อุบัติเหตุบนท้องถนนความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าผู้ที่สัญจรด้วยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสาธารณะ หรือแม้กระทั่งการเดินทางเท้า ควรมีความปลอดภัยระดับสูงเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
การสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน นอกจากการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดของผู้ใช้รถใช้ถนนแล้ว การสร้างระบบถนนหรือระบบไฟจราจร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อเตือนผู้ที่สัญจรก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรมีการติดตั้งไว้และพร้อมใช้งานอยู่เสมอไม่ติดขัด เนื่องจากส่วนใหญ่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ และความผิดพลาดของระบบถนนหรือระบบจราจรนั่นเอง ในบางพื้นที่การขาดอุปกรณ์ที่ช่วยเตือนภัยผู้ขับขี่ ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างไม่น่าเกิด ดังนั้น วันนี้ร้านไทยจราจรซึ่งมีความห่วงใยผู้เดินทางทุกคน จะขอมาบอกข้อสำคัญที่ควรรู้ในการสร้างระบบถนน และ วิธีลดอุบัติเหตุ เพื่อนำไปศึกษาและปรับใช้สำหรับป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
สิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุได้ คือ ความร่วมมือของผู้ขับขี่และหน่วยงานช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
- ผู้ขับขี่
มีความเข้าใจ สัญลักษณ์จราจร และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด กฎจราจรมีไว้เพื่อสร้างระเบียบวินัยบนท้องถนน ผู้ที่ใช้ถนนควรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามกฎจราจรได้ อย่างเช่น ป้ายเตือน ลดความเร็วเมื่อเข้าสู่ทางโค้ง ทางอันตราย หรือเตือนเมื่อเข้าสู่เขตโรงเรียน ป้ายเตือนสิ่งกีดขวาง ทางแยกอันตราย สัญลักษณ์ไฟจราจร เป็นต้น หากผู้ขับขี่ให้ความร่วมมือจะช่วยลดอุบัติเหตุ ป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่และผู้ร่วมใช้ถนนคนอื่น ๆ นอกจากนี้ ต้องเซฟความปลอดภัยของตนเอง เช่น คาดเข็มขัดนิรภัย หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานที่รับผิดชอบหารือและแก้ไขปัญหาการจราจร ข้อสำคัญในการสร้างระบบถนน ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้สัญจร
ป้ายจราจร เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในการขับขี่บนถนน ป้ายจราจร เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและเสริมสร้างความปลอดภัยในการเดินทางแก่ผู้ขับขี่ ป้ายสำคัญที่มักเห็นทั่วไปบนท้องถนน เช่น ป้ายบังคับ ป้ายเพื่อเตือนผู้ขับขี่ และป้ายแนะนำ
- ป้ายบังคับ มีไว้เพื่อเป็นกฎให้ใช้ร่วมกันทั้งผู้ขับขี่ รวมถึงผู้ที่เดินทางเท้าให้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ตนเองบนท้องถนน บังคับใช้เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ ลดการขัดแย้งของทางจราจร และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
- ป้ายเตือน มีไว้เพื่อเตือนผู้ขับขี่ถึงสิ่งกีดขวางข้างหน้า ให้เพิ่มความระมัดระวังในการขับ ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น
- ป้ายแนะนำ มีไว้เพื่อแนะนำเส้นทางของผู้ขับขี่ เช่น จุดหมายปลายทาง ทางเข้า-ออก เป็นต้น
