สัญญาณไฟจราจรคือเครื่องมือจราจรที่สำคัญ ซึ่งตามนิยามของกรมทางหลวงคือ สัญญาณไฟให้ผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติตาม อาจเป็นสัญญาณไฟทางแยก สัญญาณไฟทางข้าม สัญญาณไฟควบคุมช่องเดินรถ สัญญาณไฟกระพริบหรือสัญญาณไฟอื่น ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกและควบคุมการสัญจรของรถยนต์ การใช้งานจะใช้คู่กับตู้ควบคุมไฟจราจรซึ่งเป็นอุปกรณ์หรือส่วนประกอบที่ใช้ควบคุมการทำงานของไฟจราจร ซึ่งการนำอุปกรณ์ควบคุมการจราจรชนิดนี้ไฟใช้งานนั้นจำเป็นต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและผลกระทบในการใช้งานด้วย เพราะการใช้งานไฟจราจรในบางจุดอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการจราจรติดขัดสะสมได้ ดังนั้นเพื่อให้การติดตั้งไฟจราจรเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางกรมทางหลวงกำหนด และช่วยอำนวยให้การจราจรเป็นไปอย่างสะดวกและปลอดภัย ควรติดตั้งตามขั้นตอนที่ร้านไทยจราจร โดยเรามีคำแนะนำตามรายละเอียดต่อไปนี้
1.สำรวจปริมาณของรถที่สัญจร และช่องทางจราจร การติดตั้งสัญญาณไฟจราจรแต่ละครั้งควรพิจารณาช่องทางเดินรถและปริมาณรถที่ขับขี่บนท้องถนน โดยแยกการพิจารณาระหว่างช่องทางสายหลักและสายรอง เพื่อให้ติดตั้งไฟจราจรได้อย่างเหมาะสม ปริมาณรถที่จำเป็นต้องติดตั้งไฟจราจรคือรถทั้ง 2 ทิศทางมากกว่า 900 คันในช่วงที่มีรถสัญจรมากที่สุด หรือเส้นทางที่มีการจราจรมากที่สุดมีรถมากกว่า 100 คัน
2.สำรวจปริมาณการเกิดอุบัติเหตุ ในกรณีที่มีปริมาณยวดยานพาหนะไม่มาก แต่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุตั้งแต่ 5 ครั้งในรอบปี หรือเกิดความเสียหายมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป
3.สำรวจปริมาณคนข้ามถนน การติดตั้งสัญญาณไฟจราจรควรทำทันทีเมื่อปริมาณรถที่สัญจรมากกว่า 650 คัน และมีจำนวนคนข้ามถนนมากกว่า 200คน หรือในบริเวณที่ต้องการความระมัดระวังสูงอย่างบริเวณโรงเรียน หรือสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีคนข้ามไม่น้อยกว่า 20 คนต่อครั้ง และไม่มีไฟจราจรใด ๆ ในบริเวณใกล้เคียงระยะ 90 เมตร
4.การเลือกรูปแบบของหัวสัญญาณ หัวสัญญาณของไฟจราจรโดยทั่วไปนิยมใช้อยู่ 2 ขนาดคือขนาด 200 และ 300 มิลลิเมตร โดยการใช้หัวสัญญาณของไฟจราจรแบบทั่วไปจะอยู่ที่ 200 มิลลิเมตร แต่หากไฟจราจรมีลักษณะที่อยู่ห่างจากเส้นหยุดที่ 35 – 45 เมตร หรือมากกว่า 45 เมตร หรือมีการติดตั้งไฟจราจรบนเสาสูง หรือไฟจราจรอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ขับขี่คาดไม่ถึง หรือผู้ขับขี่มีอายุมากกว่า 65 ปีเป็นหลัก ควรพิจารณาใช้หัวสัญญาณที่ 300 มิลลิเมตร หรืออาจมีขนาดใหญ่มากกว่า โดยพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ
5.การเลือกรูปแบบของหัวสัญญาณ ไฟจราจรนอกจากจะใช้สีเหลือง แดง เขียวแล้วยังมีการนำหัวสัญญาณที่เป็นลูกศรบอกทางมาใช้งานด้วย กรณีไฟจราจรมีลักษณะเป็นแนวตั้งให้เริ่มตั้งแต่สีแดง เหลือง และสีเขียวลงมา หัวสัญญาณไฟสีเขียวอาจใช้รูปลูกศรแจ้งทิศทางได้ หรือหากเป็นลักษณะแนวนอนสัญญาณไฟสีแดงควรอยู่บริเวณขวาสุด เหลือง และเขียวไล่ตามลำดับมาทางซ้าย กรณีเพิ่มหัวลูกศรมากกว่าหัวสัญญาณทั้ง 3 สีอาจพิจารณาไว้ที่ด้านสีแดง หรือเขียว โดยพื้นสีควรตรงตามสัญญาณช่องทางที่ต้องการควบคุม
6.การเลือกตำแหน่งในการติดตั้งไฟจราจร การติดตั้งไฟจราจรในแต่ละช่องทางจราจรไม่ควรน้อยกว่า 2 ชุด คือชุดสัญลักษณ์ที่กำหนดให้ติดตั้งที่ด้านซ้ายใกล้ของช่องทางจราจร แต่เพื่อเพิ่มระยะในการมองเห็นควรพิจารณาติดตั้งขุดไฟจราจรที่บริเวณด้านซ้ายไกล ด้านขวาไกล ด้านขวาใกล้ หรือชุดไฟจราจรบนเสาสูง โดยพิจารณาจากจำนวนช่องจราจร และขนาดของทางแยกเป็นสำคัญ
7.การพิจารณาระยะปลอดไฟของไฟจราจร เพื่อป้องกันไม่ให้รถยนต์เฉี่ยวชนทำลายให้สัญญาณไฟจราจรเสียหาย รวมถึงการพิจารณาถึงความปลอดภัยของผู้คนที่สัญจรอยู่บนทางเท้าในกรณีที่เป็นไฟจราจรบนความสูงธรรมดาและตั้งบนไหล่ทางหรือทางเท้า ควรให้ดวงไฟอยู่ห่างจากขอบไหล่ทาง 6 เมตร ความสูงของดวงไฟจราจรขอบล่างห่างจากพื้นผิวถนนไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร กรณีไฟจราจรบนเสาสูงจุดศูนย์กลางของไฟจราจรห่างจากขอบทางหรือไหล่ทางไม่น้อยกว่า 0.8 เมตร และขอบล่างของไฟจราจรสูงจากพื้นผิวจราจรไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร โดยความยาวของแขนยื่นไม่ควรเกิน 4.5 เมตร และหากมีชุดไฟจราจร 2 ชุดบนเสาเดียว ไม่ควรอยู่ใกล้กันน้อยกว่า 0.3 เมตร
8.การพิจารณาอุปกรณ์ควบคุมการจราจร เพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมไฟจราจรควรเป็นระบบ Microprocessor ขนาด 8 bit หรือมากกว่า มีหน่วยความจำเพื่อบันทึกได้ชั่วคราวหรือถาวร ควบคุมทางแยกได้ไม่น้อยกว่า 4 phase และแยกการควบคุมได้ 4 เวลาเป็นอย่างน้อย กรณีฉุกเฉินสามารถใช้วิธี Manual control ได้
9.การพิจารณาแบตเตอรี่ กรณีใช้แบตเตอรี่แห้งควรมีความสามารถในการจ่ายกำลังไฟฟ้าได้นานไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง แม้ว่ากระแสไฟฟ้าหลักจะดับไปแล้ว
10.การพิจารณาตู้ควบคุม ลักษณะของตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจรที่ดีควรมีลักษณะเป็นเรียบ วัสดุไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งาน สามารถปกป้องระบบการทำงานภายในจากฝุ่นละออง การเกิดฟ้าผ่า รวมถึงการระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของตู้สัญญาณได้ดี
หากพิจารณาติดตั้งไฟจราจรตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ ร้านไทยจราจรเชื่อว่าไฟจราจรของท่านจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยควบคุมการสัญจรของรถยนต์ให้เป็นระเบียบ ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่สัญจรทุก ๆ คนได้ดี
Block "content-bottom" not found