ป้ายจราจรสำหรับความปลอดภัยของเด็ก

               การขับขี่บนท้องถนนบางครั้ง ผู้ขับรถยนต์อาจละเลยความปลอดภัยกับเด็กนักเรียน ทำให้มีข่าวรถชนในขณะที่เด็กกำลังเดินทางข้ามทางม้าลาย ที่แม้ทางโรงเรียนจะออกมาตรการป้องกันต่างๆ เช่น ให้ครูมาโบกธงแดง เพื่อขอทางระหว่างเด็กนักเรียนกำลังเดินทางข้ามถนน, ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรควบคู่ไปกับทางม้าลาย หรือขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มาควบคุมความเรียบร้อยบริเวณถนนหน้าโรงเรียน แต่ก็ยังมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ป้ายจราจร ที่จำเป็นต่อความปลอดภัยของเด็ก และแนะนำสถานที่ติดตั้งป้ายจราจรให้กับเหล่าอปพร. เพื่อช่วยเหลือทางโรงเรียน สำหรับลดอุบัติเหตุได้ดียิ่งขึ้น

ป้ายจราจรมีกี่ประเภท แล้วช่วยให้เด็กปลอดภัยอย่างไรบ้าง

         ป้ายจราจร มีทั้งหมด 3 ประเภทได้แก่ 1.ป้ายเตือน 2. ป้ายบังคับ และ 3.ป้ายแนะนำ โดยป้ายแต่ละแบบมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกันออกไป เช่น ป้ายเตือนทำหน้าที่ “แจ้งให้ผู้ขับขี่ระวังทางข้างหน้า” ว่าจะมีทางแยก, สัญญาณไฟ หรือผู้กำลังข้ามถนนอยู่ ส่วนป้ายบังคับจะกำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และป้ายแนะนำทำหน้าที่ให้ผู้ขับขี่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการสัญจรภายในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น

แนะนำป้ายเตือนสำหรับความปลอดภัยของเด็ก

1.ป้ายเตือนสัญญาณไฟจราจร

             แม้ทางข้างหน้าจะมีสัญญาณไฟจราจรอยู่แล้ว แต่ใช่ว่าผู้ขับขี่จะเห็นเสมอไป เพราะผู้ขับรถยนต์อาจกำลังมองบริเวณข้างทางอยู่ “ป้ายเตือนสัญญาณไฟจราจร” เลยมีบทบาทให้ผู้ขับขี่ทราบว่าทางข้างหน้าจะมีสัญญาณไฟ ทำให้สามารถเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ก่อนถึงไฟจราจรได้ จึงช่วยลดการขับฝ่าไฟแดง และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กที่นั่งอยู่บนรถยนต์ หรือกำลังซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์อยู่นั่นเอง

2.ป้ายเตือนระวังคนข้ามถนน

             ป้ายชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนทางข้ามม้าลายเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนตามต่างจังหวัดที่มักมีคนข้ามถนนไปมาในพื้นที่ซึ่งไม่มีทางข้ามม้าลาย ทำให้ผู้ขับขี่ด้วยความเร็วเกินกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษว่าทางข้างหน้าอาจมีคนกำลังข้ามถนนอยู่ แน่นอนว่ามีโอกาสที่เด็กนักเรียนกำลังเดินข้ามถนน เพื่อเดินทางไปเรียนหนังสือด้วยเช่นกัน

3.ป้ายระวังลื่น

             เมื่อฝนกำลังตก เป็นเรื่องธรรมดาที่ถนนย่อมลื่นกว่าปกติ และมองเห็นเส้นทางข้างหน้ายากกว่าเดิม นำมาสู่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายด้วย แถมตามต่างจังหวัดก็มักมีนักเรียนเดินทางด้วยรถรถจักรยานยนต์ ดังนั้น “ป้ายระวังลื่น” นอกจากจะเตือนผู้ขับขี่ทั่วไปแล้ว ยังให้เด็กนักเรียนที่กลุ่มนี้ให้ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเช่นกัน

4.ป้ายเตือนเขตโรงเรียน

            ป้ายเตือนเขตโรงเรียนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่อปพร.หรือ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ควรนำไปติดตั้งก่อนถึงโรงเรียนแต่ละแห่ง เพื่อให้ผู้ขับรถยนต์ขับขี่ช้าลง ป้องกันปัญหาขับชนนักเรียนที่กำลังเดินข้ามถนนเข้า-ออกโรงเรียน รวมถึงผู้ปกครองของเด็กนักเรียนหลายคนก็อาจกำลังส่งบุตรหลานอยู่หน้าโรงเรียน ทำให้รถยนต์ที่ขับตามหลังมาควรชะลอความเร็ว จนแน่ใจว่ารถของผู้ปกครองจะส่งนักเรียนเสร็จ แล้วค่อยขับตามไป

5.ป้ายเตือนขับช้าๆ เขตชุมชน

             เขตชุมชนนั้นมีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนมาก การตั้งป้ายดังกล่าวตรงบริเวณทางเข้าซอยหมู่บ้านจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วในการขับขี่ให้น้อยที่สุด สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กที่กำลังเดินสัญจรไปมาในหมู่บ้าน

