จากสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนโลกในปี 2561 ได้มี รายงานว่าในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีจำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนลดลงจากอันดับ 2 ของโลกมาเป็นอันดับ 9 ของโลก แต่ถึงอย่างนั้นตลอดทั้งปีก็ยังมีจำนวนผู้เสียชีวิตบนท้องถนนเป็นจำนวนกว่า 22,491 รายต่อปี เฉลี่ยประมาณ 60 รายต่อวัน โดยสาเหตุสำคัญของการอุบัติเหตุนั้นมาจากการทำผิดกฎหมายจราจรจากผู้ขับขี่ยานพาหนะและคนเดินเท้าเอง สร้างความเสียหายทั้งต่อตัวเองและทรัพย์สิน ซึ่งในบางครั้งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
เหตุผลหลัก ๆ นั้นก็เพราะความเคยชินจนเข้าใจว่าสิ่งที่กระทำไม่มีความผิดทางกฎหมาย อีกทั้งการกระทำผิดกฎหมายจราจรบ้างข้อยังมีบทลงโทษที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดก็คือ การเพิ่มบทลงโทษทางกฎหมายให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทษปรับ โทษจำคุก หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่พาหนะ เพราะฉะนั้นวันนี้ ร้านไทยจราจร จึงมี 8 ข้อกฎหมายจราจรที่ควรมีการเพิ่มโทษทางกฎหมายให้มากขึ้น แต่จะมีข้อไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย
1.ใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนด
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีการเสียชีวิตบนท้องถนนมากที่สุดสาเหตุหนึ่งของประเทศ เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักมีความรุนแรงจนทำให้ผู้ประสบเหตุได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้รถยนต์ใช้ความเร็วบนถนนหลวงได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยกเว้นถนนทางหลวงหมายเลข 7 กรุงเทพ-พัทยา และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือถนนกาญจนาภิเษกสามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับอัตราโทษตามกฎหมายมีเพียงอัตราค่าปรับ 200-500 บาทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการติดตั้ง ยางชะลอความเร็ว ในหลายจุดซึ่งจะช่วยลดความเร็วของยานพาหนะลง
2.ฝ่าฝืนตามสัญญาณจราจร
ได้แก่ ป้ายจราจร ที่ติดตั้งไว้หรือปรากฏในทาง สัญญาณที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกชนิดและสัญลักษณ์บนพื้นถนนที่มักมีการฝ่าฝืนกฎหมายจราจรด้วยความเคยชิน ซึ่งหลายครั้งเป็นการกีดขวางเส้นทางการจราจรหรืออาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้หากเพื่อนร่วมทางไม่ทันสังเกตเห็นว่ายานพาหนะที่ขวางเส้นทางเดินรถอยู่ สำหรับอัตราโทษตามกฎหมายคือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาทเท่านั้น
3.ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง
ถือเป็นการกระทำผิดที่พบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถจักรยานยนต์ที่มักเร่งความเร็วทันทีเมื่อเห็นสัญญาณไฟเหลือง ซึ่งในความจริงแล้วเป็น สัญญาณเตือนให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วเพื่อเตรียมตัวหยุดรถ ทำให้หลายครั้งเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้น สำหรับอัตราค่าปรับของการฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดงคือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
4.ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร
นับว่าหนึ่งในการกระทำผิดกฎหมายจราจรที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์หลายคนกันจนเป็นเรื่องเคยชิน แต่ค่าปรับของการขับรถบนทางเท้ามีเพียงแค่ 400-1,000 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมามีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการมักง่ายของผู้ขับขี่แล้วหลายราย อย่างไรตามมีความพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการติดตั้ง เสาสแตนเลสกั้นรถจักรยานยนต์ เพื่อป้องกันไม่ให้รถจักรยานยนต์ขึ้นมาวิ่งบนทางเท้าอีกทางหนึ่งด้วย
5.ขับรถย้อนศร
อีกหนึ่งการทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่มักง่ายที่สร้างความเสียหายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กีดขวางการจราจร อุบัติเหตุเล็กน้อยไปถึงรถชนประสานงาที่ทำให้ผู้ประสบเหตุเสียชีวิต สำหรับการกระทำความผิดนี้มีอัตราค่าปรับอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท ซึ่งทำให้ผู้ขับขี่ไม่เกรงกลัวต่อการกระทำผิดกฎหมายข้อดีเท่าไหร่นักและยังคงมีการฝ่าฝืนกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในบางสถานที่ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยติดตั้ง ที่บังคับเดินรถทางเดียว เพื่อหยุดยานพาหนะที่วิ่งย้อนศรซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับพาหนะที่มาถูกช่องทาง
6.ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ
ซึ่งหลายคนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยมีกฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างขับรถโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ขาดสมาธิในการขับรถและละสายตาออกจากถนนและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ สำหรับบทลงโทษทางกฎหมายจะอยู่ที่ 400 บาทถึง 1,000 บาท
7.ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับขี่
อย่างที่ทราบกันดีว่าใบอนุญาตขับขี่คือ สิ่งที่ช่วยยืนยันว่าผู้ครอบครองมีความสามารถในการขับขี่พาหนะ สร้างความอุ่นใจกับเพื่อนร่วมทาง แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีผู้ขับขี่หลายรายที่ใช้งานพาหนะโดยที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ สำหรับค่าปรับจากการไม่มีใบอนุญาตขับขี่แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในทันทีนั้นจะอยู่ที่ไม่เกิน 1,000 บาท
8.เมาแล้วขับ
ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวันลอยกระทง เป็นต้น ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันมีการเพิ่มโทษจากเดิมคือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี และเสียค่าปรับ 5,000 ถึง 20,000 บาท เพิ่มเป็น จำคุกไม่เกิน 1ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนั้นยังอาจถูกใบศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตถาวร รวมถึงการยึดรถที่ใช้อีกไม่เกิน 7 วันอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังนับเป็นโทษที่น้อยอยู่มากหากเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น
หวังว่าผู้อ่านจะเห็นความสำคัญของ 8 ข้อกฎหมายที่ควรเพิ่มโทษที่ ร้านไทยจราจร นำมาฝาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกการกระทำนั้นมีอัตราค่าปรับน้อยมากจึงทำให้หลายคนละเลยและกระทำผิดด้วยความเคยชิน ดังนั้นหากมีการเพิ่มโทษให้เพิ่มมากขึ้นก็จะช่วยลดการกระทำความผิดและสร้างจิตสำนึกในเรื่องการเคารพกฎหมายให้กับผู้ขับขี่ทุกคนอีกด้วย
Block "content-bottom" not found
Block "catalog-trafficfence" not found