8 วิธี สร้างความปลอดภัยบนถนน ในเขตโรงเรียน

ในแต่ละวัน การเดินทางไปกลับบ้าน-ที่เรียนหรือที่ทำงาน เป็นความเสี่ยงที่ทุกคนต้องเผชิญกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้เสมอ โดยเฉพาะบุตรหลานในวัยเรียน ซึ่งเป็นเด็กเล็ก ยังขาดประสบการณ์และมีความระมัดระวังต่ำกว่าผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งรถโดยสารประจำทาง หรือการข้ามถนนในจุดต่าง ๆ 

ในวันนี้ ร้านไทยจราจร จึงขอนำเสนอ 8 วิธีการที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัย บนท้องถนนในเขตโรงเรียน เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงเรียน สถาบันสอนพิเศษ และผู้ปกครองร่วมกันสังเกต และให้ความสำคัญกับการลดอุบัติภัยในกลุ่มเด็กนักเรียนมากขึ้น ดังนี้

         1.กรณีที่ผู้ปกครองเป็นผู้ขับรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์มาส่งเด็กเอง

             นอกจากต้องให้เด็กสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยติดประเภทของยานพาหนะ เช่น คาดเข็มขัดนิรภัย (รถยนต์) สวมหมวกกันน็อค (รถจักรยานยนต์) แล้ว ในระหว่างขับขี่ก็ต้องควบคุมความเร็วพาหนะไม่ให้เกินที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะเมื่อเข้าใกล้บริเวณเขตโรงเรียน ซึ่งสามารถสังเกตจากป้ายไฟโรงเรียน ซึ่งเป็นป้ายสีเหลืองรูปคนจูงเด็กข้ามถนนและมีข้อความว่าเขตโรงเรียน (มีหลอดไฟกระพริบระบบโซล่าเซลล์ให้ความสว่างชัดเจนเพื่อเป็นจุดสังเกต) ตั้งแต่เวลาเช้าจนค่ำ ที่อาจมีเด็กเรียนพิเศษ และเดินสัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก

           2.หากให้เด็กนั่งรถบัสประจำทาง

               ควรสอนให้เด็กนั่งใกล้คนขับ ไม่นั่งชิดด้านในเกินไป เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อเหตุอาชญากรรมและกระทำอนาจารในเด็กได้มากกว่า ที่สำคัญคือ ต้องเตือนไม่ให้เด็กนั่งหลับ หรือมัวแต่เล่นโทรศัพท์จนนั่งเลยป้ายที่จะลง เพราะการเดินเท้ากลับ หรือการนั่งรถเมล์ย้อนกลับมาโรงเรียน (ตอนเช้ามืด) หรือบ้าน (ตอนค่ำหลังเลิกเรียน) เป็นความเสี่ยงที่เด็กอาจถูกล่อลวงหรือมีอุบัติเหตุจากรถยนต์ที่สัญจรไปมาอย่างหนาแน่นได้

            3.บริเวณทางม้าลายซึ่งเป็นจุดข้ามถนนที่สำคัญ

                 ควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรืออาสาสมัครจราจรในชุดเสื้อจราจรสะท้อนแสงยืนโบกกระบองไฟกระพริบ เพื่อควบคุมทิศทางรถยนต์ และรักษาวินัยในการขับขี่-การจอดรถรับส่งบุตรหลานของผู้ปกครองให้เป็นไปตามกฎจราจร 

นอกจากนี้ ผู้ขับขี่รถยนต์ควรสังเกตป้ายจำกัดความเร็ว ที่ติดบริเวณก่อนถึงทางม้าลาย ประมาณหนึ่งถึงสองร้อยเมตร เพื่อการลดเปอร์เซ็นต์เฉี่ยวชนเด็กที่อาจลงเดินจากรถคนอื่นแล้วอยู่ในจุดที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยกระจกมองข้างได้ถนัดด้วย 

            4.ในปัจจุบัน มีการออกแบบทางม้าลาย หรือทางเดินคนข้ามถนน

                 จากยางดำหนา 7 เซนติเมตร เกรดเดียวกับที่ใช้ทำยางรถยนต์ ซึ่งจะมีแถบสีขาวสะท้อนแสงขนาดใหญ่ ช่วยในการเพิ่มวิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่ให้ความสะดวกในการที่สามารถปูลาดกับพื้นคอนกรีต พื้นซีเมนต์ หรือยางมะตอย และใช้งานได้ทันที เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานแก่พื้นถนน ลดได้ทั้งความเร็วของรถยนต์และลดการลื่นไถลของเด็กนักเรียนได้พร้อม ๆ กัน