6.ป้ายเตือนสนามเด็กเล่น

             ในบริเวณชุมชนจะมีสนามเด็กเล่นตั้งอยู่ ทำให้มีเด็กเล่นเดินผ่านไปมา หากผู้ขับขี่ไม่ทราบมาก่อนว่าตรงจุดนี้มีเด็กเล่นพลุกพล่าน ก็อาจขับขี่แล้วเผลอชนเอาได้ ดังนั้นการที่ตั้ง เครื่องหมายจราจร ประเภทนี้ก่อนถึงสนามเด็กเล่น จะช่วยลดอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

ป้ายบังคับที่จำเป็นต่อความปลอดภัยของเด็ก

          นอกจากใช้งานป้ายเตือนแล้ว การใช้งานป้ายบังคับก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ขับขี่จะปฏิบัติตามป้ายบังคับมากกว่าป้ายเตือน เนื่องจากมีผลทางกฎหมาย โดยตัวอย่างของป้ายบังคับที่อปพร. สามารถใช้งานร่วมกับป้ายเตือนได้มีดังนี้

1.ป้ายจำกัดความเร็ว

           เป็นป้ายที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยจะมีตัวเลขกำกับอยู่ เช่น 30 หมายความว่าใช้ความเร็วได้เพียง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือตัวเลข 50 ที่กำหนดให้ทำความเร็วไม่ควรเกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงระหว่างขับขี่บนเส้นทางที่มีป้ายจำกัดความเร็ว โดยสาเหตุที่ต้องใช้ป้ายชนิดนี้เป็นเพราะถนนบางเส้น เป็นถนนทางเข้าหมู่บ้านที่ตัดมาจากถนนใหญ่อีกที ผู้ขับขี่อาจกำลังขับเพลินด้วยความเร็วระดับเดียวกับที่ขับบนถนนใหญ่ ซึ่งถนนซอยก็มีผู้สัญจรทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชรา ที่อาจกำลังเดินอยู่บนไหล่ทาง แล้วเผลอขับชนเอาได้

2.ป้ายห้ามจอด

          บริเวณที่เด็กนักเรียนสัญจรผ่านไปมา จะมีรถโดยสารประจำทาง เช่น รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถแท็กซี่ จอดรอรับอยู่หลังเลิกเรียน ทำให้การจราจรเกิดติดขัดขึ้นในพื้นที่ และยิ่งชั่วโมงเร่งด่วนที่ผู้ปกครองมาส่งลูกหลานด้วยแล้ว ก็เร่งให้รถติดหนักกว่าเดิมอีก เมื่อรถติดไปนาน ๆ ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการที่รถคันหลังชนท้ายได้ ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ถ้าจอดรถยนต์ในพื้นที่ห้ามจอดจะต้องโทษปรับ 2,000 บาท

รู้จักกับป้ายแนะนำที่ทำให้เด็กปลอดภัย 

         เมื่อทำความรู้จักกับป้ายเตือน และป้ายบังคับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การใช้งานป้ายแนะนำก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากช่วยแจ้งให้ผู้ขับขี่ทราบง่ายขึ้นว่าทางไปโรงเรียน และแหล่งชุมชนอยู่ที่ใด ซึ่งนอกจากสามารถป้องกันไม่ให้ผู้ขับขี่หลงทางแล้ว ยังช่วยไม่ให้ขับขี่ด้วยความเร็วสูงในเขตผู้คนพลุกพล่านอีกด้วย โดยตัวอย่างของป้ายแนะนำที่ควรใช้งาน ที่ช่วยให้คนในชุมชน ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ปลอดภัยขึ้นมีดังนี้

1.ป้ายทางเฉพาะจักรยาน

แม้ว่ามีกฎหมายไม่ให้รถมอเตอร์ไซค์ขับขี่บนทางเท้าแล้ว แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากฝ่าฝืนกฎหมายอยู่ ทำให้ป้ายชนิดนี้เข้ามามีบทบาทในการป้องกัน ไม่ให้รถมอเตอร์ไซค์ขับขึ้นมาบนทางเท้า จนอาจชนเด็กที่ขับขี่จักรยานอยู่

2.ป้ายแสดงทางข้ามม้าลาย

พบป้ายชนิดนี้ได้บ่อยในพื้นที่ทางข้ามม้าลาย ลักษณะป้ายเป็นแนวตั้งพื้นหลังสีน้ำเงิน ป้ายจราจรนี้มีไว้เพื่อแจ้งเตือนรถที่กำลังขับมาให้ทราบว่ามีทางม้าลายอยู่ตรงหน้า และเตรียมจอดให้คนเดินเท้าข้ามไปก่อน 

             เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ๆ อปพร.มีหน้าที่ตั้งป้ายเหล่านี้ในสถานที่ที่เหมาะสม เช่น ใช้ป้ายแนะนำบอกชื่อโรงเรียน หรือชื่อหมู่บ้านก่อน แล้วจากนั้นค่อยใช้ป้ายเตือน และป้ายบังคับ ก่อนที่จะถึงเขตที่มีผู้คนอยู่รวมกันจำนวนมาก ตามลำดับต่อไป… หากสนใจใช้งานป้ายสะท้อนแสง หรือป้ายจราจรไฟกะพริบ สามารถติดต่อร้านไทยจราจรที่รวบรวมอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้อย่างครบครัน รับรองว่าช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ดีเยี่ยม