เรื่องสำคัญเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในพื้นที่ก่อสร้างที่หัวหน้าไซน์ต้องรูู้

          พื้นที่ก่อสร้างนั้นเป็นพื้นที่อันตรายที่ต้องมีการควบคุมเป็นพิเศษ มีผู้คนที่ได้รับอันตรายจากการทำงานก่อสร้างในแต่ละปีจำนวนไม่น้อย ทั้งในส่วนของผู้ปฏิบัติงานในเขตก่อสร้างเองและผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาในบริเวณนั้น ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมาจากความประมาทในการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เข้มงวด ไม่มีมาตรการดูแลความปลอดภัยที่รัดกุม

          และนี่คือเรื่องสำคัญเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในพื้นที่ก่อสร้างที่หัวหน้าไซน์ต้องรูู้ ที่ทาง ร้านไทยจราจร นำมาบอกกล่าว เพื่อการจัดการไซน์งานก่อสร้างให้มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ก่อสร้าง

         การปฏิบัติงานของผู้ที่เกี่ยวข้องในเขตก่อสร้างที่ขาดความใส่ใจและไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยทั้งหัวหน้าไซน์ก่อสร้างรวมไปถึงลูกจ้างที่ขาดการบริหารที่ดีจะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา เพราะในเขตก่อสร้างนั้นเต็มไปด้วยวัสดุอุปกรณ์และพื้นที่อันตรายเป็นจำนวนมาก และนี่คือสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ก่อสร้าง

1. ขาดผู้เชี่ยวชาญ

         งานก่อสร้างบางประเภทจำเป็นที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยเฉพาะงานก่อสร้างที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่และงานก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี เขตก่อสร้างบางแห่งขาดผู้เชี่ยวชาญหรือมีผู้เชี่ยวชาญดูแลไม่ทั่วถึง จนอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานที่ไม่ชำนาญได้

2. ละเลยมาตรการความปลอดภัย

             พื้นที่ก่อสร้างบางแห่งละเลยมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น ไม่มีอุปกรณ์เซฟตี้ที่สำคัญในการทำงาน หรืออุปกรณ์ไม่มีความเหมาะสมกับลักษณะการทำงาน ไม่กำหนดพื้นที่ควบคุมอันตราย จนก่อให้เกิดความประมาทในการทำงานและส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงาน

3. สถานที่ทำงานไม่มีความปลอดภัย

         พื้นที่ก่อสร้างไม่มีการควบคุมพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ไม่มีการแยกพื้นที่ก่อสร้างออกจากพื้นที่การจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร , โครงสร้างอาคาร นั่งร้านไม่ได้มาตรฐาน มีความชำรุด , ระบบไฟฟ้าไม่ได้รับการดูแลและมีไฟส่องสว่างไม่ทั่วถึง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ได้

4. การออกแบบการจราจรที่ไม่ปลอดภัย

            การจราจรในพื้นที่ก่อสร้างนั้นต้องออกแบบให้มีความปลอดภัยมากกว่าปกติ เช่น ต้องมีการควบคุมความเร็ว มีการติดตั้ง ป้ายจราจร เพื่อใช้ควบคุม กำหนดเส้นทางการเดินรถและทางเข้า-ออก การละเลยระบบการจราจรในเขตก่อสร้างก็ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องได้เช่นกัน

การออกแบบระบบความปลอดภัยในพื้นที่ก่อสร้าง

1. แบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนชัดเจน

ในเขตก่อสร้างนั้นควรจัดแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ดังนี้

  • พื้นที่ในการก่อสร้าง 

ในการก่อสร้างอาคารควรมีการล้อมรั้วเอาไว้ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันอันตรายและควบคุมผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ควรที่จะมีการสร้างรั้วเอาไว้ล้อมรอบ โดยอาจจะใช้รั้วสังกะสีก็ได้ หรือจะใช้ รั้วตาข่าย มาขึงเอาไว้โดยรอบ เพื่อที่จะบ่งบอกว่าบริเวณนี้เป็นเขตอันตราย สามารถควบคุมความปลอดภัยได้ง่าย

  • พื้นที่สำนักงาน

ไซน์ก่อสร้างหลายแห่งมีส่วนที่เป็นสำนักงานอยู่ภายในที่ใช้สำหรับการควบคุมงาน ติดต่อธุรกิจ หรือเป็นที่ทำงานสำหรับแผนกธุรการของบริษัท การแยกพื้นที่สำนักงานออกมาจากพื้นที่ก่อสร้างหลัก จะช่วยในการดูแลความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี เพราะในส่วนนี้ไม่มีการทำงานที่เป็นอันตราย

2. มีการจราจรที่ปลอดภัย

ในพื้นที่ก่อสร้างจะมีรถเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา  ถนนในเขตก่อสร้างนั้นจะมีลักษณะเป็นทางเดินรถชั่วคราว หากไม่มีการออกแบบการจราจรที่ดีจะส่งผลต่อความปลอดภัย โดยมีหลักในการออกแบบพื้นที่การจราจรได้ดังนี้

 

  • แยกทางเข้า-ออกให้ชัดเจน

ควรแยกระหว่างทางเข้าและทางออกให้เป็นคนละทางจึงจะมีความปลอดภัย แต่หากไม่สามารถแยกทางเข้า-ออกเป็นคนละทางได้ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ทางการจราจรมาช่วยได้ เช่น นำ กรวยจราจร มาแบ่งช่องทางให้เป็นสัดส่วน และนำอุปกรณ์กั้นทางเข้า-ออกจำพวก ไม้กระดกหรือแผงกั้นจราจรมาใช้ร่วมด้วย จะทำให้สามารถควบคุมการเข้า-ออกของยานพาหนะได้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อความคล่องตัวและลดปัญาการจราจรตรงบริเวณนี้ได้

  • ช่องทางเดินรถต้องปลอดภัย

ในทางเดินรถของพื้นที่ก่อสร้าง หากผู้ที่เกี่ยวข้องปล่อยให้ผู้ขับขี่ใช้รถใช้ถนนโดยไม่มีการควบคุมก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องมีการนำอุปกรณ์จราจรเข้ามาใช้งานตรงช่องทางเดินรถด้วยการติดตั้ง เครื่องหมายจราจร เอาไว้เป็นระยะเพื่อควบคุมการเดินรถ เช่น ป้ายให้เลี้ยวซ้าย ป้ายให้เลี้ยวขวา ในจุดที่เป็นทางแยกเพื่อให้ผู้ขับขี่ทราบว่าต้องขับรถไปยังทิศทางใด , ติดตั้งป้ายห้ามจอด เพื่อไม่ให้ผู้ขับขี่นำรถมาจอดกีดขวาง , ติดตั้งป้ายควบคุมความเร็วเพื่อจำกัดความเร็วของผู้ขับขี่ จะเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ได้เป็นอย่างดี โดยต้องย้ำเตือนให้ปฏิบัติตาม สัญลักษณ์จราจร อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย

3. มีการควบคุมการทำงาน

พื้นที่ก่อสร้างนั้นเต็มไปด้วยเครื่องมือ เครื่องจักรมากมายสำหรับการทำงานแต่ละประเภท จึงต้องมีการควบคุมการทำงานอย่างเคร่งครัด ดังนี้

ในการเข้าไปยังไซน์ก่อสร้างทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมเครื่องแต่งกายให้รัดกุม สวมอุปกรณ์ป้องกันภัย เช่น หมวกนิรภัยเพื่อป้องกันสิ่งของตกใส่ศีรษะ สวมแว่นตา สวมรองเท้าเซฟตี้ ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นในการทำงาน และถ้าหากต้องเข้าไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า ต้องสวมถุงมือเซฟตี้เพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อตด้วย

  • ใช้เครื่องมือ เครื่องจักรให้ถูกประเภทงาน

อุบัติเหตุจากงานก่อสร้างหลายครั้งเกิดจากการใช้งานเครื่องมือเครื่องจักรที่ไม่ถูกประเภทกับงาน เช่น นำลิฟท์ขนของมาใช้ขนส่งคนขึ้นลงอาคาร ใช้รอกในการขนอุปกรณ์ก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ ใช้เครื่องมืออย่างไม่ระมัดระวัง จึงต้องมีการควบคุมในการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวให้มีความเหมาะสม จะได้ไม่เกิดอันตรายจากการใช้งาน

4. ติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย

พื้นที่ก่อสร้างเป็นเขตที่มีความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ การติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ อุปกรณ์ที่ควรติดตั้งมีดังนี้

ถังดับเพลิง เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องมีติดตั้งเอาไว้ใช้งาน และต้องติดตั้งเอาไว้ตามจุดต่างๆอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ระงับเหตุเพลิงไหม้ได้ทัน ซึ่ง ถังดับเพลิง ที่ทาง ร้านไทยจราจร มีจำหน่ายและขอแนะนำให้ทุกพื้นที่การก่อสร้างต้องมีไว้

เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการดับเพลิงเบื้องต้นแล้ว การแจ้งเหตุให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณเพลิงไหม้รู้ตัวก็เป็นเรื่องที่สำคัญ การติดตั้งสัญญาณเตือนภัยเอาไว้จะช่วยแจ้งเหตุให้คนหลบหนีออกมาได้ทันก่อนที่จะเกิดความสูญเสียทั้งการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้

โดยสัญญาณเตือนภัยเหตุเพลิงไหม้นั้นมีทั้งระบบที่ต้องกดแจ้งเหตุด้วยบุคคลที่พบเหตุ และระบบอัตโนมัติที่สามารถส่งสัญญาณได้เองเมื่อเครื่องตรวจจับควันพบเหตุเพลิงไหม้

การใส่ใจในระบบความปลอดภัยของพื้นที่ก่อสร้างนั้นเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญ เพื่อที่จะเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ จากการทำงานได้

ที่มาข้อมูล

  • https://www.safesiri.com/safety-of-construction/
  • https://www.ohswa.or.th/17652351/safety-engineer-for-jor-por-series-ep5
  • https://www.nextplus.co.th/expert-tips/safety-first-2