แนะแนวทางบริหารคลังสินค้าสมัยใหม่ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อีกระดับ

            คลังสินค้าเปรียบเสมือนที่เก็บทรัพย์สิน เงินทอง และของมีค่ามากมาย ซึ่งเป็นหัวใจหลักของธุรกิจเพราะหากคลังสินค้าได้รับความเสียหายไม่ว่าจะอุบัติภัยใด ๆ นั่นหมายถึงทรัพย์สินมีค่าที่มีทั้งหมดสูญหายไปได้ ดังนั้นการดูแลเอาใจใส่ในด้านความปลอดภัยต่อคลังสินค้าจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่ากระบวนการผลิตทั้งหมดที่มี

การบริหารคลังสินค้าและความสำคัญต่อธุรกิจ

           หนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้คือการบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะธุรกิจซื้อมาขายไป เพราะมีความเสี่ยงในการบริหารคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยธุรกิจซื้อมาขายไปจะมีลักษณะของการซื้อสินค้ามาสต็อกไว้ก่อนที่จะนำออกมาจำหน่าย หากขาดความมีระเบียบวินัย การขนย้ายลำบาก มีสิ่งกีดขวาง ไม่ใช่หลักการ First In, First Out ย่อมส่งผลกระทบต่ออายุและการจัดเก็บ เช็กสต็อกผิดพลาด จนทำให้ความเชื่อมั่นจากลูกค้าลดน้อยลงไปได้ 

  • สิ่งแรกที่ต้องทำคือการใช้ Stock Card และป้ายเตือน เกี่ยวกับปริมาณสินค้าคงคลังและวันเดือนปีที่หมดอายุ ใช้ รถเข็น ในการจัดเก็บสินค้า เพื่อความปลอดภัยและรวดเร็วในการทำงาน 
  • การเลือกใช้รถโฟล์คลิฟท์ในการขนย้ายสินค้าในที่สูง เพื่อเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ทดแทนการใช้บันไดพาด
  • การนำระบบบริหารจัดการคลังสินค้ามาใช้ 
  • การบริหารบุคลากรให้ความรู้และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะการสื่อสารในการทำงานเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและลดความผิดพลาดในการทำงาน โดยจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานด้วย 

การนำ 5 ส มาใช้ในการบริหารพื้นที่คลังสินค้า

การบริหารพื้นที่เป็นหนึ่งในหัวใจหลักในการบริหารคลังสินค้า เพื่อที่จะได้มีพื้นที่ว่างเหลือเพิ่มมากขึ้น จัดเก็บสินค้าได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และช่วยให้หาง่ายดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่งผลให้การทำงานผิดพลาดน้อยลง โดยหลักการ 5ส มีง่าย ๆ ดังนี้

  • ส.สะสาง หยิบจับก็ง่าย หายก็เจอ การจัดหมวดหมู่สินค้าให้เป็นประเภทเดียวกันจะช่วยให้คนทำงานสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางและวิธีการดังกล่าวสามารถเห็นได้ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าที่มักจะจัดโซนสินค้าที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน เช่น ในล็อค A จะมีแต่ผงซักฟอกทั้งหมด ล็อค B จะเป็นน้ำยาปรับผ้านุ่มและน้ำยาซักผ้า เพื่อที่เวลาลูกค้าไปหาจะได้เจอและค้นหาจบในที่เดียว เป็นต้น
  • ส.สะดวก ใช้รถเข็นหรือมี รถเข็น ไว้คอยบริการให้ลูกค้าหรือพนักงานได้ใช้งาน เพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าและผู้มาใช้งาน 
  • ส.สะอาด มีการทำความสะอาดพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ วาง ถังขยะ ไว้คอยบริการในพื้นที่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน พร้อม ถังขยะ แบบคัดแยกเพื่อที่จะนำไปทิ้งได้อย่างถูกต้องและช่วยเพิ่มรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลได้อีกด้วย
  • ส.สุขลักษณะนิสัย หลังจากปฏิบัติตาม ส. ทั้ง 3 มาแล้ว ควรตั้งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานสำหรับให้พนักงานทุกคนได้ปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยและความรวดเร็วในการทำงาน
  • ส.สร้างนิสัย เมื่อเกิดวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีภายในองค์กรแล้ว ผู้บริหารควรลงมาตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานด้วยตนเองเสมอ ๆ เพื่อเช็กดูว่าพนักงานยังปฏิบัติงานตามข้อกำหนดหรือกฎระเบียบอยู่หรือไม่ จะเป็นการช่วยสร้างนิสัยในการทำงานที่ดี

การนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในคลังสินค้า

บางครั้งการบริหารคลังสินค้าแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพอต่อความรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ การนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้จึงมีส่วนช่วยให้การบริหารจัดการคลังสินค้าได้ดีขึ้น เช่น

  • การใช้เทคโนโลยี QR CODE เพียงติดตั้งเครื่องอ่าน QR CODE และสแกน ก็สามารถที่จะรู้ข้อมูลของสินค้าได้เลยว่าอยู่แถวไหน ชั้นอะไร และมีจำนวนกี่ชิ้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยลดเวลาในการค้นหาและตรวจสอบสต็อกสินค้าได้ 
  • การใช้โดรนสแกน บางพื้นที่ที่มีการจัดเก็บสินค้าในพื้นที่สูง การเลือกใช้โดรนในการสแกนสินค้าจะช่วยในเรื่องของการประหยัดเวลาและความปลอดภัยต่อตัวพนักงานได้ 
  • การนำระบบสายพานลำเลียงมาปรับใช้ โดยจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแต่ละธุรกิจ โดยประเมินจากความเหมาะสมและต้นทุนในการทำงานเป็นหลัก เพราะหากติดตั้งในธุรกิจขนาดเล็กอาจไม่คุ้มค่าในการใช้งาน หากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และต้องใช้คนและเครื่องจักรในการลำเลียงสินค้าจำนวนมาก การเลือกติดตั้งสายพานลำเลียงและใช้เทคโนโลยี RFID มาช่วยจะทำให้สะดวก ถูกต้อง และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

นอกจากสินค้าภายในคลังสินค้าจะได้รับการบริหารจัดการที่ดีแล้ว ความปลอดภัยก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย เพราะถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯที่จะต้องดูแล ดังนั้นควรได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยในพื้นที่ทำงานและให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดด้วย โดยจะมีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ขอแนะนำดังนี้ 

ถังดับเพลิง

ถังดับเพลิง มีด้วยกันหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุภายในคลังสินค้า โดยปกติจะเลือกใช้อยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ถังดับเพลิงประเภทคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 และอีกประเภทคือถังเคมีแห้ง ซึ่งมีความสามารถในการดับไฟดังนี้

  • ถังคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ดับไฟชนิด B, C
  • ถังเคมีแห้ง ดับไฟชนิด A, B ส่วน C ขึ้นอยู่กับประเภทของเคมีที่บรรจุเข้าไป 

ซึ่งการติดตั้ง ถังดับเพลิง ตามกฎหมายกำหนดจะต้องติดตั้งอย่างน้อย 1 เครื่องต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร หรือระยะไม่เกิน 45 เมตร

ป้ายตั้งถังดับเพลิง

จากเดิมที่กฎหมายเคยกำหนดให้ติดตั้งถังดับเพลิงอยู่สูงกว่าพื้น แต่ปัจจุบันมีการแก้ไขให้สามารถหยิบยก จับได้สะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง ทำให้สามารถเลือกใช้ป้ายตั้งถังดับเพลิงได้ เพราะในความเป็นจริงหากเป็นพนักงานผู้หญิงที่ต้องใช้งานอาจไม่สามารถยกถังดับเพลิงขนาด 10 ปอนด์ ที่ความสูงระดับ 1 – 1.50 เมตรได้