               5.บริเวณเขตโรงเรียนควรทาสีกันลื่น

                    เพื่อเป็นตัวช่วยในการลดการลื่นไถลทั้งของรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ และแม้แต่เด็กเล็ก ๆ ที่มักชอบวิ่งเล่นกับเพื่อนจนไม่ทันระวังรถยนต์ จะทำให้ลดเปอร์เซ็นต์อุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี 

โดยปัจจุบัน มีสีกันลื่นหลายสีสันที่สามารถทาแล้วใช้งานพื้นถนนได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ทั้งยังสามารถโรยลูกแก้วสะท้อนแสง (สำหรับโรยถนนโดยเฉพาะ) เพื่อการเป็นจุดสังเกตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าให้ความสวยงาม สร้างความปลอดภัย และ ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อสถานศึกษาในแง่ของความใส่ใจในความปลอดภัยด้านการจราจรด้วย

               6.การติดโคมไฟถนนระบบโซล่าเซลล์

                    เป็นระยะโดยรอบเขตโรงเรียน เพื่อเพิ่มความส่องสว่างให้ทั่วถึง และเป็นการป้องปรามเหตุการณ์ร้ายแรงต่าง ๆ ทั้งนี้ โคมไฟจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลา กลางวันไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานส่องสว่างยามค่ำคืน จึงไร้กังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าของสถาบันการศึกษา หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการสนับสนุนความปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชน

                 7.สำหรับเด็กที่มีบ้านที่พักใกล้โรงเรียนสามารถขี่รถจักรยานไปเรียนได้

                     ทั้งนี้ทางโรงเรียนควรเสริมสร้างความปลอดภัย และสนับสนุนการออกกำลังกายของเด็ก ด้วยการทาสีกันลื่นเป็นแนวเลนจักรยาน การติดตั้งที่จอดรถจักรยานบริเวณภายในรั้วโรงเรียนเพื่อให้การจอดจักรยานมีระเบียบและป้องกันไม่ให้ถูกโจรกรรมทรัพย์สิน และในปัจจุบัน มีการดีไซน์ที่จอดให้มีความทันสมัยและสามารถจอดได้ตั้งแต่หนึ่งคันจนถึงสิบคันเลยทีเดียว

                8.วิธีการสุดท้าย คือ การติดตั้งเกาะกลางถนนเคลื่อนที่ได้

                     ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุได้มาก เนื่องจากส่วนหัวและท้ายของเกาะจะมีเสาและพื้นที่ยกสูงขึ้นจากพื้นถนนมากเป็นพิเศษจึงป้องกันการถูกรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนได้ ขณะเดียวกันบริเวณที่ให้ยืนคอยสัญญาณไฟจราจร ก็ยกพื้นสูงจากระดับถนนสามารถยืนพร้อมกันได้หลายคนจึงเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยที่เหมาะกับการรอข้ามถนนหลายเลนบริเวณใกล้โรงเรียน

                       จะเห็นได้ว่า ทั้ง 8 วิธีการที่เราได้นำเสนอไปเป็นสิ่งที่สามารถปรับประยุกต์และใช้งานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ซึ่ง นอกจากจะลดปริมาณอุบัติเหตุบริเวณโรงเรียนแล้ว ยังเป็นตัวอย่างที่ดีในการส่งเสริมวินัยการจราจรให้เด็กและผู้ปกครอง และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสถาบันในการดำเนินนโยบายด้านความปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรมได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพจริง

                       หากท่านต้องการอุปกรณ์เพิ่มเสริมสร้างความปลอดภัย ทั้งในบริเวณอาคารสถานศึกษา ตลอดจนสินค้าเกี่ยวกับงานจราจรอื่น ๆ เชิญสอบถามข้อมูลและชมสินค้าของ เรา ร้านไทยจราจร ได้ที่ www.trafficthai.com ตลอด 24 ชั่วโมง

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found