อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า การทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐมักจะต้องประสบกับปัญหาและมีความยุ่งยากมากกว่าการทำงานร่วมกับภาคเอกชน เนื่องจากทุกกระบวนการขั้นตอนในการทำงานของหน่วยราชการต้องคำนึงถึงความถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้เพราะนั้นหมายถึงการใช้จ่ายเงินในส่วนของประชาชนด้วยเช่นกัน แต่เชื่อได้ว่า มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่เคยทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการแล้วเกิดปัญหาจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต และด้วยอำนาจหรือบารมีของคนมีศักดิ์มีศรีก็ทำให้บางเรื่องสามารถพิสูจน์หาคนผิดคนถูกได้ แต่บางเรื่องก็ไม่สามารถพิสูจน์หาความจริงเช่นกัน ดังนั้น ร้านไทยจราจร จึงรวบรวมข้อมูลสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อต้องทำงานกับภาครัฐ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการเตรียมพร้อมรับมือหรือใช้สำหรับป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น อันได้แก่
-
ปัญหาที่เกิดจากการทำงานที่ล่าช้า
ต้องบอกก่อนเลยว่า การทำงานของระบบราชการเป็นการทำงานที่ต้องมีระบบระเบียบ ขั้นตอน และกฎกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ ทั้งยังต้องทำงานตามลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชา ซึ่งกระบวนการขั้นตอนเหล่านี้เองที่จะส่งผลกระทบต่อการทำงานที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของระยะเวลา อย่างเช่น การรับเหมาก่อสร้างงานของหน่วยงานราชการหนึ่งก็ต้องมีการกำหนดระยะเวลาที่โครงการก่อสร้างนี้จะแล้วเสร็จ หรือการจัดซื้อ กรวยจราจร สำหรับใช้ในหน่วยงานราชการ แต่บางครั้งอาจจะไม่ได้แล้วเสร็จตามกำหนดเนื่องจากปัญหาขั้นตอนการทำงานของหน่วยราชการที่ทำให้เกิดความล่าช้าตามไปด้วยนั้นเอง
-
ขาดความยืดหยุ่น
เหมือนอย่างที่กล่าวไปในข้อแรกว่า ระบบการทำงานของราชการไทยต้องมีระบบขั้นตอนที่หลากหลาย แต่ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้การทำงานของร่วมกับภาครัฐยุ่งยากขึ้นไปอีก คือการทำงานของหน่วยราชการค่อนข้างขาดความยืดหยุ่นเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การทำงานในปัจจุบันของราชการที่ยังคงยึดติดกับการปฏิบัติงานแบบทางการที่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร จะทำงานงานแต่ละครั้งก็ต้องจัดทำรายละเอียดขึ้นมาเพื่อพิจารณา เช่น เป็นสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง ไฟกระพริบโซล่าเซลล์ หรือถึงแม้ว่างานชิ้นนั้นจะเป็นงานเร่งด่วน ก็ไม่สามารถทำงานแบบรวบรัดตัดขั้นตอนได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการที่กำหนดขึ้นเท่านั้น
-
ระบบอุปถัมภ์ย่อมมาก่อน
หากใครที่กำลังคิดจะเข้าร่วมประมูลงานกับภาครัฐควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่า คู่แข่งขันที่เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้มีความสัมพันธ์หรือมีอำนาจบารมีสนิทชิดเชื้อกับผู้ดูแลโครงการมากแค่ไหน ถ้าถึงขั้นเป็นญาติสนิทมิตรสหายก็ถอนตัวออกมาจะได้ไม่เสียเวลา เพราะการทำงานของภาครัฐในปัจจุบันยังคงมีระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นให้เห็นอย่างต่อเนื่อง และด้วยเมืองไทยคือเมืองพี่น้องจึงทำให้วัฒนธรรมของการอุปถัมภ์ค้ำชูยังคงมีอยู่โดยที่ไม่ได้แยกออกจากกันระหว่างเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว
-
เปลี่ยนเรื่องผิดให้กลายเป็นถูก
