ป้ายเตือน และอุปกรณ์ป้องกันภัยที่ควรมีในไซต์งานก่อสร้าง

บริเวณเขตก่อสร้างเป็นพื้นที่อันตรายซึ่งมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ ผู้รับเหมาและหัวหน้าไซต์งานที่ดูแลบริหารจัดการด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานจะติด ป้ายเตือน และป้ายบังคับต่างๆ ไว้รอบๆ ไซต์งานก่อสร้างเพื่อเตือนเจ้าหน้าที่คนงานและบุคคลภายนอกให้รู้ว่าเป็นพื้นที่พิเศษที่มีอันตราย นอกจากนี้ยังเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันอันตรายและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยซึ่งเป็น วิธีลดอุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน มาดูกันว่าป้ายเตือนและอุปกรณ์ที่ควรมีในไซต์งานก่อสร้างควรมีนั้นมีป้ายใดบ้าง

 

 

1.ป้ายเตือนและป้ายบังคับต่างๆ ที่พบบ่อยในไซต์งานก่อสร้าง

ป้ายเตือนที่ใช้ในเขตก่อสร้างเป็นป้ายจราจร ประเภทหนึ่งที่ใช้ในระหว่างการก่อสร้างโครงการต่างๆ โดยนำเอาป้ายสัญญาณจราจรแบบมาตรฐานมาใช้งาน เปลี่ยนสีพื้นหลังให้เป็นสีส้ม หรือสีเหลืองเพื่อบ่งชี้ว่ามีอันตราย เป็นเขต หรือทางผ่านที่มีอันตราย หรือมีเครื่องกีดขวาง และมีเครื่องจักรที่กำลังทำงานอยู่ โดยจะติดตั้งป้ายเตือนก่อนถึงเขตก่อสร้างประมาณ 100-200 เมตร รวมถึงใช้เตือนบนทางหลวงที่กำลังซ่อมถนนอยู่ข้างหน้า มีป้ายหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับประเภทของงานก่อสร้างที่อยู่ข้างหน้า ป้ายแต่ละแบบใช้งานวัตถุประสงค์ต่างกัน จำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ป้ายเตือนในเขตก่อสร้าง ได้แก่

 

 

  • ป้ายเตือนการก่อสร้าง ส่วนใหญ่มีพื้นหลังสีส้ม หรือสีเหลือง สัญลักษณ์หรือตัวอักษรต่างๆ เป็นสีดำ มองเห็นได้ชัดเจน เช่น ป้ายโครงการก่อสร้าง มีลูกศรชี้ไปข้างหน้าและตัวอักษรคำว่างานก่อสร้าง นอกจากนี้ ควรเพิ่มการติดตั้ง ไฟกระพริบ เพื่อเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนให้ระวังทางข้างหน้า และชะลอความเร็วลง
  • ป้ายเตือนเบี่ยงการจราจร เป็นป้ายเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนว่าทางข้างหน้ากำลังมีงานก่อสร้าง ติดตั้งก่อนถึงเขตก่อสร้าง 100 เมตร อาจมีสิ่งกีดขวาง ทางแคบลง หรือต้องขับเบี่ยงไป มีการทำรั้วกั้นรอบพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อไม่ให้ผู้ใช้รถขับชิดมากเกินไปซึ่งอาจเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้
  • ป้ายเตือนคนงาน เป็นป้ายสีมีมุมตั้งฉาก พื้นหลังเป็นสีส้มและสัญลักษณ์รูปคนถือพลั่วสำหรับเตือนผู้ใช้รถว่ามีงานก่อสร้างอยู่ข้างหน้าบนผิวจราจร ผู้ขับขี่จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถ นอกจากนี้จะใช้ กรวยจราจร เป็นอุปกรณ์กั้นเขตอันตรายชั่วคราวยังช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ทั้งผู้ขับขี่และคนงาน
  • ป้ายจำกัดความเร็ว หรือป้ายห้ามแซง เป็นป้ายเตือนให้ผู้ใช้รถชะลอความเร็วและขับรถระมัดระวังมากขึ้น

