10 ความลับ ที่คนออกแบบลานจอดรถ มักคิดไม่ถึง

หลายคนคงคิดว่าการออกแบบลานจอดรถไม่เห็นมีอะไรต้องคิดมากเลย แค่ทำตามแผนงานต่าง ๆ ที่วางเอาไว้เท่านี้เราก็จะได้ลานจอดรถตามที่ต้องการแล้ว ทว่าในความเป็นจริงคือ ลานจอดรถที่เราเห็นกันตามอาคารต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำให้ออกมาสมบูรณ์แบบ ยังมีหลายเรื่องที่คนออกแบบลานจอดรถมักคิดไม่ถึงหรืออาจยังไม่มีความรู้ตรงจุดนี้มากพอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ร้านไทยจราจร จะพาทุกท่านมาดูกันว่า 10 ความลับซึ่งคนออกแบบลานจอดรถมักชอบคิดไม่ถึงกันมีอะไรบ้าง

1.ระดับความสูงของพื้นลานจอดรถ – ชั้นล่างกับเพดานลานจอดรถของพื้นชั้นบนต้องมีระดับความสูงไม่ต่ำกว่า 2.10 ม. เนื่องจากเป็นการป้องกันหลังคาหรือในกรณีที่รถยนต์บางคันมีการบรรทุกสิ่งของต่าง ๆ เข้ามาในอาคารจอดรถจะได้ไม่เกิดปัญหาเรื่องของการกระแทกของตัวรถหรือสิ่งของกับเพดานลานจอดรถ ตรงจุดนี้หลายคนอาจมองข้ามไป

2.เรื่องของระบบส่องสว่าง – เชื่อเหลือเกินว่าคนออกแบบลานจอดรถหลายคนไม่ค่อยชอบคำนึงถึงเรื่องนี้มากนักดังจะเห็นว่าหลาย ๆ แห่งของลานจอดรถจะมีไฟให้แสงสว่างแค่ไม่กี่ดวงต่อชั้นและนั่นคือจุดสำคัญที่อาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นกับคนที่ต้องใช้บริการลานจอดรถได้ เป็นความเสี่ยงที่ป้องกันได้ด้วยการติดตั้งระบบส่องสว่างให้เพียงพอกับพื้นที่ของลานจอดรถจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้มากเลยทีเดียว

3.ทางขึ้นลงของลานจอดรถอยู่ฝั่งเดียวกัน – บางครั้งเข้าใจได้ด้วยเรื่องขนาดพื้นที่จำกัดส่งผลให้การทำทางขึ้นลงลานจอดรถอยู่ฝั่งเดียวกัน หากเป็นแบบนั้นจริงควรติดตั้ง กระจกโค้งจราจร ทั้งฝั่งลงและฝั่งขึ้นเพื่อให้รถมองเห็นกัน ไฟกระพริบโซล่าเซลล์ เพื่อให้รู้ว่าใครอยู่เลนไหนกันแน่ เป็นทางบอกเลนเพื่อให้แต่ละฝั่งมองเส้นทางของตนเองได้อย่างถูกต้อง ช่วยลดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้อย่างดีเลยทีเดียว กระนั้นหากเป็นไปได้ควรเลือกแยกทางขึ้นลงคนละฝั่งจะดีที่สุด

4.ขอบหรือราวกันตกควรสูงและแข็งแรง – อันนี้เป็นอีกจุดที่หลายคนคิดไม่ถึงทำนองว่าแค่มีราวกันตกก็เพียงพอแล้ว ทว่าหากราวกันตกไม่สูงหรือแข็งแรงมากพอ โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุมีสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นคนที่ตั้งใจทำร้ายตนเองหรือคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ถอยหลังแล้วไปชนกับขอบราว หากขอบไม่แข็งแรงพอก็อาจเกิดเรื่องสะเทือนใจได้เหมือนกัน

5.ระดับความลาดชันของทางขึ้นลงแต่ละชั้น – ระดับความลาดชั้นต้องไม่เกิน 15% และทางลาดชันแต่ละช่วงต้องมีระดับความสูงไม่เกิน 5 ม. หากที่ไหนสูงเกินนี้ต้องทำที่พักให้ยาวไม่ต่ำกว่า 6 ม. ยกเว้นถ้าการทำระดับลาดชันไม่ถึง 10% ไม่ต้องทำที่พักก็ได้ อีกจุดคือปลายทางลาดชันต้องมีการปาดมุมให้ยาวไม่ต่ำกว่า 2.5 ม. 

