ถึงแม้ว่าพื้นที่ในชนบทจะเป็นสถานที่ที่การจราจรไม่หนาแน่นเท่าในเขตเมืองใหญ่ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ไม่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ในทางกลับกันแล้วยิ่งเขตชนบทที่มีปริมาณรถสัญจรไปมาน้อย มีถนนที่ใหญ่ ยิ่งจะเป็นจุดเสี่ยงด้วยเพราะว่ารถที่สัญจรในถนนแถวชานเมืองสามารถใช้ความเร็วได้สูง โอกาสการเกิดอุบัติเหตุก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย เพื่อเป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการจัดการกับแผนการเดินทางและการติดตั้ง สัญญาณไฟจราจร ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้การเดินทางในพื้นที่ชนบทมีความปลอดภัยสูงสุด
จำนวนสัญญาณไฟและระยะการติดตั้งในพื้นที่
พื้นที่ชนบทเป็นชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย และส่วนใหญ่แล้วรูปแบบการใช้ถนนหรือการสัญจรไปมาจะค่อนข้างมีความคล่องตัวมากกว่าพื้นที่ในเขตเมือง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการเกิดอุบัติเหตุในชนบทหนึ่งครั้งจึงมีโอกาสสร้างความเสียหายได้มากกว่าหลายเท่า ทำให้ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลการสัญจรในชุมชนจะต้องมีการควบคุมการใช้รถใช้ถนนของคนในพื้นนี้ที่ให้ดี
การติดตั้งสัญญาณไฟหลักและไฟรอง
ตามหลักความเหมาะสมของการติดตั้งสัญญาณจราจรจะมีการแบ่งประเภทของสัญญาณไฟออกเป็น 2 ประเภท โดยอย่างแรกคือสัญญาณไฟหลักที่ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการจราจรในเขตพื้นที่นั้น ๆ กับสัญญาณไฟรองที่เป็นสัญญาณสนับสนุนเน้นความสำคัญไปที่การแจ้งเตือนก่อนเข้าเขตควบคุมการจราจร ประเด็นสำคัญของการติดตั้งก็คือการติดตั้งสัญญาณไฟในแต่ละเขตของชุมชนควรติดตั้งอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือทั้งในตำแหน่งหลักที่แนวเส้นหยุด และสัญญาณไฟรองก่อนถึงสัญญาณหลักทางด้านซ้ายหรือขวาไกล
ระยะในการติดตั้งสัญญาณในเขตชนบท
ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่ในชนบทรูปแบบการก่อสร้างถนนจะเป็นถนนที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ที่พบเห็นได้บ่อยก็จะเป็นถนนไม่เกิน 2 ช่องจราจร ด้วยระยะห่างขนาดนี้ วิธีลดอุบัติเหตุ ด้วยการติดตั้งสัญญาณไฟจะคำนวณตามระยะความเหมาะสมในการติดตั้ง ตามข้อกำหนดแล้วที่ควรจะมีการติดตั้งอย่างน้อย 2 ตำแหน่งหรือ 2 ชุดไฟจราจร ที่กำหนดให้ไฟหลักจะอยู่ที่ทางฝั่งซ้ายใกล้ และเว้นระยะไกลออกมาให้ไฟจราจรรองอยู่ที่ฝั่งขวาไกล หรือเลือกใช้สัญญาณบนเสาสูงแทนได้ การแจ้งเตือนในรูปแบบนี้จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุลงไปได้มาก
เรื่องของข้อกำหนดและมาตรฐานของสัญญาณไฟ