ถึงแม้ว่าการทำงานของรัฐจะต้องยึดติดกับกระบวนขั้นตอนตามที่กำหนด แต่บางกรณีก็มีเจ้าหน้าที่รัฐบางคนที่มีอำนาจอยู่ในมือกลับเลือกทำการด้วยวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด ถึงแม้ว่าการกระทำนั้นจะผิดกฎระเบียบก็ตาม หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า ซิกแซ็ก เช่น การทำเอกสารซื้อของหนึ่งอย่าง เช่น อุปกรณ์จราจร แต่ของจริงกลับเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ราคาถูกกว่าหรือความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่มีของชิ้นนั้นเลย ซึ่งรายการสินค้าทั้งหมดที่ซื้อก็อยู่ภายใต้เอกสารที่ถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เป็นต้น ที่สำคัญเมื่อมีการตรวจสอบก็ไม่พบข้อผิดพลาดหรือข้อพิรุธใด เพราะอำนาจเงินที่ทั่วถึงนั้นเอง
-
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
มีข้าราชการไทยจำนวนไม่น้อยที่รู้เห็นถึงกระบวนการทำงานขั้นตอนที่มีความทุจริตเกิดขึ้น แต่มีข้าราชการเพียงส่วนน้อยมากที่กล้าจะออกมาต่อต้านในกระบวนการทุจริตเหล่านั้น เพราะส่วนใหญ่ก็มักจะไม่กล้าพูดหรือต่อต้านการกระทำดังกล่าว เนื่องจากเกรงกลัวต่อบารมีของผู้มีอำนาจที่เหนือกว่า หรือเพราะได้รับผลประโยชน์จากการปกปิดการกระทำเหล่านั้น และที่สำคัญเพราะกลัวว่าจะเป็นการทำลายอนาคตและหน้าที่การงานของตัวเอง เพราะบริษัทที่เข้าประมูลงานกับภาครัฐส่วนใหญ่ก็มีพวกมีคนใหญ่คนโตหนุนหลังเกือบทั้งนั้น
-
ความไม่โปรงใสของเจ้าหน้าที่รัฐ (ฮั้วประมูล)
หากคิดจะเข้าประมูลงานหรือประกวดราคาร่วมกับภาครัฐต้องทำใจยอมรับเบื้องต้นเลยว่า ไม่มีทางจะหลีกหนีการฮั้วประมูลระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับบริษัทประมูลได้อย่างแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทไหนจะมีการสนับสนุนเบื้องหลังหรือที่เรียกว่า แบ็กอัพ ที่มั่นคงมากกว่ากัน และเพราะอำนาจของเงินเหล่านี้แหละที่ทำให้การทุจริตสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
-
เจ้าหน้าที่รัฐขาดความน่าเชื่อถือ
ผู้ประกอบการที่ยื่นซองประมูลงานหรือประกวดราคาจะไม่มีสิทธิ์รับทราบถึงข้อมูลของคู่แข่งขันได้ เช่น เสนอราคา หมุดถนนโซล่าเซลล์ เป็นราคาต่อหน่วยเท่าไหร่ (นอกเสียแต่ว่าไปสืบนอกรอบ) แต่ผู้ที่จะรับทราบได้นั้น คือเจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลโครงการเท่านั้น และแน่นอนว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้เชื่อใจหรือไว้ใจได้ทุกคนเสมอไป เพราะมีเหตุการณ์ไม่น้อยที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐแอบเอาข้อมูลของคู่แข่งขันรายหนึ่งไปบอกยังผู้ประกอบการอีกรายหนึ่งเพื่อเป็นการตัดตอนกันอย่างง่ายดาย
-
ละเลยในหน้าที่
เคยมีกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ทราบความเคลื่อนไหวหรือรายละเอียดใด ๆ ที่ใช้เป็นข้อมูลสำหรับการเข้าร่วมประมูลหรือการยื่นซอง นั้นเป็นเพราะการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่ขาดความละเอียดรอบคอบหรือแอบปกปิดข้อมูลเพื่อแจ้งให้ผู้ประกอบการเฉพาะรายทราบเท่านั้น และจะไปประกาศเผยแพร่จริงในช่วงใกล้วันที่จะทำการประมูล ทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นไม่สามารถเตรียมการได้ทันและพลาดการประมูลหรือยื่นซองในครั้งนั้นไปอย่างน่าเสียดาย
เห็นไหมว่า การทำงานร่วมกับภาครัฐไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกกระบวนการขั้นตอนต่างก็ต้องยึดกฎ ระเบียบเป็นหลัก และที่สำคัญยึดอำนาจเงินที่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้ตามบารมีที่ยิ่งใหญ่ ฉะนั้น ร้านไทยจราจร ขอเตือนเลยว่าหากคิดจะทำงานร่วมกับภาครัฐสิ่งแรกที่จะต้องมี คือความละเอียดรอบคอบและต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง เพราะจะสามารถช่วยป้องกันหรือปกปิดช่องโหว่ที่อาจจะเกิดขึ้นจากบารมีเงินใต้โต๊ะได้ไม่มากก็น้อย
Block "content-bottom" not found
Block "catalog-trafficfence" not found