โกดังหรือคลังสินค้าเป็นสถานที่เก็บของที่มีชั้นวางสินค้าซ้อนกันเป็นจำนวนมาก
นับเป็นงานเสี่ยงอันตรายที่ต้องสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในสถานที่ทำงานและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคล หรืออุปกรณ์ความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ป้ายเตือน ต่างๆ ตลอดจนการอบรมเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัยในคลังสินค้า มาดูกันว่าหากต้องการเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานภายในโกดัง ควรมีอุปกรณ์ป้องกันภัยที่จำเป็นชนิดใดบ้าง
อุปกรณ์เซฟตี้ส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง
การสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้มีความสำคัญต่อคนงานในคลังสินค้าซึ่งมีความเสี่ยงอันตรายระหว่างการทำงาน
ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจากการเคลื่อนย้ายของหนัก การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ตลอดจนอันตรายจากสินค้าที่เป็นสารเคมี รวมถึงฝุ่นละอองในโกดัง ซึ่ง
อุปกรณ์เซฟตี้ก็เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ป้องกันอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทั้งตา มือ เท้า ศีรษะ หู หลัง หรือทางเดินหายใจได้เช่นกัน
1.อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เป็นอุปกรณ์สำหรับสวมใส่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดจากการทำงาน
เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในโกดังและโรงงานอุตสาหกรรมเนื่องจากการใช้มือสัมผัสอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร ยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ นั้นใช้ประเภทถุงมือที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท ได้แก่ ถุงมือกันความร้อน เหมาะสำหรับงานที่ต้องสัมผัสกับอุปกรณ์ หรือภาชนะที่มีความร้อนสูง , ถุงมือยางป้องกันสารเคมี , ถุงมือกันบาดสำหรับการสัมผัสของแหลมมีคมป้องกันมือถูกบาดเป็นแผล , ถุงมือป้องกันไฟฟ้าป้องกันไฟดูดไฟช็อตซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
เป็นอุปกรณ์สำคัญต่อความปลอดภัยของคนงานในคลังสินค้าซึ่งเสี่ยงอันตรายจากเครื่องมือช่างและเครื่องจักร ผู้สวมควรเลือกรองเท้าเซฟตี้ที่เหมาะกับลักษณะของงาน เช่น รองเท้าเซฟตี้แบบหัวเหล็กป้องกันหรือบรรเทาการบาดเจ็บจากของหนักตกกระแทก เหยียบตะปูและสิ่งของมีคม รวมถึงล้อรถยกทับเท้า , รองเท้าป้องกันสารเคมี , รองเท้าป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า ส่วนภายในพื้นที่ทำงานที่หน้างานมีความอันตราย ควรมีป้ายเตือนและ กรวยจราจร เพื่อเตือนให้ทราบว่าเป็นพื้นที่อันตราย ต้องทำงานระมัดระวังมากขึ้น
เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ดักกรองฝุ่นละออง ควัน และป้องกันสารระเหยจากสารเคมีที่เป็นพิษเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หน้ากากเซฟตี้มีประโยชน์ใช้งานหลายประเภท สามารถกรองอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควัน ก๊าซและไอระเหยจากสารเคมีมีพิษ ส่วนหน้ากากและสายรัดศีรษะปรับได้เพื่อให้กระชับกับใบหน้าและโค้งงอไปตามแนวสันจมูกของผู้สวมใส่
หรือที่ครอบหูลดเสียง เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่ช่วยลดความดังของเสียงที่ผ่านเข้าไปในหูซึ่งมีระดับเสียงที่ดังเกินค่ามาตรฐานและเป็นอันตรายต่อแก้วหู ระดับเสียงที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์คือ เสียงดังเกิน 85 เดซิเบล อุปกรณ์เครื่องมือช่างหลายชนิด รวมถึงสว่านไฟฟ้ามีระดับเสียงดังเกิน 130 เดซิเบล ผู้ใช้งานจึงควรสวมเครื่องป้องกันหูเพราะเสียงที่ดังเกินไปเป็นอันตราย ที่อุดหูมีทั้งแบบสวมใส่ได้ทันที หรือเป็นแบบติดหมวกนิรภัย ที่อุดหูลดระดับเสียงได้อย่างน้อย 15 เดซิเบล ส่วนที่ครอบหูลดระดับเสียงได้อย่างน้อย 25 เดซิเบล
เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่มีความจำเป็นสำหรับงานยกของหนักในคลังสินค้า ช่วยลดความเจ็บปวดบริเวณหลัง ลดความเสี่ยงของการเกิดอาการบาดเจ็บที่บริเวณหลังเนื่องจากท่าทางยกของไม่ถูกต้อง เมื่อต้องทำงานยกสิ่งของติดต่อกันนานๆ อาจเจ็บปวดเรื้อรังและเกิดอันตรายที่รุนแรงได้
เป็นแว่นครอบตาหรือหน้ากากสำหรับใช้ป้องกันเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา ฝุ่นละออง ความร้อน แสง แว่นสำหรับงานเชื่อม ตัด บัดกรี เป็นต้น
สำหรับป้องกันดวงตาให้ปลอดภัยจากสารเคมีและเชื้อโรค ช่วยป้องกันเศษวัสดุและสะเก็ดของแข็งกระเด็นเข้าตา ป้องกันการกระแทกหากเกิดเหตุไม่คาดคิด ช่วยกรองแสง ความร้อน สารระเหยจากเคมี และรังสี ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อดวงตา ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บหรือพิการทางสายตา อุปกรณ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในสถานที่ทำงานให้ดียิ่งขึ้น
เป็นอุปกรณ์ทำความสะอาดดวงตาเพื่อล้างฝุ่นละออง หรือสารเคมีที่ทำให้ระคายเคืองดวงตา ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บและประหยัดเวลาในการรักษาดวงตา ลดความเสี่ยงที่จะเป็นผู้พิการทางสายตา และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในคลังสินค้ายิ่งขึ้น
3.อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ หมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานช่วยป้องกันศีรษะจากอุบัติเหตุอันตรายจากสิ่งของตกหล่นใส่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการทำงานในคลังสินค้า โรงงาน และงานก่อสร้าง
–หมวกนิรภัย พร้อมสายรัดศีรษะและสายรัดคาง เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่มีคุณภาพ ปรับความกระชับได้ สวมใส่สบายและมีความแข็งแรงใช้งานได้นานมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ลดความเสี่ยงอันตรายและลดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงานได้ดี
อุปกรณ์เซฟตี้ในคลังสินค้ามีอะไรบ้าง
อุปกรณ์เซฟตี้แต่ละชนิดที่จำเป็นต้องมีเพื่อป้องกันร่างกายและป้องกันความผิดพลาดของการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรในการทำงาน สามารถลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในคลังสินค้าด้วย
–ป้ายเตือนในคลังสินค้า ในโกดังที่มีสินค้าเก็บไว้เป็นจำนวนมากคนทำงานภายในโกดัง ต้องทำงานด้วยความระมัดระวังมาก แม้จะมีชั้นวางจัดสินค้าเรียงซ้อนกันระเบียบ แต่อาจเสี่ยงอันตรายกับบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน ควรติด ป้ายห้ามเข้า เตือนบุคคลภายนอกไม่ให้เข้าไปในบริเวณนั้นเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากเครื่องมือ เครื่องจักร หล่นใส่หรือพังถล่มลงมา หรือถูกรถยกเฉี่ยวชน นอกจากชุดเซฟตี้แล้วควรติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยจำพวกป้ายบังคับ และป้ายเตือนต่างๆ เพื่อให้เกิดมาตรฐานความปลอดภัยในโกดังสินค้า
–อุปกรณ์ป้องกันไฟไหม้ เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ใช้ในคลังสินค้าตามมาตรฐานของโรงงาน โดยอุปกรณ์สำคัญคือระบบควบคุมเหตุเพลิงไหม้ป้องกันสินค้าของธุรกิจเสียหาย รวมถึงปกป้องชีวิตของคนทำงานที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ได้แก่ ถังดับเพลิง ระบบหัวกระจายน้ำ ดับเพลิงแบบเปิดอัตโนมัติซึ่งความแรงและปริมาณของน้ำสามารถดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพลดการเสียชีวิตในกรณีที่หนีเพลิงไฟไม่ทัน มีระบบตรวจจับควันไฟและสัญญาณแจ้งเตือนอันตราย การติดตั้งอุปกรณ์นี้นอกจากจะช่วยชีวิตคนได้แล้วยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้ออุปกรณ์ดับไฟที่มีราคาแพงจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังจำเป็นจะต้องเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงไว้เผื่อไว้เช่นกัน