6.ห้องน้ำบริเวณลานจอดรถ – เชื่อว่าหลายคนที่ออกแบบลานจอดรถคงคิดไม่ถึงเรื่องนี้แต่มันสำคัญมาก เพราะบางทีคนที่ขับรถมาไกล ๆ ด้วยระยะเวลานั้นแล้วเกิดการปวดหนักปวดเบาเต็มที่ พอมาถึงลานจอดรถแล้วไม่มีห้องน้ำพวกเขาต้องอดทนในการเดินเข้าไปภายในอาคารหรือต้องรอลิฟต์เพื่อให้ถึงออฟฟิศของตนเองแบบนี้คงลำบากน่าดู หากมีห้องน้ำไว้ด้วยจะดีไม่น้อยเลย

7.ชั้นดาดฟ้าต้องทำขอบหรือราวกั้นให้สูงด้วย – การออกแบบบางครั้งหลายอาคารที่มีลานจอดรถชั้นดาดฟ้าแต่ดันไปออกแบบราวกันตกไว้ตามชั้นต่าง ๆ โดยลืมชั้นดาดฟ้า แบบนี้ก็นับเป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันกับลานจอดรถชั้นทั่วไปได้ ดังนั้นต้องมีการออกแบบราวหรือขอบกันตกบนชั้นดาดฟ้าเอาไว้ด้วย

8.ช่องทางเดินเมื่อลงจากรถ – เป็นอีกจุดที่นักออกแบบหลายคนนึกไม่ถึงเพราะมัวแต่ให้ความสำคัญกับพื้นที่รองรับจำนวนรถที่เข้ามาจอด ซึ่งการมีช่องทางเดินเฉพาะอาจไม่ต้องใหญ่มาก แต่มันคือความปลอดภัยของคนใช้อาคารจอดรถแห่งนั้น ทำนองว่าจอดรถเรียบร้อยแล้วก็ต้องการเดินตามเส้นทางที่ปลอดภัย ไม่ใช่เดิน ๆ อยู่แล้วรถโผล่มาหรือบีบแตรไล่

9.มีอุปกรณ์จราจรต่าง ๆ ที่เหมาะสม – อย่างเสาทุกต้นควรมี ยางกันกระแทก เพื่อป้องกันรถไปชนโดนเสาแล้วเกิดความเสียหายทั้งเสาและรถคันดังกล่าว มี กรวยจราจร เอาไว้กั้นกรณีต้องจอดรถซ้อนคันเพื่อให้รถที่ขับเข้ามาใหม่มองเห็นชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น รถชนเพราะมองไม่เห็นแนวจอด เป็นต้น

10. ชั้น Lady Park ควรอยู่ชั้นกลาง ๆ –การจอดรถชั้นที่จอดได้เฉพาะผู้หญิงเพื่อต้องการสร้างความปลอดภัยให้กับสาว ๆ ดังนั้นอีกความลับที่นักออกแบบหลายคนคาดไม่ถึงคือ ควรจัดที่จอดในชั้นกลาง ๆ เช่น อาคารจอดรถมี 5 ชั้น ก็ควรให้มี Lady Park ชั้น 3 โดยมีเหตุผลเพราะหากเกิดอันตราย ชั้นเหล่านี้จะยังเป็นชั้นที่มีคนผ่านไปผ่านมาเสมอนั่นเอง

10 ความลับเหล่านี้ ร้านไทยจราจร เชื่อว่าจะทำให้การออกแบบลานจอดรถของคุณดีขึ้นมากกว่าเดิมอีกหลายเท่า เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่อาจคาดไม่ถึงกัน ก็ขอให้ลองนำไปใช้ดู

Block "content-bottom" not found