การทำงานในคลังสินค้าห้องเย็นที่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในระดับติดลบ ฝ่ายจัดซื้อต้องดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดี ต้องตระหนักถึงความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทำงานในห้องเย็น ควรมีมาตรฐานป้องกันและจัดเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้ทั้ง ป้ายเตือน อันตราย ถังดับเพลิง ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดและป้องกันความปลอดภัยให้พนักงานที่ทำงานในคลังสินค้า
อันตรายจากการทำงานในห้องเย็น
1.คนถูกขังติดอยู่ในห้องเย็นโดยอุบัติเหตุ
อุณหภูมิของคลังสินค้าห้องเย็นแต่ละแห่งแตกต่างกันไปตามวัตถุดิบที่แช่เย็น สินค้าที่จัดเก็บบางรายการ เช่น ผักใช้อุณหภูมิประมาณ 12 องศาเซลเซียส ไอศกรีมควรเก็บในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิ -23 องศาเซลเซียส ส่วนยาและวัคซีนต้องมีอุณหภูมิเฉพาะในการเก็บรักษา บางชนิดอาจต้องเก็บในห้องที่เย็นจัด อุณหภูมิห้องเย็นระดับติดลบเป็นอันตรายต่อคนที่ถูกขังติดอยู่ในห้องแช่แข็งโดยที่ไม่ได้สวมชุดป้องกันความเย็นที่เหมาะสม หรือติดอยู่ในห้องเย็นนานจนร่างกายได้รับอันตรายจากความเย็น การทำงานในห้องเย็นจึงต้องรอบคอบและเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้ไว้ให้พร้อมเสมอ
2.บาดเจ็บผิวหนังเพราะถูกทำลายจากความเย็นจัด
อวัยวะที่สัมผัสกับความเย็นจัดทำให้เกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์เนื้อเยื่อ ส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดฝอยถูกทำลายและอุดตัน ความเย็นทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำ หนาวสั่นรุนแรง เจ็บปวดปลายนิ้วมือนิ้วเท้า สมองทำงานช้าลง หมดความรู้สึกและเสียชีวิต เนื่องจากห้องเย็นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอุณหภูมิ การทำธุรกิจห้องเย็นต้องใช้พนักงานที่มีทักษะความเข้าใจและได้รับการอบรมให้มีความรู้ด้านการจัดการสต็อกในอุณหภูมิที่เหมาะสม และรู้วิธีการทำงานในห้องเย็นโดยไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ
3.อุบัติเหตุจากสารทำความเย็นรั่ว
การรั่วไหลของสารทำความเย็นก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย แม้สารทำความเย็นบางอย่างไม่มีพิษแต่เป็นสารไวไฟ หากเกิดการรั่วไหลอาจทำให้ไฟไหม้หรือเกิดการระเบิดขึ้น ควรติดเซ็นเซอร์หรือเครื่องตรวจจับก๊าซรั่วไหล พร้อมระบบแจ้งเตือนให้จัดการได้อย่างทันท่วงที เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ในพื้นที่ที่ใช้สารทำความเย็นหรือก๊าซที่ติดไฟได้ นอกจากนี้ควรเตรียมอุปกรณ์ช่วยหายใจในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตรายจากสารพิษรั่วไหลด้วย
4.อันตรายจากน้ำแข็งและอุบัติเหตุ
คนที่ทำงานในคลังสินค้าห้องเย็นอาจได้รับอันตรายจากก้อนน้ำแข็งทำให้เกิดสภาวะความลื่น เสี่ยงหกล้มและเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ควรเก็บสะเก็ดน้ำแข็งและก้อนน้ำแข็งออกไปทุกวัน ควรกำจัดน้ำแข็งที่ก่อตัวบนยางของรถโฟล์คลิฟท์ที่ใช้ในห้องเย็นด้วย ป้องกันการลื่นและเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายต่อพนักงาน สินค้า และอุปกรณ์ต่างๆ ควรใช้ ตาข่ายพลาสติก ล้อมป้องกันพาเลทสินค้าในสต็อกไม่ให้ได้รับความเสียหาย
5.อันตรายจากอุปกรณ์เครื่องมือชำรุด
