10 วิธีการใช้อุปกรณ์จราจรในตัวอาคารที่จอดรถในวันที่มีรถเข้ามามาก

 

      สำหรับบรรดาโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ต่าง ๆ ย่อมพบเจอบ่อยครั้งที่บางวันคนจะเข้ามาใช้พื้นที่ภายในอาคารจอดรถเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น ภายในโรงแรมมีการจัดงานสำคัญ, ห้างสรรพสินค้าในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือช่วงที่มีโปรโมชั่นน่าสนใจ เป็นต้น การจัดการจราจรภายในอาคารจอดรถจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเอาใจใส่ไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาในหลายอย่างได้ง่าย การใช้อุปกรณ์จราจรเองก็เป็นอีกตัวช่วยที่จะทำให้การจอดรถในวันยุ่ง ๆ กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น ร้านไทยจราจร จึงขอแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์จราจรตัวอาคารในวันยุ่ง ๆ ให้กลายเป็นวันง่าย ๆ 

1.ยก ไม้กระดกอัตโนมัติ ค้างเอาไว้เลย 

      วิธีแรกที่ง่ายสุด ๆ สำหรับการจัดการภายในตัวอาคารคือไม้กระดกอัตโนมัติที่ปกติเราต้องปิดเพื่อให้รถทีละคันรับบัตรจากนั้นค่อยเข้าไปหรือเวลาออกก็ยื่นบัตรคืน จ่ายเงินแล้วค่อยออก แต่กรณีเวลารถวันนั้นเยอะมากจริง ๆ เราสามารถระบายรถตรงทางเข้า – ออกนี้ง่าย ๆ ด้วยการยกไม้ขึ้นไปเลยจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาติดไม้กั้น ยังไงรถที่ติดอยู่ก็ทำให้คนต้องจอดรับ – คืนบัตรกันอยู่แล้ว

2.เอา แผงกั้นจราจร ในพื้นที่ห้ามจอดออกไปเลย 

      ด้วยพื้นที่ห้ามจอดบางจุดมีไว้สำหรับแขกคนสำคัญหรือบรรดา VIP ทั้งหลายแต่อย่าลืมว่าในวันที่รถเยอะมาก ๆ บางทีการให้คนอื่นได้เข้าไปจอดแทนที่ก็ถือเป็นน้ำใจและเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างมาก การเอาแผงกั้นจราจรที่ขวางทางเหล่านั้นเอาไว้ออกจะช่วยให้ปริมาณที่จอดรถเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนและการจัดการภายในอาคารจอดรถจะง่ายขึ้น

3.ไฟฉาย LED ใช้ให้เกิดประโยชน์

      สำหรับพนักงานที่ต้องดูแลภายในอาคารจอดรถการใช้ไฟฉาย LED เพื่อโบกให้รถขับไปทางนั้นทางนี้หรือโบกให้เข้าจอดตรงจุดนั้นจุดนี้ถือว่าเป็นวิธีบริการเพื่อให้ความวุ่นวายระหว่างการขับเพื่อมองหาช่องจอดรถหรือมองหาทางเข้าทางออกเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น คนขับแค่ขับตามแสงจากไฟฉายพวกเขาก็รู้แล้ว

4.กระบองไฟกระพริบ อีกอุปกรณ์ที่อย่าขาด 

     สำหรับคนไหนที่เกรงว่าใช้ไฟฉายแล้วจะแสบตาคนขับในพื้นที่มืด ๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นกระบองไฟกระพริบก็ได้ เพราะกระบองเหล่านี้จะเป็นสีแบบนวลตา เช่น สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน เป็นต้น เวลาโบกคนขับก็มองเห็นชัดเจน ไม่แสบตาเกินไปนัก ขณะที่คนโบกก็สบายใจไม่ต้องกังวลว่าแสงไฟจะไปส่องตาคนขับจนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ใช้อุปกรณ์ตัวนี้ก็ดีไปอีกแบบเหมือนกัน