 

 

  • ป้ายห้ามเข้า เป็นป้ายเตือนบอกว่าเป็นเขตก่อสร้างอันตรายห้ามเข้า ลักษณะเป็นเครื่องหมายห้าม พื้นสีขาว ขอบวงกลมและแถบขวางสีแดง รูปคนงานก่อสร้างเป็นสีดำ อาจมีตัวอักษรห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต เป็นป้ายใช้เพื่อบ่งบอกเขตเป็นพื้นที่ก่อสร้างหรือพื้นที่ห้ามเข้า สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเพื่อความปลอดภัยเตือนไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไปในพื้นที่ก่อสร้าง
  • ป้ายเตือนเครื่องจักรกำลังทำงาน เป็นป้ายเตือนอีกประเภทที่เห็นบ่อยในเขตก่อสร้างที่ต้องใช้เครื่องจักร ใช้ปั้นจั่น หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งกำลังทำงานอยู่ในพื้นที่ก่อสร้าง ด้านข้างถนน หรือมีวัสดุก่อสร้างวางกีดขวางหรือเบียดพื้นที่ผิวจราจร มีลักษณะเป็นป้ายสี่เหลี่ยมมุมฉากพื้นหลังเป็นสีส้มและมีสัญลักษณ์เครื่องจักรอยู่ตรงกลาง ใช้ติดตั้งใกล้ สัญญาณไฟจราจร ก่อนถึงบริเวณที่มีเครื่องจักรทำงานอยู่บนทางจราจรไม่น้อยกว่า 150 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตและเตือนว่าบริเวณดังกล่าวเป็นไซต์งานก่อสร้าง หรือทางข้างหน้ามีงานก่อสร้างผู้ใช้รถใช้ถนนต้องขับรถด้วยความระมัดระวังให้ดี

 

2.ป้ายความปลอดภัย

ป้ายความปลอดภัย เป็นป้ายมาตรฐานที่ใช้งานจราจร ใช้ในบริเวณที่มีการก่อสร้าง รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีตั้งแต่ป้ายห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต ป้ายปลอดภัยไว้ก่อน ป้ายเครื่องจักรกำลังทำงาน ตลอดจนป้ายเตือนให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น โดยทั่วไปป้ายความปลอดภัยในไซต์งานก่อสร้างแบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ
  • ป้ายบังคับความปลอดภัย เครื่องหมายบังคับใช้สีพื้นสีฟ้า และสัญลักษณ์รูปภาพเป็นสีขาว ได้แก่ สวมหมวกนิรภัย, สวมรองเท้านิรภัย, สวมแว่นตานิรภัย, สวมที่ครอบหูลดเสียง, สวมถุงมือนิรภัย, สวมหน้ากากนิรภัย, สวมชุดป้องกันสารเคมี, สวมหน้ากากกันฝุ่น, ล้างมือให้สะอาด, สวมหน้ากากเชื่อม, สวมเข็มขัดกันตกจากที่สูง, ซ้อนวัสดุให้ถูกต้องปลอดภัย, สวมเสื้อสะท้อนแสง, ต้องยกของด้วยท่าที่ถูกต้อง, โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด, ปิดสวิตช์เมื่อไม่ใช้งาน, สวมชุดช่วยหายใจ, สวมเอี๊ยม, ที่จอดรถจักรยานยนต์, ทางเดินเท้า เป็นต้น
  • ป้ายเตือนความปลอดภัย เพื่อแจ้งเตือนให้บุคคลระวังและทำตามป้ายเตือน เครื่องหมายเตือนใช้สีพื้นสีเหลือง รูปสามเหลี่ยมแถบตามขอบสีดำ และสัญลักษณ์รูปภาพสีดำ ได้แก่ ระวังอันตราย, ระวังรถยก, ระวังวัตถุระเบิด, ระวังวัสดุตกจากด้านบน, ระวังสะดุด, ระวังพื้นลื่น, ระวังไฟฟ้าแรงสูง, ระวังสารกัดกร่อน, ระวังอันตรายจากเครื่องจักร, ระวังสารเคมีอันตราย, ระวังศีรษะ, ระวังสารไวไฟ, ระวังพื้นผิววัสดุร้อน, ระวังของมีคม, ระวังอันตรายจากไฟฟ้าช็อต, ระวังก๊าซไวไฟ,ระวังทางลาดชัด, ระวังตก, ระวังอันตรายจากพื้นที่อับอากาศ เป็นต้น

