กลายเป็นประเด็นใหญ่ให้เห็นตามโลกออนไลน์อยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับการจอดรถผิดที่ ไม่ว่าจะเป็น ที่จอดรถจักรยานยนต์ , ที่จอดรถยนต์ จนลามไปถึงช่องจอดรถของคนพิการ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมแล้วความมักง่ายของผู้ขับขี่เอง
สถานที่จอดรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่จะถูกแยกพื้นที่ออกมาจากที่จอดรถยนต์และมี เครื่องหมายจราจร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงรถจักรยานยนต์อย่างชัดเจน แต่มีบ้างบางแห่งที่จอดรถไม่พอ ต้องจอดล้ำมาในฝั่งรถยนต์ เหตุเหล่านี้เกิดขึ้นและเห็นได้บ่อยครั้งตามร้านค้า, ปั๊มน้ำมัน, มินิมาร์ท ส่งผลกระทบให้รถยนต์ไม่สามารถเข้าจอดได้ ซึ่งอาจเป็นการตัดโอกาสที่จอดรถสำหรับลูกค้าที่จะมาซื้อสินค้า เพราะส่วนใหญ่แล้วหากที่จอดรถเต็มก็มักจะขับรถออกไปเลย แม้จะไม่มีกฎหมายบังคับแต่ก็ควรจอดรถภายในช่องของตนเองตามที่ฝ่ายอาคารสถานที่จัดเตรียมไว้ให้ แม้จะจอดเต็มในแถวแรกก็สามารถจอดซ้อนในแถวที่สองได้ เพราะรถจักรยานยนต์สามารถที่จะขยับ หรือเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่ารถยนต์
แนะนำป้าย ที่จอดรถจักรยานยนต์ และ ที่จอดรถ ยนต์ที่ควรรู้
- ป้ายที่จอดรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่จะมีสัญลักษณ์เป็นรูปตัว P พร้อมรูปรถจักรยานยนต์ ซึ่ง P หมายถึง Park ที่จอดรถและรูปรถจักรยานยนต์ หรืออาจมีเพียงรูปรถจักรยานยนต์พร้อมข้อความระบุ ที่จอดรถจักรยานยนต์ หมายความว่าเป็นที่จอดรถจักรยานยนต์เท่านั้น สถานที่บางแห่งจะแยกพื้นที่อย่างชัดเจน ไม่นำรถสองประเภทมาจอดปะปนกัน เพราะบ่อยครั้งมักพบปัญหาการเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกันภายในลานจอดรถ เช่น ห้างสรรพสินค้า จะทำประตูทางเข้าเฉพาะจักรยานยนต์ รถยนต์ไม่สามารถเข้ามาได้ เป็นต้น
- ป้ายห้ามจอดรถจักรยานยนต์ เมื่อมีป้ายจอดแล้วก็มีป้ายห้ามจอด ส่วนใหญ่จะพบเห็นได้ตามลานจอดรถรวม หรือสถานที่ราชการบางแห่งที่จำกัด หรือสงวนไว้ให้รถยนต์จอดเท่านั้น ส่วนรถจักรยานยนต์จะต้องไปจอดในพื้นที่ ๆ จัดให้ ห้ามล้ำเข้ามาเป็นอันขาด
- ที่จอดรถ Big Bike ป้ายที่จอดรถ Big Bike นี้ เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน เนื่องจากรถ Big Bike มีขนาดใหญ่ทำให้การจอดใช้พื้นที่มากและมักพบปัญหาเวลาจอดปะปนกับรถจักรยานยนต์คันเล็ก เพราะมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเยอะ เคลื่อนย้ายลำบาก อีกทั้งรถบางรุ่นยังได้รับการติดตั้งเซนเซอร์กันขโมยอีกด้วย เมื่อต้องจอดขวาง หรือจอดเบียดกับรถขนาดเล็ก ทำให้การเคลื่อนย้ายลำบาก ผิดพลาดล้มเกิดความเสียหายได้ ดังนั้น ห้างสรรพสินค้าบางแห่งจึงแยกที่จอดรถ Big Bike ต่างหากเพื่อป้องกันปัญหาและเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ในที่จอดรถจักรยานยนต์ได้