5.นำที่บังคับเดินรถทางเดียวออกมาเก็บเอาไว้ก่อน 

     แม้เข้าใจว่าในอาคารจอดรถจะมีระเบียบจัดการเพื่อไม่ให้รถเกิดการสวนเลนจนกลายเป็นอุบัติเหตุแต่ก็อย่าลืมว่าในช่วงเวลาเร่งรีบแบบนี้รถบางคันไม่รู้แล้วดันขับเข้าไปตรงจุดติดตั้งที่บังคับเดินรถทางเดียวเอาไว้ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย ๆ แถมพอรถยางรั่วก็กลายเป็นการจราจรภายในอาคารจอดรถติดขัดไปอีก ทางที่ดีเอาออกไปก่อนจะปลอดภัยสุด

6.ใช้ ธงโบกรถเขียวแดง ให้เป็นประโยชน์

   พื้นฐานการขับรถโดยทั่วไปของคนเราจะรู้อยู่แล้วว่าเมื่อเห็นสัญญาณสีเขียวหมายถึงไปได้ สัญญาณสีแดงให้หยุด ดังนั้นในอาคารจอดรถที่ไม่ได้มีสัญญาณไฟจราจรอยู่แล้วแต่ถ้ารถติดมาก ๆ แล้วต้องการช่วยระบายรถในช่องทางพิเศษต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ภายในอาคารก็เลือกใช้อุปกรณ์ตัวนี้มาอำนวยความสะดวกได้เหมือนกัน

7.วิทยุสื่อสาร บอกกันให้เข้าใจ

   เป็นอุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ดูแลลานจอดรถทุกคนต้องมีติดตัวเอาไว้อยู่แล้ว แต่การใช้งานในช่วงที่รถเยอะ ๆ คงต้องบอกผ่านกันให้เข้าใจหน่อยจะได้ช่วยระบายรถหรือบอกความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้บอกกันว่าชั้นนี้มีที่ว่างอยู่กี่คัน ให้รถขึ้นมาจอดได้กี่คันรถคันอื่นจะได้ไม่ต้องเสียเวลาขับมาวน

8.เตรียม อุปกรณ์เคลื่อนย้ายรถ เอาไว้ด้วย 

     กรณีที่คนเข้าไปใช้บริการมาก ๆ แล้วต้องจอดซ้อนคัน ผู้ขับขี่บางคนลืมตัวแล้วดันล็อกรถแบบไม่ยอมปลดเกียร์ว่าง แถมดึงเบรกมืออีก หากรถด้านในจะออกคงทำไมได้นอกจากรอคอย เจ้าหน้าที่สามารถนำอุปกรณ์เคลื่อนย้ายนี้มาแก้ไขให้รถเคลื่อนออกไปจากจุดดังกล่าวได้

9.ใช้ ยางปีนไต่ฟุตบาท สำหรับมอเตอร์ไซค์ 

    บางครั้งที่ต้องการความรวดเร็วของการเข้าจอดทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์จุดทางเข้าออกที่อาจเป็นทางเดินต้องขอความร่วมมือให้เป็นที่เข้าของมอเตอร์ไซค์ไปก่อนเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องมารอต่อจากรถยนต์ทั้งหลายจนเสียเวลาและทำให้ช้ากว่าเดิม

10.เก็บเอา กรวยจราจร และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นออกไป

วิธีสุดท้ายคือให้เก็บเอาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นออกไปจากลานจอดรถก่อนเพื่อให้การขับขี่ภายในอาคารเป็นไปด้วยความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะยิ่งมีอุปกรณ์อยู่เยอะจะทำให้เกิดความสับสนว่าขับไปได้หรือไม่ได้กันแน่

ทั้ง 10 วิธีสำหรับการใช้อุปกรณ์จราจรภายในอาคารจอดรถในวันที่รถเข้ามามาก ๆ ตามที่ ร้านไทยจราจร ได้แนะนำไปนี้มั่นใจได้เลยว่าจะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นเรื่องง่ายขึ้น แม้มีปัญหาบ้างแต่คงแก้ไขได้ไม่ยากอย่างแน่นอน

 

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found