–ยางกันกระแทก ยางติดผนังกันกระแทกและลดแรงปะทะจากรถชน ยางติดขอบชั้นวางสินค้าเพื่อกันกระแทก หรือป้องกันศีรษะกระแทกบาดเจ็บ ยางกันกระแทกเป็นอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนทำงานและป้องกันความเสียหายของทรัพย์สินในโกดังด้วย
–ตาข่ายพลาสติก เป็นอุปกรณ์ที่มีความเหนียวแข็งแรง เหมาะใช้กับการกั้นพื้นที่ห้ามเข้า หรือแบ่งเขตจัดเก็บสินค้าที่มีอันตรายในโกดัง เช่น สารเคมี วัตถุไวไฟ หรือบริเวณเครื่องจักรกำลังทำงานซึ่งมีอันตรายสูง
–อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ภายในโกดังสินค้าควรมีกระเป๋าปฐมพยาบาล น้ำยาล้างตา เจลแอลกอฮอล์ เสื้อชูชีพ พร้อมนกหวีด โทรโข่ง หน้ากากออกซิเจนพร้อมถังออกซิเจน เพิ่มความปลอดภัยให้มีมากขึ้น
ข้อปฏิบัติในการใช้อุปกรณ์เซฟตี้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.ตรวจอุปกรณ์เซฟตี้ทุกอย่างให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนใช้งาน อุปกรณ์ทุกอย่างต้องสวมกระชับพอดีเหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.การฝึกอบรมก่อนทำงาน ผู้สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยต้องฝึกใช้งานอุปกรณ์มาเป็นอย่างดี มีความเข้าใจป้ายเตือนและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด มีความรู้เรื่องป้ายเตือนประเภทต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่
–ป้ายห้าม ห้ามทำพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย เช่น ห้ามเข้า ห้ามสูบบุหรี่, ห้ามจุดไฟ, ห้ามสวมรองเท้าแตะ, ห้ามสูบบุหรี่
–ป้ายบังคับ ต้องทำตามเพื่อความปลอดภัย เช่น สวมที่ครอบหู, สวมหมวกนิรภัย, สวมแว่นตานิรภัย
–ป้ายเตือน แจ้งเตือนพื้นที่อันตรายต้องเพิ่มความระมัดระวัง เช่น ป้ายระวังอันตราย, ระวังพื้นลื่น, ระวังวัตถุไวไฟ, ระวังรถยก
–ป้ายแสดงภาวะปลอดภัย บอกว่าพื้นที่บริเวณใดปลอดภัย เช่น ทางหนีไฟ, ทางออกฉุกเฉิน, จุดปฐมพยาบาล, โทรศัพท์ฉุกเฉิน, ป้ายปลอดภัยไว้ก่อน
–ป้ายอุปกรณ์เกี่ยวกับเพลิงไหม้ เช่น ถังดับเพลิง, สายฉีดน้ำดับเพลิง, สัญญาณเตือนไฟไหม้
3.การจัดอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเมื่อต้องเผชิญกับสภาวะฉุกเฉิน โดยเฉพาะกรณีเกิดเหตุไฟไหม้ สาธิตการใช้อุปกรณ์เซฟตี้และชุดปฐมพยาบาลเพื่อรักษาการบาดเจ็บในเบื้องต้น
4.อุปกรณ์เซฟตี้ต้องมีการบำรุงรักษาที่ดี เช่น ตรวจสอบวาล์วเครื่องจักรต่างๆ และเช็ค ถังดับเพลิง ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
5.เตรียมอุปกรณ์สำรองไว้ให้พร้อมเสมอ เช่น ถังดับเพลิง ทางหนีไฟ ทางออกฉุกเฉิน มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตในกรณีฉุกเฉินหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้น มีแผนการรับรองหนีไฟ เสียงสัญญาณเตือนไซเรนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถเตือนภัยได้ทันที
6.ขณะสวมอุปกรณ์เซฟตี้ หากรู้สึกว่ามีอันตราย หรือความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น สวมหน้ากากนิรภัยอยู่แต่ได้กลิ่นสารเคมี หรือได้ยินเสียงสัญญาณเตือนควันไฟ ควรรีบออกจากบริเวณนั้นทันที
ในคลังสินค้าเป็นพื้นที่ทำงานที่อาจเกิดปัญหาและมีเหตุร้ายแรงขึ้นแบบไม่คาดคิด ควรจัดหาอุปกรณ์เซฟตี้สวมใส่ให้ครบก่อนเริ่มงาน สาธิตการใช้งานอุปกรณ์และฝึกฝนมาเป็นอย่างดี เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ระหว่างการทำงาน พร้อมกับตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ว่าเตรียมพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะปลอดภัยในการทำงานเป็นประจำทุกวัน