- ป้ายเดินรถทางเดียว บ่อยครั้งที่มักจะเห็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีพฤติกรรมมักง่าย ขับขี่ย้อนศรในเส้นทางที่กำหนด อาจเพราะไม่มีป้ายเตือนหรือป้ายบอกเกี่ยวกับการเดินรถทางเดียว หากมีติดตั้งไว้อาจเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ แก้ ปัญหารถติด และสร้างวินัยจราจรในสถานที่ได้
- ป้ายหยุด มักจะพบเห็นและได้รับการติดตั้งบริเวณทางเข้า-ออกในจุดที่จอดรถจักรยานยนต์ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการเฉี่ยวชนกันเอง หรือบริเวณเพื่อคืนบัตรจอดรถ เป็นต้น
- ป้ายเตือนสวมใส่หมวกกันน็อค บางสถานที่จะติดตั้งป้ายบริเวณด้านหน้าทางเข้าเพื่อให้ผู้ขับขี่ที่จะเข้ามาติดต่องานตระหนักถึงความปลอดภัย โดยเฉพาะการสวมใส่หมวกกันน็อค ถือเป็นอีกหนึ่ง วิธีลดอุบัติเหตุ ลงได้
- ป้ายระวังหมวกกันน็อคหาย ป้ายดังกล่าวอาจไม่ใช่ป้ายที่เป็นมาตรฐานของเครื่องหมายจราจร แต่เป็นป้ายเตือนของฝ่ายอาคารสถานที่ ป้ายนี้มีไว้เพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ระมัดระวังหมวกกันน็อคหาย โดยเฉพาะหมวกที่มีราคาแพง อาจต้องหาถุงผ้าใส่ติดตัวเข้าไปภายในอาคารด้วย หรือจัดเก็บไว้ใต้เบาะเพื่อป้องกันการถูกขโมย
- ป้ายจำกัดความเร็ว การขับขี่รถจักยานยนต์ภายในลานจอดรถ หรืออาคารจอดรถ ไม่ควรขับขี่ด้วยความเร็ว ควรมีป้ายกำหนดความเร็วให้ผู้ขับขี่ได้รู้เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุได้
- ป้ายจราจรบนพื้นทาง เส้นแบ่งช่องเดินรถ หากที่จอดรถเป็นรูปแบบ One Way หรือเดินรถทางเดียว อาจเลือกใช้ ป้ายเดินรถทางเดียว กับ ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย, ป้ายห้ามเลี้ยวขวาได้ แต่ถ้าเป็นลานจอดรถขนาดใหญ่ ควรทำเส้นจราจรเพื่อแบ่งช่องเดินรถให้ชัดเจนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะตามมาและเพื่อความเป็นระเบียบในการเดินรถด้วย
กฎที่ต้องรู้สำหรับอาคารสถานที่ เมื่อต้องเตรียม ที่จอดรถ ให้กับรถจักรยานยนต์
เป็นที่รู้กันว่าประเทศไทยเป็นมีผู้ใช้งานรถจักรยานยนต์จำนวนมาก เนื่องจากสะดวก สามารถเดินทางได้คล่องแคล่ว ว่องไวในยามรถติดได้เป็นอย่างดี จึงมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างจัดหาสถานที่จอดรถสำหรับจักรยานยนต์โดยเฉพาะ และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ผู้ขับขี่ควรเข้าใจกฎดังต่อไปนี้
1.แยกทางเข้า-ออก
สำหรับรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะ เพื่อลดปัญหาการจอดล้ำ แก้ ปัญหารถติด ในที่จอดรถยนต์และเพื่อความเป็นระเบียบในลานจอดรถ ล้อมรอบด้วยรั้วตาข่าย อาจติดตั้งไม้กระดก, ให้เจ้าหน้าที่แจกบัตรเพื่อป้องกันปัญหารถติดเมื่อรถจักรยานยนต์มาพร้อมกันจำนวนมาก และเพื่อป้องกันรถหายได้ด้วย
2.แยกพื้นที่ระหว่างรถจักรยานยนต์ธรรมดา กับ Big bike
เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดอุบัติเหตุโดยที่ไม่คาดคิด รวมถึงการเคลื่อนย้ายในกรณีที่ต้องจอดรถเบียดเสียดกัน เพราะรถ Big bike มีน้ำหนักมาก
3.ควรมีป้ายจราจรที่ชัดเจน
การมีป้ายจราจรบอกที่ชัดเจนเพื่อช่วยให้ผู้คนที่มาติดต่อรู้ว่าตรงไหนจอดได้ หรือจอดไม่ได้ ใช้ความเร็วเท่าไร เผื่อคนที่ไม่ชินทางจะได้เข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
