แจกสถิติ วันไหน เวลาไหน ในประเทศไทยที่รถติดมาก ๆ จนคุณต้องหลีกเลี่ยง

        ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของรถติดเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนานมาก ๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากถนนหลายสาย หากไม่มีธุระหรือไม่มีอะไรจำเป็นจริง ๆ คงไม่มีใครอยากขับรถเข้าไปใกล้แน่ ๆ บวกกับเรื่องของระบบขนส่งสาธารณะของบ้านเราเองต้องยอมรับว่ายังไม่ได้ครอบคลุมทั่วพื้นที่เมืองหลวงทำให้คนจำนวนมากยังคงเลือกใช้รถยนต์ของตนเองในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ มากกว่า ร้านไทยจราจร จึงอยากมาแจกแจงสถิติช่วงวันเวลาใดในประเทศไทยที่รถติดแบบสุด ๆ ขนาดว่ามีการตั้ง กรวยจราจร เพื่อเพิ่มช่องทางพิเศษบนถนนหลายเส้นก็ยังเอาไม่อยู่

 

        ก่อนอื่นคงต้องขอพูดเรื่องเกี่ยวกับปัญหารถติดหลัก ๆ ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ กันก่อน ด้วยเหตุผลหลายปัจจัยที่ทำให้คนไทยจำนวนมากเลือกใช้งานรถยนต์ของตนเองมากกว่าการเดินทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบขนส่งที่กล่าวไปตั้งแต่ต้น, ค่าใช้จ่ายของรถสาธารณะที่แพงพอสมควรเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ, สภาพสังคมที่หลายคนยังมองว่าการมีรถยนต์เป็นเรื่องความหรูหรา, บรรดาบริษัทรถยนต์ต่างออกโปรโมชั่นล่อตาล่อใจ และอีกหลาย ๆ ประเด็นที่ทำให้จำนวนรถยนต์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกวัน 

      มีการระบุตัวเลขอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ พื้นที่จริง ๆ ของกรุงเทพฯ เรามีแค่ 1,568.7 ตร.กม. เมื่อเฉลี่ยออกมาเป็นพื้นที่ถนนให้รถยนต์สัญจรได้มีแค่ 10% ของพื้นที่ทั้งหมด ความยาวของถนนเมื่อนำทุกสายมารวมกันจะได้ราว 5,500 กม. เมื่อเทียบสัดส่วนตรงนี้เท่ากับว่าจะรองรับปริมาณรถเฉลี่ยได้แค่ 1.2 ล้านคันเท่านั้น ทว่าข้อมูลของกรมการขนส่งทางบกระบุผู้ที่ใช้รถยนต์ในกรุงเทพฯ มีเกือบ ๆ 10 ล้านคัน เรียกว่าเป็น 10 เท่าของพื้นที่ถนนจึงไม่น่าแปลกใจหากปริมาณรถบนถนนแทบทุกแห่งจะแออัดจนกลายเป็นการจราจรอันแสนติดขัดดังที่เราเห็นภาพกันจนเป็นเรื่องชินตา

       คราวนี้มาพูดกันถึงเรื่องของสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับวันและเวลาไหนที่รถติดมากที่สุดจนผู้ใช้รถหลายคนตัดสินใจหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นหรือเลือกเดินทางในเวลาอื่น เพราะต่อให้มีการเพิ่มช่องทางการจราจรด้วย กรวยจราจร ก็ไม่ได้มีทีท่าว่าจะดีขึ้นแต่ประการใด สถิติดังกล่าวนี้จัดทำขึ้นโดยบริษัท ทอมทอม แม้จะเป็นสถิติที่พวกเขาเก็บไว้ตั้งแต่ปี 2017 แต่นั่นก็แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่รถในเมืองหลวงติดมาก ๆ (เอาแค่เมืองหลวงก็เกินพอแล้วกับปัญหารถติด) จากสถิติบ่งชี้ว่าช่วงเวลาที่รถติดมากที่สุดคือช่วงเย็นวันศุกร์ตั้งแต่เวลา 6 โมง ไปจนถึงราว 1 ทุ่ม, อันดับต่อมาก็คือวันพุธ, วันพฤหัสบดี, วันอังคาร และวันจันทร์ ในช่วงเวลาเดียวกัน ขณะที่ช่วงเวลาเช้าที่จัดว่ารถติดได้สาหัสสุด ๆ คือวันจันทร์ตั้งแต่เวลา 7 โมง – 8 โมงเช้า ตามมาด้วยวันอังคาร, วันพฤหัสบดี, วันพุธ และวันศุกร์ ในช่วงเวลาเดียวกัน

