มาตรฐานการติดตั้งป้ายจราจรของกรมทางหลวงสำหรับควบคุมการจราจรให้มีประสิทธิภาพ

            การปฏิบัติตามกฎจราจรบนท้องถนนเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งการอำนวยความสะดวกในการบริหารการจราจรให้มีประสิทธิภาพด้วยการบังคับใช้กฎหมายการจราจรทางบกมาใช้ควบคุมพฤติกรรมผู้ขับขี่แล้ว การนำ เครื่องหมายจราจร เช่น ป้าย สัญลักษณ์ สัญญาณไฟ เข้ามาใช้งาน ก็ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้ โดยกรมทางหลวงนั้นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการดูแลการจราจรบนทางหลวงประเภทต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็วในการใช้ถนน

            รวมไปถึงเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางด้วย ดังนั้นจึงต้องมีระบบควบคุมการใช้งานทางหลวง ป้ายจราจร จึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ต้องติดตั้งเอาไว้ แต่ในการติดตั้งป้ายประเภทต่างๆนั้นก็จำเป็นต้องมีมาตรฐานที่ถูกต้อง เพื่อให้ใช้งานป้ายเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทาง ร้านไทยจราจร จะมาบอกกล่าวเล่าให้ฟังถึงมาตรฐานการติดตั้งป้ายเพื่อควบคุมการจราจรให้มีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของการติดตั้งป้ายการจราจร

การติดตั้งป้ายสำหรับใช้ในงานจราจรนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่ยานพาหนะให้มีความปลอดภัยและไปถึงจุดหมายได้อย่างรวดเร็ว โดยจะใช้ข้อความ หรือ สัญลักษณ์จราจร ที่ปรากฏอยู่บนป้ายเป็นวิธีบอกข้อมูล

ป้ายงานจราจรมีกี่ประเภท

      ก่อนที่เราจะได้ทราบถึงมาตรฐานการติดตั้งป้ายที่ใช้ในงานจราจรบนท้องถนน เรามาทำความรู้จักป้ายประเภทต่างๆกันก่อน เพื่อที่ในเวลาเดินทางจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของป้ายนั้นๆ

  1. ป้ายบังคับ

      เป็นป้ายที่มีวัตถุประสงค์ในการบังคับให้ผู้ใช้รถปฏิบัติตามสัญลักษณ์ที่ระบุอยู่บนป้าย ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งของการจราจร เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ บนท้องถนนได้ การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามป้ายบังคับนั้นจะมีความผิดทางกฎหมาย ต้องถูกดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ซึ่งป้ายบังคับนี้จะใช้ป้ายที่มีพื้นสีขาว ขอบสีแดง โดยแบ่งลักษณะการบังคับเป็น 3 แบบ ดังนี้

  • ห้ามกระทำ เช่น ห้ามเลี้ยว ห้ามจอด ห้ามตรงไป ห้ามแซง ห้ามกลับรถ เป็นต้น
  • ต้องกระทำ เช่น ให้เลี้ยวซ้าย ให้เลี้ยวขวา เป็นต้น
  • จำกัดการกระทำ เช่น จำกัดความเร็ว จำกัดช่องทางในการเดินรถ เป็นต้น
  1. ป้ายเตือน

     เป็นป้ายที่มีวัตถุประสงค์เตือนผู้ขับขี่ถึงสภาพการจราจรข้างหน้าหรือสิ่งที่จะเป็นอันตรายให้เตรียมตัว เพื่อที่ผู้ขับขี่จะได้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เช่น เตือนทางต่างระดับ เตือนเขตก่อสร้าง เตือนทางขึ้นสะพาน เตือนคนข้ามถนน เป็นต้น โดยป้ายประเภทนี้จะใช้พื้นสีเหลือง ขอบสีดำ

  1. ป้ายแนะนำ 

     เป็นป้ายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้ผู้ขับขี่ทราบข้อมูลสำคัญ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเดินทาง เช่น ป้ายบอกทาง ป้ายแหล่งท่องเที่ยว สถานที่สำคัญ เป็นต้น 