ลักษณะของป้ายมีด้วยกันหลายประเภทและการใช้งาน จึงจำเป็นต้องกำหนดลักษณะจำเพาะของป้ายให้มีความแตกต่างกัน ขนาดและการติดตั้งต้องตรงกับที่กรมทางหลวงได้กำหนดไว้เพื่อการเกิดประโยชน์และความปลอดภัยสูงสุดบนท้องถนน
ข้อสำคัญควรรู้ในการติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจร
- มาตรฐานการออกแบบป้ายจราจรได้กำหนด สี ขนาด เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตัวอักษร ให้อ่านง่าย มองเห็นชัด ทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
- การติดตั้งป้าย ควรติดตั้งให้ผู้ขับขี่มีระยะเวลาในการปฏิบัติตามที่เพียงพอ และติดตั้งตามจุดที่เหมาะสม
- คำนึงถึงมาตรฐานการออกแบบการติดตั้งป้าย
- โดยทั่วไปทางหลวง 2 ช่องทาง การติดตั้งป้ายจะติดตั้งทางซ้ายของการจราจร ยกเว้นป้ายห้ามแซง ที่ติดตั้งทางขวาของการจราจร
- ทางหลวง 3 ช่องทาง จะต้องมีเกาะกลางแบ่งเขตเส้นทางการจราจร ควรพิจารณาติดตั้งป้ายเพิ่มในเกาะกลางแบ่งเส้นทางจราจร เนื่องจากผู้ใช้ถนนที่อยู่บนช่องจราจรด้านขวาไม่สามารถมองเห็นป้ายที่อยู่ทางด้านซ้ายได้
- ป้ายจราจรจะต้องติดตั้งอยู่ในแนวดิ่ง มีข้อยกเว้นในทางกรณีขึ้นเขา ลงเขา อนุญาตให้ติดตั้งป้ายทำมุมกับแนวดิ่งได้เล็กน้อยเพื่อผู้ขับรถมองเห็นป้ายได้ชัดเจน
- ข้อควรระวังในการติดตั้งป้าย ห้ามติดตั้งป้ายแนะนำร่วมกับป้ายประเภทอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ไม่ควรติดตั้งป้ายบังคับ หรือป้ายเตือนเกิน 1 ป้าย ยกเว้นป้ายเตือนความเร็วที่สามารถใช้ร่วมกับป้ายประเภทอื่นได้
- ป้ายหยุดให้ติดตั้งเดี่ยว ไม่ควรติดตั้งร่วมกับป้ายประเภทอื่น เพราะจะทำให้ผู้ขับขี่เกิดความสับสน
เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายที่ปรากฏอยู่บนป้ายจราจรประเภทต่าง ๆ มีทั้งแบบสัญลักษณ์และข้อความเช่น เครื่องหมายให้หยุด เครื่องหมายให้ทาง เครื่องหมายจำกัดความเร็ว เครื่องหมายห้ามแซง เครื่องหมายห้ามเลี้ยว เป็นต้น
ยกตัวอย่าง เครื่องหมายจราจร และตัวอย่างป้าย
- “หยุด” ข้อความ หยุด บนป้ายจราจร หมายถึง รถทุกประเภทไม่ว่าจะรถใหญ่ หรือ รถเล็ก ต้องหยุดจนกว่าทางจะปลอดภัยจึงขับขี่ต่อได้
- “ให้ทาง” ข้อความ ให้ทาง บนป้ายจราจร หมายถึง รถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถรวมถึงคนเดินทางเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อปลอดภัยจึงเคลื่อนต่อได้
- “ห้ามแซง” ห้ามขับแซงหน้าคนอื่นในทางที่ติดป้าย
- “ห้ามเลี้ยว” สัญลักษณ์ลูกศรห้ามเลี้ยวซ้ายในทางที่ติดป้าย สัญลักษณ์ลูกศรห้ามเลี้ยวขวาในทางที่ติดป้าย
- “จำกัดความเร็ว” ห้ามมิให้ผู้ใช้รถขับเกินความเร็วที่กำหนดบนแผ่นป้าย หน่วยเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง จนกว่าจะพ้นพื้นที่บริเวณนั้น
ไฟกระพริบ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ทันที เหตุการณ์อันตรายส่วนใหญ่บนท้องถนนมักเกิดตรงทางแยกที่ไม่มีไฟสัญญาณเตือน ทางเข้า-ออก ทางเดินรถไฟ เส้นทางเหล่านี้ล้วนจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ไฟที่กระพริบได้ เพราะสังเกตเห็นได้ชัดจึงช่วยป้องกันอุบัติเหตุ โดยการใช้งานสามารถใช้แบบไฟกระพริบโซลาร์เซลล์แบบ 2 ดวงโคมอยู่ในเสาเดียวกันเพื่อการประหยัดงบประมาณ และใช้ประโยชน์ได้สูงสุด แทนการติดตั้งแบบโคมสีเดี่ยวแบบเดิมที่เป็นสีแดง 1 โคม หรือเหลือง 1 โคม
พื้นที่ที่ควรติดตั้ง เสา ไฟกระพริบ