 

 

  • ป้ายห้ามความปลอดภัย เพื่อห้ามไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้ หรือไม่ให้ปฏิบัติสิ่งที่ห้าม เครื่องหมายห้ามใช้สีพื้นเป็นสีขาว ขอบวงกลมและแถบขวางเป็นสีแดง สัญลักษณ์รูปภาพใช้สีดำ ได้แก่ ห้ามสูบบุหรี่, ห้ามจุดไฟ, ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต, ห้ามผ่าน, ห้ามถ่ายรูป, ห้ามสัมผัส, ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ, ห้ามเปิดวาล์วก่อนได้รับอนุญาต, ห้ามเดินเครื่องก่อนได้รับอนุญาต, ห้ามใช้น้ำดับไฟ, ห้ามสวมรองเท้าแตะ เป็นต้น
  • ป้ายแสดงสภาวะความปลอดภัย
    เครื่องหมายแสดงเกี่ยวกับภาวะความปลอดภัยใช้สีพื้นสีเขียว และสัญลักษณ์รูปภาพสีขาว ได้แก่ ทางออก, ทางออกฉุกเฉิน, ทางหนีไฟ, ปุ่มหยุดฉุกเฉิน, โทรศัพท์ฉุกเฉิน, ปฐมพยาบาล, เปลพยาบาล, ถังดับเพลิง , ล้างตาฉุกเฉิน, ชำระล้างฉุกเฉิน, น้ำสำหรับดื่ม, ป้ายปลอดภัยไว้ก่อน, บันได, เสื้อชูชีพ เป็นต้น

 

3.การเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้สำหรับคนงาน

     การเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัย ให้พร้อมสำหรับคนงานเป็นวิธีเพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่ก่อสร้าง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยระหว่างทำงานเสมอ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีในไซต์งานก่อสร้างและโรงงานต่างๆ มีดังนี้

  • หมวกนิรภัยกันกระแทก เพื่อป้องกันของตกหล่น เป็นหมวกนิรภัยแบบหมวกกันน็อค มีสายรัดคางและสายรัดศีรษะเพื่อปรับความกระชับของหมวกให้พอดีกับขนาดศีรษะ เหมาะสำหรับใช้ในเขตก่อสร้างและงานอุตสาหกรรม สวมใส่ได้นาน บางรุ่นมีกระบังหน้านิรภัยติดมาด้วยสำหรับงานเชื่อมโลหะ
  • แว่นตานิรภัย เป็นอุปกรณ์ป้องกันดวงตาให้ปลอดภัย มีหลายแบบแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน เช่น แว่นครอบตาป้องกันสารเคมี แว่นตานิรภัยกันฝุ่นอนุภาคของแข็งขนาดเล็กสำหรับงานเจียระไน งานไม้ และอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีหน้ากากครอบตาสำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น งานตัด หรือเชื่อมโลหะ ต้องใช้เป็นหน้ากากเชื่อมโดยเฉพาะเพื่อป้องกันฝุ่น แสง และความร้อนได้ดี

 

 