ทุกสิ่งที่เป็นอาหารเก็บไว้ในตู้เย็น ตลอดจนยาบางประเภทจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในห้องเย็นควบคุมอุณหภูมิตลอดเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้เน่าเสีย อุปกรณ์ที่ใช้งานในห้องเย็นควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน พร้อมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ไม่ชำรุดเป็นอันตราย เช่น ชั้นวางพาเลท สายพานชำรุด ยางรถโฟล์คลิฟต์เสื่อมสภาพ นอกจากนี้ยังต้องสอดส่องอันตรายที่เกิดจากพนักงานขาดความระมัดระวังและไม่มีวินัยซึ่งมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดอันตรายทำให้เครื่องมือชำรุดเสียหายและกลายเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ตามมา
มาตรการความปลอดภัยและอุปกรณ์เซฟตี้สำหรับงานในห้องเย็น
1.แต่งกายให้เหมาะสม
การแต่งกายที่เหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีอันตราย โดยเฉพาะในคลังสินค้าห้องเย็นที่มีการควบคุมอุณหภูมิความเย็นอย่างต่อเนื่อง ห้องเย็นส่วนใหญ่มีอุณหภูมิติดลบ บางแห่งติดลบกว่า 40 องศาเซลเซียส ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานห้องเย็นสวมถุงมือ เสื้อผ้าหลายชั้น เสื้อชูชีพ และชุดสำหรับป้องกันความเย็น รองเท้าที่หุ้มฉนวนและกันลื่น ตลอดจนเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับห้องที่มีอุณหภูมิต่ำ
2.มีห้องพักที่มีอุณหภูมิปกติ
การทำงานในคลังสินค้าที่เย็นจัดเป็นเวลานานอาจเจ็บป่วยหรือได้รับอันตรายจากการสัมผัสความเย็นต่ำกว่าศูนย์หรือระดับติดลบ แม้ว่าพนักงานแต่งกายอย่างเหมาะสมและสวมอุปกรณ์ป้องกันความเย็นครบชุดแล้ว ยังจำเป็นต้องหยุดทำงานเป็นระยะๆ ในห้องพักที่อบอุ่นพร้อมน้ำร้อนหรือเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น กาแฟ และชา เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นขึ้นในช่วงกลางวันและช่วงพักเบรกระหว่างทำงาน
3.ตรวจสุขภาพร่างกายเสมอ
คนทำงานในห้องเย็นต้องมีร่างกายแข็งแรง ควรตรวจร่างกายสม่ำเสมอ ทุกวันทำงานต้องสวมชุดป้องกันความเย็นเพื่อรักษาความอบอุ่นให้ร่างกาย หากรู้สึกง่วงนอนมาก ตัวสั่นอย่างรุนแรง ความคล่องแคล่วลดลง สูญเสียการทรงตัว หรือหายใจช้ากว่าปกติ ควรรีบออกจากห้องเย็นทันที เพราะอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่าอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่าปกติ หากร่างกายสูญเสียความร้อนรวดเร็วจนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ในทางการแพทย์เรียกว่าภาวะตัวเย็นเกินซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย หากไม่รีบรักษาหรือเพิ่มอุณหภูมิร่างกายในทันที อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจ หรือหัวใจล้มเหลวได้
4.ตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประจำ
สภาพแวดล้อมการทำงานในห้องเย็นมีความเสี่ยงอันตราย จำเป็นต้องตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประจำ สิ่งสำคัญคือการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งานในห้องเย็นให้อยู่ในสภาพดี ไม่ชำรุดเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
- ติด ป้ายห้ามเข้า หน้าประตูห้องเย็น ไม่ให้ผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปข้างใน
- ตรวจสอบก่อนล็อกประตูห้องเย็นทุกครั้งมีปุ่มฉุกเฉิน สัญญาณเตือนภัย และ ไฟกระพริบ สำหรับผู้ที่ติดในห้องเย็นขอความช่วยเหลือ ควรบำรุงรักษาอุปกรณ์และทดสอบระบบความปลอดภัยเป็นประจำ
- ล้อมตาข่ายชั้นวางพาเลทป้องกันเพื่อให้สต็อกสินค้าปลอดภัย
- ติด รั้วตาข่าย ใช้เป็นรั้วกั้นบริเวณที่มีสารเคมีอันตรายและเครื่องมือต่างๆ หรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ชำรุดต้องปรับปรุงซ่อมแซมเพื่อความปลอดภัย
- ผู้จัดซื้อควรเลือกอุปกรณ์เซฟตี้ที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนดูแลอุปกรณ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยเฉพาะถังดับเพลิงต้องเลือกนำมาใช้ให้ถูกประเภท