ตู้เก็บถังดับเพลิง 

หากเป็นการติดตั้งนอกอาคารและต้องการดูแลรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งานของถังดับเพลิงและสายให้นาน ๆ สามารถที่จะเลือกใช้ตู้เก็บถังดับเพลิง เพราะสามารถป้องกันแสงแดดและดูเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่า 

สายส่งน้ำดับเพลิง ข้อต่อ และหัวจ่าย

หากคลังสินค้ามีพื้นที่ขนาดใหญ่และจำเป็นจะต้องมีทีมดับเพลิง ปั๊มน้ำดับเพลิง สายส่งน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ต่อพ่วงจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินถังดับเพลิงไม่สามารถระงับเหตุได้ การมีทีมดับเพลิง อุปกรณ์ และสายฉีดน้ำดับเพลิงเข้าระงับเหตุก่อนที่เจ้าหน้าที่มาถึงจะช่วยลดความเสียหายลงไปได้ เพราะอย่าลืมว่าหากรอเจ้าหน้าที่ระงับเหตุเพลิงอาจโหมไหม้ไปหมดแล้วก็เป็นได้

ชุดดับเพลิง

อย่างน้อยหากมีทีมดับเพลิงประจำโรงงานหรือคลังสินค้า ควรมีชุดดับเพลิงให้ทีมดับเพลิงเพื่อที่จะช่วยป้องกันความร้อนขณะกำลังเข้าทำการดับไฟและช่วยเหลือผู้อพยพได้ เพราะหากไม่มีชุดป้องกันก็ยากที่จะมีใครกล้าเสี่ยงเข้าช่วยดับไฟได้ 

สัญญาณเตือนภัยและแจ้งเหตุ

เชื่อได้ว่าทุกองค์กรจะต้องมีปุ่มสัญญาณเตือนภัยและใช้แจ้งเหตุเพื่อแจ้งให้ทุกคนได้รับรู้ถึงเหตุด่วน เหตุร้าย เพื่อทำการอพยพตามที่ได้รับการซักซ้อมในทุก ๆ ปี โดยสัญญาณเตือนจะต้องได้รับการตรวจเช็กเป็นประจำให้มั่นใจว่าเวลาที่เกิดเหตุจริงจะสามารถใช้งานได้

อุปกรณ์เตือนภัยอื่น ๆ ในคลังสินค้า
  • ไฟเตือนรถโฟล์คลิฟท์ ใช้สำหรับแจ้งเตือนถึงการปฏิบัติงานของรถโฟล์คลิฟท์
  • เสาพร้อมสายกั้น เพื่อกั้นพื้นที่ในการทำงาน ไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าในพื้นที่
  • สัญญาณเตือนกันชน ส่วนใหญ่จะได้รับการติดตั้งบริเวณมุมตึกหรือมุมอับสายตาเพื่อป้องกันการชนเกิดขึ้นและเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ได้

        การบริหารคลังสินค้าสมัยใหม่จะต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนกระบวนการได้ตลอดเวลา เพราะปัจจุบันคลังสินค้าไม่ใช่เป็นเพียงแค่คลังสินค้าอีกต่อไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของระบบโลจิสติกส์ที่มีการนำระบบบริหารจัดการและเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ เพื่อตอบสนองต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน

        ลดค่าใช้จ่าย ทันสมัย และมีความปลอดภัยในการทำงาน จึงจะส่งผลดีต่อธุรกิจได้ สำหรับท่านผู้ประกอบการที่ต้องการอุปกรณ์เพื่อนำมาช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับพื้นที่คลังสินค้า ร้านไทยจราจร มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่มีมาตรฐานหลากหลายชนิด สามารถเข้ามาชมสินค้าได้ที่ https://trafficthai.com

[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″] [row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]
[/col_inner_4] [/row_inner_4] [/col_inner_3] [/row_inner_3]