เพื่อให้สัญญาณไฟสามารถมองเห็นได้ง่าย ชัดเจน จำเป็นต้องมีการวางแผนการเลือกใช้ทั้งขนาดของหัวสัญญาณไฟที่เหมาะสม และการติดตั้งโดยคำนึงถึงมาตรฐานระยะห่างระหว่างสัญญาณไฟกับถนนด้วย ซึ่งความสำคัญทั้งสองข้อนี้จะช่วยให้การสัญจรในเขตชนบทมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- ข้อกำหนดเรื่องขนาดของหัวสัญญาณ สัญญาณไฟจะมีขนาดของหัวสัญญาณตามข้อกำหนดมาตรฐานอยู่ 2 ขนาด คือ 200 และ 300 มิลลิเมตร สำหรับพื้นที่ในชนบทที่ถนนไม่กว้างมักจะนิยมใช้หัวสัญญาณไฟขนาด 200 มิลลิเมตร แต่ถ้าหากว่าต้องการจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับการสัญจรในพื้นที่ อาจพิจารณาปรับใช้ขนาดไฟที่ใหญ่ขึ้นเป็น 300 มิลลิเมตร โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่มีการติดตั้ง ป้ายจราจร ในระยะล่วงหน้า หรือการเลือกติดตั้งไฟจราจรบนเสาสูงที่มองเห็นได้ยากกว่า และประเด็นสำคัญอีกข้อก็คือ หากชุมชนมีผู้สูงอายุอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้การสัญจรมีความปลอดภัย ควรใช้หัวสัญญาณขนาดใหญ่ที่มองเห็นได้ง่ายกว่าแทน
- มาตรฐานเรื่องระยะห่างจากถนน นอกจากการติดตั้งสัญญาณไฟตามความเหมาะสมในเรื่องของระยะห่างระหว่างไฟจราจรหลักและไฟรองแล้ว ยังมีส่วนของระยะห่างระหว่างตัวสัญญาณไฟกับถนนหรือความสูงของการติดตั้งไฟจราจรที่ผู้ดูแลจะต้องพิจารณาด้วย โดยหลักการแล้วระยะของการติดตั้งไฟจราจรที่เหมาะสมโคมไฟควรห่างออกจากทางเท้าไม่น้อยกว่า 6 เมตร และมีระยะห่างจากพื้นผิวจราจรไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร และในกรณีที่เป็นทางแยกใหญ่อาจเลือกติดตั้งไฟจราจรบนเสาสูงที่มาตรฐานจะกำหนดให้ขอบล่างของโคมไฟสูงกว่าผิวถนน 5.5 เมตร เป็นอย่างต่ำ เพื่อให้รถบรรทุกหรือรถยกสูงผ่านลอดไปได้
การควบคุมการใช้ความเร็วเพื่อความปลอดภัย
ถนนในเขตชนบทส่วนมากมักเป็นถนนโล่ง ๆ มีรถสัญจรไม่มาก และยิ่งเป็นย่านชานเมืองที่เป็นทางผ่านตัวอำเภอหรือจังหวัด ก็ยิ่งเป็นโซนที่คนมักนิยมใช้ความเร็วในการเดินทางที่สูง นั่นคือหน้าที่ของผู้ดูแลที่ต้องควบคุมการใช้ความเร็วของผู้สัญจรให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยและลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตราย
การติดตั้งป้ายควบคุมความเร็ว
ตามมาตรฐานการใช้ความเร็วที่เป็นข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยในการสัญจรในพื้นที่ชุมชนที่ไม่ใช่ถนนใหญ่เส้นหลัก ความเร็วที่เหมาะสมจะอยู่ที่ไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และในพื้นที่ชุมชนที่มีคนสัญจรข้ามถนนบ่อย เช่น เขตโรงเรียน ร้านค้า และพื้นที่ในซอย ความเร็วที่เหมาะสมจะอยู่ที่ไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่ง วิธีลดอุบัติเหตุ ด้วยการควบคุมความเร็วของรถนั้น วิธีที่ได้ผลคือการติดตั้งสัญญาณไฟในแยกสำคัญที่เป็นจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ เพื่อบังคับรถให้ชะลอความเร็วลง
สัญญาณไฟแจ้งเตือนเพื่อเพิ่มความระมัดระวัง
ในเส้นทางที่อาจไม่สะดวกในการใช้วิธีควบคุมความเร็วในรูปแบบอื่น สามารถใช้ ไฟกระพริบ เพื่อเป็นสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ให้เกิดความระมัดระวังในการสัญจรได้ โดยเฉพาะจุดที่เป็นทางโค้งอันตราย หรือพื้นที่ก่อนถึงทางข้ามถนนที่มีคนใช้บ่อย ๆ ซึ่งสามารถใช้งานสัญญาณไฟนี้ร่วมกับการทาสีบนพื้นถนนด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ถนนชะลอความเร็วลงและมีความระมัดระวังในการขับรถผ่านเส้นทางนั้นมากขึ้น หรือการเลือกใช้สีกันลื่นช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรในเวลาที่ฝนตก สภาพถนนเปียก
