ในระยะที่เป็นอันตรายหรือไม่

     ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในเส้นทางที่มีความคดโค้งหากเกิดอุบัติเหตุจะเกิดความรุนแรงกว่า และอุบัติเหตุอันตรายจากวัตถุข้างทางส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับคันทางและอุปกรณ์ข้างทาง เช่น เสาไฟฟ้า ต้นไม้ เป็นต้น หากสิ่งเหล่านี้อยู่ใกล้กับขอบทางมากเกินไปก็เพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น

      ดังนั้นในการออกแบบถนนให้มีความปลอดภัยมากที่สุด จะต้องไม่มีวัตถุอันตรายต่างๆ อยู่ในระยะเขตปลอดภัย อาจทำได้ด้วยการเคลื่อนย้ายวัตถุนั้น แต่ในกรณีที่ไม่สามารถทำได้ ผู้ออกแบบควรพิจารณาว่าจะป้องกันวัตถุอันตรายนั้นอย่างไร จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันใดๆ หรือไม่

ชนิดของราวเหล็กกั้นถนนมีหลายประเภท ซึ่งจะมีวิธีการติดตั้งแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น

1.ราวเหล็กลูกฟูกแบบใช้เสาอ่อน

       เป็นอุปกรณ์กั้นแบบยืดหยุ่น ใช้เสาแบบอ่อน ในการติดตั้งต้องมีระยะห่างระหว่างเสาอยู่ที่ประมาณ 3.75 เมตร การยึดแผ่นเหล็กเข้ากับเสาควรทำให้ตำแหน่งกึ่งกลางถึงพื้นดินสูงประมาณ 0.60 เมตร ราวเหล็กแบบนี้จะแยกตัวออกอย่างง่ายดายเมื่อถูกชน 

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

2.ราวเหล็กลูกฟูกแบบเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้เสาแบบอ่อน

       เป็นอุปกรณ์กั้นแบบยืดหยุ่น ใช้เสาแบบอ่อนที่มีการใช้แผ่นเหล็กเพิ่มความแข็งแรง ในการติดตั้งต้องมีระยะห่างระหว่างเสาอยู่ที่ประมาณ 3.75 เมตร การยึดแผ่นเหล็กเข้ากับเสาควรทำให้ตำแหน่งกึ่งกลางถึงพื้นดินสูงประมาณ 0.82 เมตร

มาตรฐานการติดตั้ง ราวเหล็กกั้นถนน หรือ การ์ดเรล ของกรมทางหลวง

3.ราวเหล็กลูกฟูกแบบใช้เสาแข็ง

       เป็นอุปกรณ์กั้นแบบกึ่งแข็ง มีการใช้ตัว Block out เสริมความแข็งแรงด้านหลังระหว่างตัวเสาแต่ละต้นและราวเหล็ก เสาจะไม่ล้มเมื่อมีรถพุ่งมาชนและสามารถป้องกันไม่ให้รถยนต์พุ่งข้ามราวกั้นออกไปได้ โดยที่เสาแข็งจะเป็นเสาเหล็กหรือเสาไม้ก็ได้ ในการติดตั้งควรทำให้ตำแหน่งกึ่งกลางถึงพื้นดินสูงประมาณ 0.55 เมตร และใช้ตัว Block out ที่ทำจากไม้ขนาดความยาว 0.36 เมตรเสริมระหว่างเสาและราวเหล็ก

       แม้ว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการหาทางช่วยเหลือป้องกันและบรรเทาการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนนแล้วก็ตาม แต่ผู้ขับขี่เองก็ต้องขับขี่อย่างระมัดระวัง ไม่ประมาทและช่วยกันปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้ร่วมทางท่านอื่น

      อย่างไรก็ดีบทความนี้ได้สรุปข้อมูลมาให้ศึกษากันอย่างพอสังเขปเพื่อให้อ่านง่ายและเข้าใจหลักการคร่าวๆ เท่านั้น สำหรับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการติดตั้งราวเหล็กกั้นถนนยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากให้ท่านได้ศึกษา 

      แต่หากท่านใดที่มีข้อสงสัยหรือกำลังมองหาราวเหล็กกั้นถนนที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน คุณภาพระดับสากล ขอให้ท่านไว้ใจเลือกเราร้านไทยจราจร ร้านจำหน่ายอุปกรณ์การจราจรที่ครบวงจรที่สุดยินดีให้บริการทุกท่านตลอด 24 ชั่วโมงที่ www. trafficthai.com

 

การ์เรล

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found