  • หน้ากากนิรภัย เป็นอุปกรณ์ป้องกันใบหน้า มีหลายแบบให้เลือกใช้ให้ตรงกับประเภทของงาน เช่น หน้ากากกันฝุ่นควัน ไอระเหยจากก๊าซหรือสารเคมี รวมไปถึงหน้ากากที่มีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้
  • ที่ครอบหูลดเสียงดัง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบหมวกนิรภัย หรืออุปกรณ์ครอบหูแบบคาดศีรษะและแบบคล้องคอ ช่วยลดระดับเสียงจากภายนอกที่ดังเกินมาตรฐานความปลอดภัย แต่ไม่รบกวนการได้ยินเสียงช่วงความถี่ของเสียงมนุษย์
  • ถุงมือหยิบจับสิ่งของ ซึ่งจำเป็นสำหรับงานก่อสร้างและงานในโรงงานที่ต้องหยิบจับอุปกรณ์ตลอดเวลา มีถุงมือหลายแบบต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน ได้แก่

 

 

  1. ถุงมือผ้าป้องกันสิ่งสกปรก ของมีคม และงานทั่วไป
  2. ถุงมือผ้าแบบเคลือบน้ำยา สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีเล็กน้อย
  3. ถุงมือยางไวนีลสำหรับงานเกี่ยวกับสารเคมี
  4. ถุงมือใยโลหะสำหรับงานที่ต้องจับของมีคม
  5. ถุงมือยางสำหรับงานไฟฟ้า
  6. ถุงมือหนังสำหรับงานไม้ งานโลหะ และงานเชื่อมที่ใช้ความร้อนไม่สูง
  7. ถุงมือหนังเสริมใยเหล็กสำหรับงานหลอมและถลุงโลหะ

 

 

  • เข็มขัดนิรภัย เป็น วิธีลดอุบัติเหตุ สำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานบนที่สูงในงานก่อสร้างซึ่งไม่มีจุดให้ยึดเกาะ เข็มขัดนิรภัยที่ได้มาตรฐานควรออกแบบเป็นเข็มขัดพยุงตัวที่มีสายรัดลำตัวคาดยาวตั้งแต่หัวไหล่ หน้าอก เอว และช่วงขา
  •       รองเท้านิรภัย ออกแบบมาช่วยลดแรงกระแทก ป้องกันอันตรายจากของตกใส่เท้าและข้อเท้า มีให้เลือกหลายแบบตามลักษณะของงาน ในบริเวณก่อสร้างจะใช้รองเท้าหัวเหล็ก พื้นเหล็กเพื่อป้องกันเท้าเหยียบตะปูและวัสดุมีคม และรองเท้านิรภัยแบบหุ้มข้อใช้เป็นฉนวนกันกระแสไฟ เหมาะกับผู้ทำงานด้านไฟฟ้า รองเท้านิรภัยป้องกันสารเคมี รองเท้านิรภัยแบบหุ้มแข้งใช้ในงานโลหะและงานเชื่อมต่างๆ
  • เสื้อกั๊กสะท้อนแสง สำหรับทำงานในสถานที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง งานจราจร งานซ่อมถนน และงานในโรงงานเพื่อความปลอดภัยทำให้มองเห็นผู้สวมได้ชัดเจนขณะปฏิบัติหน้าที่

         อุบัติเหตุในไซต์งานก่อสร้างมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย หากการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่ได้เตรียมเครื่องมือเครื่องจักรให้พร้อมใช้งาน ชีวิตคนงานอาจตกอยู่ในความเสี่ยงเสมอ วิธีลดอุบัติเหตุ ควรตรวจเช็คเครื่องจักร เครื่องมือทุกชิ้น ตลอดจนตรวจเช็คสายไฟสำหรับเชื่อมต่อเครื่องจักรก่อนใช้งานว่ามีการชำรุดหรือไม่ เพื่อความมั่นใจสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ระหว่างการปฏิบัติงานมีอันตรายรอบด้านจำเป็นต้องติด ป้ายเตือน และทำรั้วรอบเพื่อไม่ให้คนภายนอกเข้ามาใกล้พื้นที่ปฏิบัติงาน พร้อมแจ้งเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนให้จำกัดความเร็ว และให้ปฏิบัติตามป้ายเตือนเพื่อความปลอดภัย