สัญลักษณ์ ป้ายจราจร ต่างๆ พร้อมความหมาย

ป้ายจราจรเป็นอุปกรณ์งานทางที่ติดตั้งบนทางหลวงเพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมสร้างความปลอดภัยในการเดินทางแก่ผู้ขับขี่ ประเภทป้ายที่ส าคัญในการใช้งานทั่วไป ได้แก่ ป้ายบังคับ ป้ายเตือน และป้ายแนะนำ โดยป้ายแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์การใช้งานแตกต่างกัน
• ป้ายบังคับ ใช้เพื่อบังคับให้ผู้ขับขี่ รวมถึงคนเดินเท้าทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองบนท้องถนนหรือทางเท้า ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งของการจราจร และหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
• ป้ายเตือน ใช้เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบล่วงหน้าถึงสิ่งที่อาจจะเป็นอันตรายหรือสิ่งที่จำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เป็นการเพิ่มความปลอดภัยบนทางหลวง
• ป้ายแนะนำ ใช้เพื่อแนะนำให้ผู้ขับขี่ทราบถึงข้อมูลที่สำคัญขณะใช้เส้นทาง เช่น จุดหมายปลายทาง ทางเข้า ทางออก และแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายบังคับ : มีไว้เพื่อควบคุม ให้ผู้ขับขี่ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ยกตัวอย่างเช่น ห้ามเลี้ยวซ้าย, ห้ามรถจักรยานยนต์, ห้ามจอดรถ เป็นต้น

เครื่องหมายจราจรประเภทป้ายเตือน : มีไว้เพื่อแจ้งเตือน  ให้กับผู้ขับขี่ได้ระมัดระวังและทราบล่วงหน้าว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ยกตัวอย่างเช่น สัญญาณไฟ, ทางโค้งขวา, ทางตัดกัน เป็นต้น

เครื่องหมายจราจรป้ายแนะนำ : มีไว้เพื่อแนะนำข้อมูลการเดินทางต่าง ๆ ให้กับผู้ขับขี่ ยกตัวอย่างเช่น เส้นทแยงห้ามจอดรถ, เส้นแบ่งทิศทางจราจรคู่, เส้นห้ามหยุดรถหรือจอดรถ เป็นต้น

ประเภทป้ายจราจร

ประเภทของป้ายจราจรแบ่งออกตามหน้าที่ได้ดังนี้
1) ป้ายบังคับ เป็นป้ายจราจรที่แสดงกฎจราจรเฉพาะที่นั้น ๆ เพื่อบังคับ ให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามความหมายของเครื่องหมายจราจรที่ปรากฎอยู่บนป้ายจราจรนั้น ซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมาย โดยผู้ใช้ทางต้องกระทำงดเว้นการกระทำ หรือจำกัดการกระทำในบางประการหรือบางลักษณะตามป้ายจราจรนั้น ๆ
2) ป้ายเตือน เป็นป้ายจราจรที่ใช้เตือนผู้ใช้ทางทราบล่วงหน้าถึงลักษณะสภาพทาง หรือทางข้างหน้ากำลังจะมีการบังคับควบคุมการจราจรบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุขึ้นได้เพื่อให้ผู้ใช้ทางเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่มากยิ่งขึ้น
3) ป้ายแนะนำ เป็นป้ายจราจรที่แนะนำให้ผู้ใช้ทางทราบข้อมูลอันเกี่ยวกับการเดินทาง การจราจร และการนำไปสู่จุดหมายปลายทางเช่น เส้นทางที่จะใช้ทิศทาง ระยะทางสถานที่รวมถึงข้อมูลอื่น ๆเป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการเดินทางได้ถูกต้อง สะดวก และปลอดภัย

1) ป้ายบังคับ

ป้ายบังคับแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
(1) ป้ายบังคับประเภทกำหนดสิทธิ์ (Priority Regulating Signs)
ป้ายหยุด : พื้นป้ายสีแดง เส้นขอบป้ายและตัวอักษรใช้สีขาว
ป้ายให้ทาง : พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้ายสีแดงและตัวอักษรบนป้ายใช้สีดำ
(2) ป้ายบังคับประเภทห้ามหรือจำกัดสิทธิ์ (Prohibitory or Restrictive Signs)
พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้าย เส้นขีดกลางใช้สีแดง เครื่องหมาย
สัญลักษณ์ ตัวเลข และตัวอักษรบนป้ายสีดำ
(3) ป้ายบังคับประเภทคำสั่ง (Mandatory Signs)
พื้นป้ายสีน้ำเงิน เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย สัญลักษณ์และตัวเลขสีขาว
(4) อื่น ๆ เช่น
• ป้ายบังคับข้อความ พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้ายสีแดง ตัวเลข ตัวอักษรและสัญญลักษณ์สีดำและแดง
• ป้ายประกอบหรือป้ายเสริม พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้าย ตัวเลข ตัวอักษรและสัญญลักษณ์สีดำ