- มีแผนฉุกเฉินในกรณีเกิดอุบัติเหตุและอัคคีภัย พร้อมระบบแจ้งเตือนให้ทุกคนรับทราบ
- ติดป้ายทางออกฉุกเฉิน เพื่อให้เห็นทางออกเมื่อเกิดเหตุร้ายหรือไฟไหม้
5.ดูแลห้องเย็นให้สะอาดปลอดภัย
คลังสินค้าห้องเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างจากคลังสินค้าทั่วไป พนักงานและผู้ดูแลห้องเย็นต้องรักษาความสะอาดให้ดี คอยเก็บสะเก็ดน้ำแข็งและก้อนน้ำแข็งทุกวัน พร้อมทั้งตรวจเช็คระดับไอน้ำในอากาศและควบคุมความชื้นเพื่อไม่ให้ของเหลวเกิดการแข็งตัวสะสมเกาะตัวแข็งบนชั้นวาง เพดาน และพื้นซึ่งอาจทำให้เกิดการลื่นและเป็นอันตราย ก้อนน้ำแข็งทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ หรือบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของห้องเย็นเกิดความชำรุดเสียหาย นอกจากดูแลให้พื้นแห้งเสมอเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากน้ำแข็งแล้ว ยังต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดสะอาดและบำรุงรักษาให้ใช้งานได้ดี ไม่ปล่อยให้ชำรุดเสียหาย
6.จัดการพาเลทสินค้าและรถโฟล์คลิฟท์อย่างเหมาะสม
ฝ่ายจัดซื้อควรตรวจสอบชั้นวางพาเลทอย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าพบอุปกรณ์ชำรุดเสียหายควรจัดหามาเปลี่ยนใหม่ หรือซ่อมแซมให้ใช้การได้ดีทันที ควรทำเครื่องหมายให้รู้ว่าแต่ละชั้นวางสามารถรองรับน้ำหนักได้เท่าไร การออกแบบโครงสร้างชั้นวางพาเลทในห้องเย็นต้องตรวจสอบว่าเว้นระยะทางเดิน หรือทางวิ่งรถโฟล์คลิฟท์ที่กว้างเพียงพอ มี ป้ายจราจร บอกเส้นทางชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการชน อุบัติเหตุการชน หรือแจ้งพนักงานที่เดินไปเดินมาให้ระวังไม่ไปกีดขวางเส้นทางรถวิ่งที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและความเสียหายอื่นๆ นอกจากนี้ควรใช้วัสดุประเภทตาข่าย หรือรั้วกั้นเพื่อป้องกันชั้นวางสต็อกสินค้าที่เปราะบาง สารเคมี หรือวัสดุอันตรายไม่ให้เกิดแรงกระแทกสูงจนเกิดความเสียหาย
7.ตรวจสอบห้องเย็นให้มีแสงสว่างเพียงพอ
ในคลังสินค้าห้องเย็นควรติดหลอดไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อคนทำงานและสินค้า ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ แสงจากหลอดไฟไม่สว่างมาก หรือน้อยเกินไปจนทำให้ไม่สบายตา ปวดตา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้
ฝ่ายจัดซื้อมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการจัดคลังสินค้าเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดี ผลิตภัณฑ์สินค้าจัดเก็บปลอดภัยในสภาวะอุณหภูมิห้องที่เหมาะสม ผู้ที่เข้ามาในโกดังเก็บความเย็นต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม พร้อมกับเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้และสิ่งอำนวยความสะดวกช่วยให้พนักงานทำงานอย่างปลอดภัย
ในฐานะของฝ่ายจัดซื้อที่จำเป็น ต้องตรวจเช็คสภาพและดูแลบำรุงอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ หากต้องการอุปกรณ์เซฟตี้ที่เหมาะสมและมีคุณภาพตามมาตรฐาน เช่น ป้ายจราจร รั้วตาข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ มาใช้งานในคลังสินค้าห้องเย็น สามารถสั่งซื้อสินค้ามาตรฐานจาก ร้านไทยจราจร ได้ที่ https://trafficthai.com/
ที่มาข้อมูล:
- https://trafficthai.com/
- https://www.apexwarehousesystems.com/8-steps-to-keep-your-cold-storage-warehouse-employees-safe/
- https://www.cdsltd.ca/what-is-a-cold-storage-warehouse/
- https://www.ohswa.or.th/17642984/health-matters-for-jorpor-series-ep4