หลักการและมาตรฐานการติดตั้งป้ายงานจราจร

  1. ทิศทางการติดตั้ง

      การติดป้ายงานจราจรริมทางหลวงนั้น ต้องติดตั้งให้ป้ายหันหน้าเข้าหาทิศทางการเดินรถ โดยป้ายนั้นต้องตั้งฉากกับพื้นถนนแล้วหันหน้าเยื้องมาประมาณ 5 องศา เพื่อให้ผู้ขับขี่มองเห็นป้ายได้อย่างชัดเจนและเพื่อไม่ให้เกิดการสะท้อนแสงจนบดบังการมองเห็นของผู้ขับขี่ และนอกจากนี้ยังมีหลักปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้

  • ไม่ควรติดตั้งป้ายบังคับหรือป้ายเตือนบนเสาเดียวกันเกิน 1 ป้าย ยกเว้นจะเป็นป้ายที่มีความหมายไปในแนวทางเดียวกัน เช่น ป้ายห้ามแซงติดตั้งคู่กับป้ายจำกัดความเร็ว เป็นต้น
  • ห้ามติดตั้งป้ายแนะนำร่วมกับป้ายประเภทอื่น
  • สำหรับป้าย “หยุด” นั้น กำหนดให้ติดตั้งแบบเดี่ยวเท่านั้น
  1. ความสูงในการติดตั้ง

     สำหรับป้ายจราจรที่ติดตั้งอยู่นอกเมือง จะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 1.50 เมตรเพื่อให้พ้นจากการที่อาจจะมีต้นไม้ หญ้า หรือสิ่งกีดขวางอื่นใดบดบังป้ายได้ง่าย และถ้าติดป้ายมากกว่า 1 ป้ายในเสาต้นเดียวกัน ป้ายล่างสุดต้องไม่ต่ำกว่า 1.20 เมตร ส่วนป้ายที่ติดตั้งในเขตเมือง ที่อาจมีสิ่งกีดขวางในระดับสายตา เช่น ตู้ไปรษณีย์ ตู้ควบคุมไฟฟ้า หรือป้ายโฆษณา ที่จะบดบังการมองเห็น จะต้องติดตั้งป้ายให้มีความสูงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร แต่ถ้าหากติดตั้งป้ายบนเสา สัญญาณไฟจราจร ก็ให้ติดตั้งด้านล่างสัญญาณไฟได้

  1. ระยะห่างในการติดตั้ง

     การติดตั้งป้ายบนเขตทางหลวงชนบทนั้น ต้องติดตั้งให้ห่างจากขอบทางหรือราวกันขอบทางไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร แต่ห้ามห่างจากผิวจราจรเกิน 4.00 เมตร หรือตามความเหมาะสมของลักษณะขอบทางหลวงนั้น ส่วนในเขตเมืองนั้นให้ติดตั้งป้ายห่างจากขอบทางหรือราวกั้นขอบทางไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร

ป้ายงานจราจรบนท้องถนนที่พบเจอบ่อย

  1. ป้ายหยุด

      ป้ายหยุดนั้นเป็นป้ายประเภทบังคับ มักจะติดตั้งเอาไว้บนถนนสายรองที่เชื่อมต่อกับถนนสายหลัก โดยกำหนดไว้ว่ารถที่มาจากทางรองหรือที่เรียกว่าทางโทต้องหยุดให้รถที่ขับขี่มาจากทางหลักหรือทางเอกได้สิทธิ์ไปก่อนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ , ติดตั้งเอาไว้บริเวณทางแยกที่ควบคุมการจราจรด้วย ไฟกระพริบ ประเภทเตือน เพื่อให้ผู้ขับขี่ใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการข้ามทางแยกที่ไม่มีไฟจราจร แต่หากทางแยกใดที่มี สัญญาณไฟจราจร ติดตั้งเอาไว้แล้ว จะไม่มีการติดตั้งป้ายหยุดโดยเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยในการติดตั้งป้ายหยุดนั้นต้องติดตั้งห่างจากผิวจราจรไม่เกิน 10 เมตร และไม่เกิน 1.20 เมตร หากเป็นทางข้ามถนนสำหรับคนเดิน

  1. ป้ายให้ทาง

     ป้ายให้ทางนั้นมีวิธีการติดตั้งเช่นเดียวกับป้ายหยุด แต่มีความแตกต่างคือรถที่ขับมาไม่ต้องหยุดเมื่อถึงทางแยก เพียงแค่ชะลอเพื่อให้รถจากทางหลักได้ไปก่อน โดยปกติจะติดตั้งควบคู่กับป้ายที่เป็นข้อความ เช่น ให้รถทางขวาไปก่อน เป็นต้น