- สี่แยก กลางสี่แยกควรติดไฟที่กระพริบได้ ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ชนิดหมุน 360 องศา สามารถส่งไฟเตือนได้เป็นวงกว้างและทุกทิศทาง อีกทั้งยังปรับไฟเป็นสองดวงให้ส่องตรงไปข้างหน้าและอีกดวงส่องไปทางด้านหลังได้เช่นกัน
- ทางรถไฟ ทางรถไฟควรติดตั้งทั้งไฟสีแดงและไฟสีเหลือง โดยไฟสีแดงไม่กระพริบจะแสดงเมื่อรถไฟกำลังมา รถต้องหยุดรอจนรถไฟหมดขบวน ไฟสีเหลืองกระพริบ รถสามารถสัญจรได้ปกติ
- ทางม้าลาย ควรติดตั้งไฟกระพริบสีเหลืองก่อนถึงทางม้าลายเพื่อเตือนคนขับให้ระมัดระวัง เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ที่ข้ามถนน
- ทางเข้า-ออกซอย ควรติดตั้งไฟกระพริบทางเข้าออกซอย เพื่อเพิ่มความระมัดระวังทั้งผู้ที่ขับผ่านซอย และผู้ที่จะออกจากซอยให้หยุดชะลอดูรถ
- เกาะกลางถนน ในวันที่สภาพอากาศฝนตกหนัก มืดครึ้ม หรือหมอกหนาทำให้ผู้ขับขี่มีทัศนวิสัยไม่ดีนัก อาจมองไม่เห็นเกาะกลางถนน ดังนั้นการติดตั้งไฟกระพริบบนเกาะกลางถนนทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบว่ามีเกาะกลางถนน ป้องกันการเฉี่ยวชน
- จุดที่เกิดอุบัติเหตุ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน ควรติดตั้งเสาไฟกระพริบแบบเคลื่อนที่ได้ก่อนจุดเกิดเหตุ ทำให้ผู้ขับขี่ขับด้วยความระมัดระวัง
ยางกันกระแทก มีหลายประเภทหลากหลายการใช้งาน ประเภทที่ใช้บนท้องถนนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจะมีชื่อเรียกทั่วไปว่า ยางลูกระนาด ใช้เป็นยางชะลอความเร็วรถ ควรใช้เป็นยางที่มีการเคลือบสารสะท้อนแสง เพราะเวลากลางคืนผู้ขับขี่จะได้มองเห็นชัดเจน โดยจุดที่ควรติดตั้ง ยางกันกระแทก ได้แก่ บริเวณทางข้ามในจุดที่มีคนเดินผ่านไปมา, บริเวณก่อนถึงทางโค้ง จุดโค้งอันตราย และจุดที่มีความผิดปกติของทาง เพื่อให้ผู้ขับขี่รถยนต์ชะลอความเร็วลงและขับอย่างระมัดระวัง
อุปกรณ์สำหรับติดตั้งบนถนนช่วยลดอุบัติเหตุ ของร้านไทยจราจร
ท่านสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ติดตั้ง ไว้เพิ่มความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็น ป้ายจราจร ไฟกระพริบ ยางกันกระแทก หรืออุปกรณ์อื่น ๆ อีกได้จาก ร้านไทยจราจร ที่มีอุปกรณ์จราจรมากกว่า 2,000 รายการ บริการรับดูหน้างานจาก จป.มืออาชีพ ผู้เชี่ยวชาญงานจราจรที่มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น เพื่อมีความหลากหลายในการตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานทุกท่าน
เนื่องจากอุปกรณ์จราจรช่วยเพิ่มความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ใช้ถนนได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นฅ์ หากท่านต้องการความช่วยเหลือและขอคำปรึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์เหล่านี้ ท่านสามารถเข้ามาพูดคุยกับพวกเราได้ที่ ร้านไทยจราจร พวกเราพร้อมที่จะให้คำปรึกษาและให้ความประทับใจแก่ลูกค้าทุกท่าน
ที่มาข้อมูล :
- https://trafficthai.com/content_blog-195.html
- https://researchcafe.org/road-accident-reduction/
- https://mgronline.com/qol/detail/9490000084684
- https://www.tqm.co.th/blog/กฎจราจรข้อสำคัญ/
- http://bhs.doh.go.th/files/standard_group/
- https://sites.google.com/site/bupphaseekuem555/chely-baeb-thdsxb/kd-cracr/kheruxnghmay-cracr-thang-bk-laea-khwam-hmay
- https://trafficthai.com/content_blog-134.html
- https://trafficthai.com/shop/that-should-be-equipped-with-tires-to-slow-down-in-your-area/