      จากสถิติดังกล่าวมีการค้นพบว่าคนกรุงต้องใช้เวลาในการอยู่บนรถเพื่อเดินทางเฉลี่ยมากขึ้นกว่าเดิมถึง 64 นาที หรือราวชั่วโมงเศษหากเดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วนตามที่ระบุเอาไว้ข้างต้น หรือถ้าเทียบเป็นปีแล้วก็ตกประมาณ 244 ชั่วโมงกันเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่รถไม่ติด ยกตัวอย่างจากสถิติที่กล่าวมาเย็นวันศุกร์จะใช้เวลาในการเดินทางบนท้องถนเพิ่มขึ้นถึง 120% หรือเช้าวันจันทร์ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากขึ้น 98% จากตัวเลขดังกล่าวมันทำให้รู้สึกได้เลยว่าปัญหารถติดของเมืองไทยคือปัญหาใหญ่ที่ยังหาทางออกไม่ได้ว่าควรทำอย่างไรต่อไปดี

     นอกจากสถิติเรื่องของวันเวลาแล้วอยากบอกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับถนนที่มีปริมาณผู้ใช้รถเยอะที่สุด หรือเรียกว่ารถติดที่สุดก็ไม่ผิดนัก แม้มี สัญญาณไฟจราจร ก็ไม่อาจช่วยบรรเทาใด ๆ ได้ทั้งสิ้น เส้นแรกคือ ถนนลาดพร้าว ด้วยเวลานี้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงระหว่างลาดพร้าวไปจนถึงสำโรง คือลำพังแค่ไม่ได้ก่อสร้างรถไฟฟ้าถนนเส้นนี้ก็ติดกันสาหัสอยู่แล้ว ใครไม่มีธุระใด ๆ แนะนำอย่าพลาดเข้าไปเด็ดขาด

      ถนนอีกเส้นคือถนนรามคำแหงด้วยลำพังตัวถนนก็มีลักษณะเป็นคอขวดทำให้รถจากหลาย ๆ สายเมื่อมาวิ่งบนถนนแห่งนี้จะกระจุกรวมกันทำให้การจราจรติดขัด ยังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มเส้นทางศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยไปจนถึงมีนบุรี เส้นนี้จึงสาหัสแบบสุดหัวใจ ยิ่งช่วงไหนมีกิจกรรมแถวมหาวิทยาลัยรามคำแหงหรือสนามราชมังคลากีฬาสถาน บอกได้เลยว่าใครขับรถผ่านไปเส้นนี้มีสิทธิ์ติดเครื่องกันยาว ๆ หรือใครน้ำมันมีน้อยอาจหมดเอากลางทางได้เลย

      ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวเกี่ยวกับสถิติ วันเวลาในเรื่องของปัญหาการจราจรเมืองไทยที่รถติดเอามาก ๆ แม้หลายฝ่ายจะพยายามมองหาวิธีแก้ไข เช่น สร้างเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมมากขึ้น, มีการทำถนน ทำอุโมงค์ข้ามแยก หรือแม้แต่มี ป้ายจราจร บอกทางลัด บอกช่วงเวลาให้หลีกเลี่ยง แต่ในมุมมองของ ร้านไทยจราจร เชื่อว่าคนกรุงเทพฯ ยังคงต้องทนกับปัญหานี้ไปอีกนานอย่างน้อย ๆ ก็คงต้องรอให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสายเสร็จสมบูรณ์แล้วหันมาใช้การขนส่งสาธารณะมากขึ้น ความเครียดบนท้องถนนก็จะลดลงตามไปได้ ผู้คนมีความสุขกับการใช้ชีวิตมากขึ้น 

 

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found