โดยเมื่อรถที่ขับมาจากทางรองเห็นป้ายนี้ จะต้องใช้ความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเข้าสู่ทางหลักโดยที่ไม่ต้องหยุดรถ เพื่อป้องกันการจราจรติดขัด

  1. ป้ายห้ามเข้า

     เรามักจะเห็นป้ายประเภทนี้ตรงบริเวณที่มีการเดินรถทางเดียว การติดตั้ง ป้ายห้ามเข้า เอาไว้ จะทำให้ผู้ขับขี่ทราบได้ว่าช่องทางดังกล่าวไม่สามารถเข้าไปได้ หรือจะติดตั้งป้ายเอาไว้เมื่อมีการซ่อมบำรุงทางแล้วต้องทำการปิดช่องทางเดินรถ ก็จะใช้ป้ายนี้เพื่อกำกับเป็นการชั่วคราว

  1. ป้ายเตือนทางแยก

     ใช้เตือนผู้ขับขี่ว่าทางข้างหน้ามีลักษณะเป็นทางแยก ตาม สัญลักษณ์จราจร ที่ปรากฏอยู่บนป้ายนั้น การติดตั้งป้ายเตือนทางแยกต้องติดตั้งให้ห่างก่อนถึงทางแยกไม่น้อยกว่า 200 เมตร แต่หากเป็นเส้นทางชนบทที่มีการใช้ความเร็วต่ำ ก็ลดระยะการติดตั้งลงได้ตามความเหมาะสม

  1. ป้ายเตือนสัญญาณไฟ

     เป็นป้ายประเภทเตือนที่ใช้เตือนผู้ขับขี่ว่าทางแยกข้างหน้าที่การควบคุมการจราจรด้วยสัญญาณไฟ เพราะเส้นทางบางแห่งนั้นอาจเป็นทางโค้งก่อนถึงทางแยกทำให้ผู้ขับขี่มองไม่เห็นสัญญาณไฟได้ชัดเจนในระยะ 200 เมตร การติดตั้งป้ายเตือนดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ขับขี่ได้ทราบล่วงหน้า

  1. ป้ายบอกจุดหมายและระยะทาง

      เป็นป้ายที่มีวัตถุประสงค์ในการบอกทิศทางของจุดหมายที่ผู้ขับขี่ต้องการไป เช่น จังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน เป็นต้น โดยจะเป็นป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีขาว ขอบสีดำ และมีลูกศรบอกทิศทางกำกับอยู่ภายในว่าต้องไปยังช่องจราจรใด โดยการติดตั้งนั้นต้องติดตั้งป้ายบอกจุดหมายที่มีปลายทางในการตรงไปก่อน จากนั้นค่อยตามด้วยจุดหมายที่อยู่ทางซ้ายและขวาตามลำดับ และบางป้ายจะมีตัวเลขระบุระยะทางเอาไว้ด้วย โดยมีหน่วยเป็นกิโลเมตร เพื่อให้ผู้ขับขี่ทราบได้ว่าสถานที่ที่ต้องการไปนั้นใกล้-ไกลมากน้อยแค่ไหน

             ทางร้านไทยจราจรนั้นเป็นผู้จำหน่ายป้ายสำหรับงานจราจรที่ครบครัน โดยมีขนาดมาตรฐานที่สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งในเขตทางหลวงหรือถนนส่วนบุคคลทั่วไป มีทั้งป้ายบังคับ ป้ายเตือน ป้ายแนะนำ โดยป้ายนั้นผลิตจากวัสดุสะท้อนแสงตามมาตรฐานกรมทางหลวง สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน เพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนได้เป็นอย่างดี

           การติดตั้งป้ายงานจราจรที่ได้มาตรฐานนั้น จะช่วยให้การควบคุมการจราจรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามป้ายเหล่านั้นและกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อใช้ทุกคนใช้ถนนร่วมกันอย่างปลอดภัยไร้อุบัติเหตุ

ที่มาข้อมูล 

  • https://trafficthai.com/content_blog-150.html
  • https://drr.go.th/wp-content/uploads.pdf
  • https://www.yotathai.com/yotanews/manual-2561-2