สัญญาณเตือนให้ระวังและยางชะลอความเร็ว
เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ผู้ใช้ถนนระมัดระวังในการขับขี่ที่มากขึ้น และเป็นการป้องกันไม่ให้ใช้เผลอความเร็วมากเกินไป ผู้ดูแลจำเป็นต้องติดตั้ง ป้ายจราจร ไว้ตามจุดเสี่ยงต่าง ๆ ที่เป็นถนนยาวต่อเนื่องในพื้นที่ที่เพื่อแสดงให้เห็นถึงขีดจำกัดความเร็วที่กำหนดไว้ เช่น เส้นทางยาวหลายกิโลที่กำหนดความเร็วไว้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือในบางพื้นที่ที่ควบคุมความเร็วได้ยาก อาจเลือกใช้ยางชะลอความเร็วในการบังคับให้ลดความเร็วแทนได้ ซึ่งวิธีนี้เหมาะมากสำหรับพื้นที่ที่ต้องการให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วลงเมื่อผ่านเขตชุมชน
แยกเล็กที่ไม่ควรมองข้ามความปลอดภัย
ในพื้นที่ชนบทที่เป็นชุมชนที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น มักจะมีแยกเล็กแยกน้อยมากมาย ซึ่งถึงแม้ว่ารถจะไม่สามารถใช้ความเร็วสูงได้ แต่ก็ยังถือว่าเป็นหนึ่งจุดเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุเช่นกัน เพื่อควบคุมความปลอดภัยและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุเบาในชุมชน แนะนำว่าควรมีการติดตั้ง ไฟกระพริบ ในทุกทางแยก เพื่อให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังในการข้ามแยก และในส่วนของทางที่มีลักษณะเป็นสามแยก ควรติดตั้งกระจกโค้งเอาไว้เพื่อเพิ่มรัศมีในการมองเห็นของผู้สัญจรให้มากขึ้น
การสร้างความเข้าใจและวินัยจราจร
สิ่งสุดท้ายกับสิ่งที่เป็นเครื่องการันตีของการยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนนของชุมชนชนบทก็คือ การให้ความรู้แก่คนในพื้นที่ในเรื่องข้อกำหนด กฎ ระเบียบการจราจร การใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวบ้านได้ และสุดท้ายกับการสร้างวินัยจราจรให้คนตระหนักถึงมารยาทและการขับขี่ที่เน้นความปลอดภัยของทุกชีวิตเป็นสำคัญ ผ่านการใช้รถใช้ถนนที่มีวินัยและการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
การติดตั้ง สัญญาณไฟจราจร และการวางแผนการสัญจรเดินทางให้ผู้ใช้รถใช้ถนนในพื้นที่ชนบทเกิดความตระหนักในข้อควรปฏิบัติ ร่วมกับการบริหารจัดการจราจรในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีนัยสำคัญ
หากต้องการวางระบบจราจรที่ปลอดภัย ให้ร้านไทยจราจรเป็นผู้สนับสนุนการบริหารจัดการ ด้วยอุปกรณ์จราจรคุณภาพ การันตีงานบริการจากทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี กับสินค้าจราจรที่หลากหลายที่คุณสามารถเข้าไปเลือกซื้อแบบออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ ร้านไทยจราจร เว็บไซต์ trafficthai.com
ที่มาข้อมูล
– https://trafficthai.com/content_blog-195.html
– https://trafficthai.com/shop/traffic-light-installation-standards/