4.กำหนดพื้นที่ให้เพียงพอต่อการจอดรถจักรยานยนต์
ฝ่ายอาคารสถานที่ควรจัดเตรียมพื้นที่จอดรถจักรยานยนต์ให้เพียงพอต่อการใช้งานและบริเวณพื้นควรตีเส้นเป็นช่อง ๆ สำหรับการจอดรถให้เป็นระเบียบ โดยขนาดของช่องควรอยู่ที่ 1 x 2 เมตร และเว้นช่องไฟให้คันหน้าสามารถถอยหลังโยกออกได้ หรือเวลาที่ต้องตีวงเลี้ยวในแต่ละจุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ หากเป็นไปได้ทางเข้า-ออก ควรเป็นทางเดียวกัน แต่ควรมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร เพื่อที่รถจะได้ขับสวนทางกันได้และที่สำคัญป้องกันการขโมยรถได้
5.ควรมีแสงสว่างที่เหมาะสม
ส่วนมากจะเห็นที่จอดรถจักรยานยนต์กลางแจ้ง จึงไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องแสงสว่างไม่เหมาะสม หากบางสถานที่ที่จอดรถจักรยานยนต์ต้องอยู่ใช้ใต้ดินของอาคาร หรือบนอาคาร ควรจัดให้มีแสงสว่างที่เหมาะสมเพื่อลดอุบัติเหตุและลดปัญหาการก่ออาชญากรรมได้
6.ขอบกั้น หรือรั้วตาข่าย
ควรสูงในระดับที่เหมาะสม ขอบกั้น หรือรั้วสำหรับล้อมรอบรถจักรยานยนต์ควรติดตั้งให้มีระดับความสูงที่เหมาะสม เพื่อป้องกันรถพุ่งออกภายนอกและป้องกันลม พายุ พัดรถล้มให้เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะการทำที่จอดรถกลางแจ้งและมีมากกว่าหนึ่งชั้น ควรทำที่กั้นให้ดี ไม่ควรต่ำเกินไป
7.ควรมีทางเดินสำหรับผู้ขับขี่
ภายหลังจากที่จอดรถจักรยานยนต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทางเดินที่ปลอดภัยสำหรับเจ้าของรถเพื่อป้องกันการเฉี่ยวชน เช่น อาจทำฟุตบาทให้คนเดิน หรือทำขอบกั้นทางเดินระหว่างทางเดินรถเพื่อป้องกันรถเหยียบเท้า และลดอุบัติเหตุได้
8.ติดกระจกโค้งเมื่อมีทางเลี้ยว
การติดกระจกโค้งเพื่อให้รถอีกฝั่งสามารถมองเห็นอีกฝั่งได้ จะช่วยลดอุบัติเหตุลงไปได้มาก เป็นที่รู้กันว่าคนขับขี่รถจักรยานยนต์มักจะเลี้ยว หรือใช้ช่องทางแคบมากกว่าที่จะตีโค้งกว้าง ๆ ในการเลี้ยว ทำให้มองไม่เห็นฝ่ายตรงข้ามและเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งหากได้รับการติดตั้งกระจกโค้งพร้อมป้ายเตือนระวังรถสวน ก็เป็นอีก วิธีลดอุบัติเหตุ ได้
9.ติดกล้องวงจรปิด
ปัจจุบันกล้องวงจรปิดมีราคาถูกมาก ณ ลานจอดรถควรได้รับการติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วย เพื่อไว้ตรวจสอบความผิดปกติและเป็นหลักฐานในกรณีที่มีข้อพิพาทกันเกิดขึ้น
10.เส้นช่องจอดรถ
ควรทำการตีเส้นขนาดของช่องสำหรับจอดรถให้ชัดเจนเพื่อผู้ขับขี่จะได้จอดรถให้ตรงช่อง ห้ามผู้ขับขี่ทำการจอดค่อมเส้นและเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
สำหรับบริษัทเอกชน โรงเรียน โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องการสร้างลานจอดรถหรือ ที่จอดรถ จักรยานยนต์ อย่าลืมนำ เครื่องหมายจราจร ไปติดตั้ง และตั้งกฎสำหรับอาคารสถานที่ไปปรับใช้ให้เหมาะสม เพื่อความเป็นระเบียบ ปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง