เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประเภททางข้ามสำหรับพื้นที่ต่างๆ ที่เหมาะสม
ประเภททางข้าม “ทางม้าลาย” พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้ง
พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้ง
- ควรติดตั้งในพื้นที่ที่มีการข้ามถนนตลอดทั้งวัน
- ควรติดตั้งบนถนนขนาด 2 ช่องจราจร หรือมี
1 ช่องจราจรในแต่ละทิศทาง - ความเร็วจำกัดบนถนนต้องไม่เกิน 50 กม./ชม.
หรือความเร็วที่เปอร์เซนไทล์ที่ 85 ต้องไม่เกิน
60 กม./ชม
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรติดตั้งบนถนนสายหลักหรือ ถนนที่ใช้
ความเร็วสูง - ไม่ควรติดตั้งบนถนนที่มีจำนวนช่องจราจร
มากกว่า 1 ช่องจราจรในแต่ละทิศทาง เพราะทำให้
ผู้ขับขี่มองไม่เห็นคนข้ามถนนเนื่องจากยาน
พาหนะในช่องจราจรอื่นบดบัง - ไม่ควรติดตั้งบนถนนที่มีปริมาณคนข้ามถนน
จำนวนมาก เพราะอาจก่อให้เกิดความล่าช้าต่อ
กระแสจราจร - ไม่ควรติดตั้งในตำแหน่งที่มีปัญหาเรื่องระยะการ
มองเห็น (Crossing Sight Distance และ
Approaching Sight Distance) - ไม่ควรติดตั้งห่างจากทางข้ามถนนอื่นๆ ภายใน
ระยะ 100 ม. เพราะจะทำให้ผู้ขับขี่ไม่ทันสังเกตเห็น
ทางข้ามได้ชัดเจน
ประเภททางข้าม “ทางข้ามที่มีการลดขนาดความกว้างของถนน”
พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้ง
- ควรติดตั้งบนถนนที่มีขนาดกว้าง โดยเฉพาะช่วง
ถนนที่อาจทำให้ผู้ขับขี่มองเห็นคนข้ามถนนได้
ไม่ชัดเจน เนื่องจากถนนมีความกว้างมากเกินไป - ควรติดตั้งบนถนนที่มีการตัดกันของกระแส
จราจรระหว่างยานพาหนะและคนเดินเท้า และควร
ติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการให้ความสำคัญต่อเด็ก
ผู้สูงอายุหรือคนพิการที่ต้องการข้ามถนน โดย
ทำให้ระยะทางในการข้ามสั้นที่สุด - ควรติดตั้งบนช่วงถนนที่มีการจอดรถข้างทาง
หรือเพิ่มที่จอดรถข้างทางแต่ต้องไม่มีผลกระทบ
กับการจราจร
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรติดตั้งในตำแหน่งที่มีปัญหาเรื่องระยะการมองเห็น (Crossing Sight Distance และ Approaching Sight Distance)
- การติดตั้งในบริเวณทางแยกอาจมีผลกระทบ
ต่อการเลี้ยวของรถที่มีขนาดใหญ่
ประเภท “ทางข้ามที่มีเกาะพักกลางถนน”
พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้ง
- ควรติดตั้งบนถนนที่มีความกว้างมากกว่า 15 ม. หรือถนนที่มีขนาด 4 ช่องจราจรหรือมากกว่า
- ความเร็วที่เปอร์เซนไทล์ที่ 85 มากกว่า 60 กม./
ชม.
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรติดตั้งในตำแหน่งที่มีปัญหาเรื่องระยะการ
มองเห็น (Crossing Sight Distance และ
Approaching Sight Distance) - ไม่ควรติดตั้งบนถนนที่มีความเร็วจำกัดเกิน 70
กม./ชม. - ไม่ควรติดตั้งในบริเวณที่มีปริมาณรถบรรทุก
ขนาดใหญ่เลี้ยวเข้าออกทางแยกเป็นจำนวนมาก
เพราะรถขนาดใหญ่อาจปีนเกาะกลางขณะทำการ
เลี้ยวได้
ข้อดีและข้อเสียของการใช้ทางข้ามประเภทต่างๆ
ทางม้าลาย
ข้อดี
- ค่าใช้จ่ายต่ำในการก่อสร้างและบำรุงรักษา
- คนข้ามถนนอาจคาดหวังว่าผู้ขับขี่จะทำให้ผู้ขับขี่เสียเวลาหยุดรอเพื่อให้คนข้ามถนน ่จะต้องหยุดรถให้ตรงบริเวณทางข้าม คนข้ามถนนน้อยกว่าทางข้ามที่มีสัญญาณไฟ แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ขับขี่อาจไม่ ยกเว้นในกรณีที่มีคนข้ามถนนเป็นจำนวนมาก
ข้อเสีย
- คนข้ามถนนอาจคาดหวังว่าผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถให้ตรงบริเวณทางข้ามแต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ขับขี่อาจไม่หยุดรถเพื่อให้คนข้ามถนน
- คนเดินเท้า(โดยเฉพาะเด็ก) อาจกำหนด
ระยะทางที่ผู้ขับขี่ต้องทำการห้ามล้อและ
หยุดรถได้ยาก - อาจทำให้เกิดการชนท้ายเนื่องจากผู้ขับขี่
มองไม่เห็นคนข้าม และมีโอกาสที่จะหยุดรถ
กะทันหัน - ต้องมีการรณรงค์ในเรื่องของการใช้
ทางม้าลายเพิ่มมากขึ้น
ทางข้ามที่มีการลดความกว้างของถนน
ข้อดี
- เพิ่มความปลอดภัยโดยการลดระยะทางและเวลาในการข้ามถนน
- สนับสนุนให้คนเดินเท้าข้ามถนนบริเวณที่มีทางข้าม
- ช่วยในการปรับสภาพแวดล้อมของถนนให้รถใช้ความเร็วต่ำ
- ช่วยเพิ่มความสนใจของผู้ขับขี่ เนื่องจากสภาพถนนที่แคบลง
- ทำให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังเพื่อตรวจสอบดูว่าทางข้ามดังกล่าวมีการบดบังการมองเห็นคนข้ามถนนหรือไม่
ข้อเสีย
- อาจมีการใช้พื้นที่บริเวณทางข้ามสำหรับจอดรถตรงขอบถนน ทำให้บดบังการมองเห็นคนข้ามถนน
- อาจต้องมีการติดตั้งไฟฟ้าเพื่อเพิ่มแสงสว่างบริเวณทางข้าม
ทางข้ามที่มีเกาะพักกลางถนน
ข้อดี
- ทำให้การข้ามถนนง่ายขึ้น
- ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างมีราคาต่ำ
- รูปแบบของทางข้ามช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อคนข้ามถนน
- คนข้ามถนนสามารถใช้ทางข้ามได้ตลอดเวลา
- มีที่พักตรงกลางทางข้ามสำหรับให้คนข้ามหยุดพักหากถนนกว้างเกินไป
- ที่พักตรงกลางทางข้ามสามารถสร้างให้อยู่ระดับเดียวกับผิวถนน เพื่อง่ายต่อการข้ามและผู้ที่ใช้รถเย็น
ข้อเสีย
- อาจจำเป็นต้องสร้างบนถนนที่มีความกว้างไม่มากในบางสถานการณ์
- อาจสร้างความความเสียหายต่อยานพาหนะหากผู้ขับขี่ขับรถชนเกาะกลางทางข้ามอาจทำให้ยากต่อการเลี้ยวรถของผู้ขับขี่
- หากมีการติดตั้งทางข้ามประเภทนี้ โดยใช้สัญญาณไฟสำหรับคนข้ามถนน จะทำให้เพิ่มความลำช้าในการข้ามถนนได้
- จำเป็นต้องมีการติดตั้งไฟฟ้าเพื่อเพิ่มแสงสว่าง