2) ป้ายเตือน

โดยทั่วไปพื้นป้ายเป็นสีเหลือง เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตัวเลข และตัวอักษรบนป้ายใช้สีดำ สำหรับป้ายเตือนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและงานบำรุงทาง ใช้พื้นป้ายสีส้ม (Orange) เส้นขอบป้ายเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตัวเลข และตัวอักษรบนป้ายใช้สีดำ

3) ป้ายแนะนำ

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
(1) ป้ายแนะนำทั่วไป มี 5 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์ใช้สีด า ตัวอย่างเช่น ป้ายหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง
แบบที่ 2 พื้นป้ายสีเขียว เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข และตัวอักษรใช้สีขาว หรือสีอื่นที่กำหนดเฉพาะป้าย ตัวอย่างเช่น ป้ายแนะนำล่วงหน้า (ประเภทแขวนสูงชนิดคร่อมผิวจราจรและชนิดยื่นด้านข้าง) (ป้ายแนะนำทั่วไป (แบบที่ 2))
แบบที่ 3 พื้นป้ายสีน้ำเงิน เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษรใช้สีขาว สัญลักษณ์ใช้สีขาว หรือสีอื่นที่กำหนดเฉพาะป้าย ตัวอย่างเช่น ป้ายแสดงที่พักริมทาง ป้ายแสดงโรงพยาบาล
แบบที่ 4 พื้นป้ายสีน้ำเงิน ภาพสัญลักษณ์สีน้ าเงินบรรจุในรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสีขาว เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษรสีขาว ตัวอย่างเช่น ป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติกิจกรรม และแหล่งชุมชน
แบบที่ 5 พื้นป้ายสีขาว ภาพสัญลักษณ์สีขาวบรรจุในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
สีน้ำตาล เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษรสีน้ำตาล ตัวอย่างเช่น ป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวโบราณทาง ประวัติศาสตร์และศาสนสถาน

(2) ป้ายแนะนำสำหรับทางหลวงมาตรฐานสูง (หมายถึงทางหลวงแผ่นดินที่ใช้มาตรฐานสูงในการออกแบบเพื่อให้รถใช้ความเร็วสูงได้อย่างต่อเนื่อง และทางหลวงพิเศษ) มี2 แบบ คือ
แบบที่ 1 ใช้สำหรับทางหลวงมาตรฐานสูง และทางหลวงพิเศษแบบไม่เก็บค่าผ่านทาง
พื้นป้ายสีเขียว เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษร ใช้สีขาว สัญลักษณ์ใช้สีขาว หรือสีอื่นที่กำหนดเฉพาะป้าย ตัวอย่างเช่น ป้ายแนะนำล่วงหน้า (ประเภทแขวนสูงชนิด
คร่อมผิวจราจรและชนิดยื่นด้านข้าง)
แบบที่ 2 ใช้สำหรับทางหลวงพิเศษแบบเก็บค่าผ่านทาง ทางหลวงสัมปทาน และทางหลวงเอเชีย/อาเซียน พื้นป้ายสีน้ าเงิน เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษร
ใช้สีขาว สัญลักษณ์ใช้สีขาว หรือสีอื่นที่กำหนดเฉพาะป้าย ตัวอย่างเช่น ป้ายหมายเลขทางหลวงพิเศษที่เก็บค่าผ่านทาง ป้ายทางหลวงสัมปทาน และป้ายทางหลวงเอเชีย/อาเซียน

กรณีเป็นป้ายที่แสดงจุดหมายปลายทางต่างจากประเภทของทางหลวงที่ติดตั้ง เช่น ติดตั้งบนทางหลวงแผ่นดิน แต่จุดหมายปลายทางเป็น ทางหลวงพิเศษ หรือติดตั้งบนทางหลวงพิเศษ แต่จุดหมายปลายทางเป็นทางหลวงแผ่นดิน ให้แสดงสีตามจุดหมายปลายทางตามประเภททางหลวงนั้น ๆ

ที่มา:

  • https://safedrivedlt.com/
  • https://bhs.doh.go.th/files/standard_group/manual1.pdf