อาคารที่ใช้งานเป็นคลังสินค้านั้นมักมีขนาดใหญ่กว่าอาคารที่อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก ทั้งยังเป็นอาคารที่จำเป็นต้องได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน การจัดเก็บสินค้าในปริมาณมาก ๆ พร้อม ๆ กับความสะดวกในการค้นหาเพื่อจัดส่งได้อย่างเต็มที่ และการออกแบบคลังสินค้าที่ดียังควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้วย อันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในกรณีที่สินค้าเสียหาย หรือพนักงานบาดเจ็บได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางร้านไทยจราจรขอแนะนำวิธีการออกแบบเพื่อให้คลังสินค้ามีความปลอดภัยอย่างเต็มที่ดังต่อไปนี้
1การตรวจสอบแสงสว่างภายในพื้นที่คลังสินค้า เนื่องจากแสงสว่างที่เพียงพอจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้า โดยมีประกาศจากกรมคุ้มครองสวัสดิการแรงงานให้แสงสว่างเฉลี่ยภายในพื้นที่คลังสินค้าต้องไม่น้อยกว่า 200 Lux และบริเวณที่มีแสงสว่างน้อยที่สุดต้องมีความสว่างไม่น้อยกว่า 100 Lux ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งระบบแสงสว่างภายในพื้นที่คลังสินค้าแล้ว ควรมีการตรวจสอบความเข้มของแสงตามบริเวณต่าง ๆ ด้วยว่าเหมาะสม และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้หรือไม่ โดยการติดตั้งระบบไฟภายในพื้นที่คลังสินค้าควรคำนึงถึงจุดอับแสงอันเนื่องมาจากการวางสินค้าขวางทางแสงเอาไว้ด้วย
2.การติดตั้งสัญลักษณ์เตือน และควบคุมการปฏิบัติ การทำงานภายในคลังสินค้ามักเต็มไปด้วยความเร่งรีบเพื่อให้สามารถจัดเก็บและจัดส่งสินค้าได้ตรงตามเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานละเลยกฎระเบียบหรือวิธีการทำงานที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานได้ จึงจำเป็นต้องนำป้ายจราจร ป้ายเตือน หรือระเบียบข้อปฏิบัติงานต่าง ๆ มาติดตั้งภายในพื้นที่คลังสินค้า เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้พนักงานเพิ่มความระมัดระวังในการปฏิบัติงานมากขึ้น ตัวอย่างเช่นป้ายควบคุมเส้นทางสัญจร ป้ายคำว่าระวัง เป็นต้น ซึ่งควรออกแบบตำแหน่งและความสูงที่จะทำการติดตั้งให้เหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติงาน
3.การควบคุมทางเข้าออก เนื่องจากพื้นที่ภายในพื้นที่คลังสินค้านั้นมีจำกัด ดังนั้นเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการวิ่งสวนเลนที่อาจส่งผลต่ออันตรายของผู้ปฏิบัติงานได้ ดังนั้นจึงควรมีการควบคุมทางเข้าออกให้ดีตั้งแต่ต้นทาง อาจใช้แผงกั้นจราจร หรือป้ายควบคุมมาติดตั้งบริเวณทางเข้าออก เพื่อป้องกันไม่ให้รถวิ่งสวนเลน และการออกแบบทางเข้าออกคลังสินค้าควรคำนึงถึงขนาดและความสูงของรถขนส่ง หรือรถที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายสินค้าเอาไว้ด้วย เพื่อให้มีความกว้างและความสูงที่เพียงพอ ไม่เสี่ยงการเกิดความเสียหายของโครงสร้างอาคารในระหว่างที่รถเข้าออก รวมไปถึงควรเว้นระยะสำหรับทางเดินด้วย
4.การออกแบบพื้นที่และสภาพแวดล้อมในการจัดเก็บ การออกแบบโครงสร้างอาคารของคลังสินค้า ควรพิจารณาประเภทของสินค้า ขนาดของสินค้าและปริมาณที่ต้องการจัดเก็บให้เหมาะสม อย่างในกรณีสินค้าอาหารหรือยาบางประเภทอาจมีความจำเป็นที่จะต้องติดตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิด้วย จำเป็นต้องออกแบบจุดติดตั้งระบบทำความเย็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาสินค้า หรือหากสินค้ามีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ไม่สามารถวางบนชั้นได้ ก็ควรเตรียมขนาดของพื้นที่ให้เพียงพอ ลดโอกาสการชนกระแทกให้สินค้าหรือพนักงานผู้ปฏิบัติงานบาดเจ็บได้
5.การออกแบบเส้นทางสัญจรภายในคลังสินค้า เส้นทางภายในคลังสินค้าควรคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้งผู้ปฏิบัติงาน รถขนส่ง และสินค้า เส้นทางภายในพื้นที่คลังสินค้าควรกว้างขวางเพียงพอที่ผู้ปฏิบัติงาน รถขนส่งและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ สามารถเข้าสู่พื้นที่การจัดเก็บได้โดยไม่เกะกะ หรือเกิดอันตรายจากการชนกระแทก ไม่ควรมีมุมเลี้ยวมากเกินไปจนกลายเป็นมุมอับที่ยากต่อการมองเห็น เส้นทางการเดินของคนและรถควรแยกออกจากกัน หรือหากทำไม่ได้ รถขนส่งควรมีการควบคุมความเร็วเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ที่เดินอยู่ ด้วยการติดตั้งยางชะลอความเร็วมาช่วย หรือมีสัญญาณเตือนอื่น ๆ เป็นต้น
6.การออกแบบระบบฉุกเฉิน การทำงานทุก ๆ ที่นั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินเอาไว้ด้วย โดยเฉพาะเหตุเพลิงไหม้ที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้า ผู้ปฏิบัติงานและทรัพย์สินอื่น ๆ เป็นจำนวนมหาศาลจนอาจประเมินค่าไม่ได้ ดังนั้นการออกแบบคลังสินค้าควรคำนึงถึงระบบฉุกเฉินต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยทั้งทางออกเวลาหนีไฟ สัญญาณเตือน ระบบตรวจจับควัน และอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรณีสินค้าหรือสิ่งของที่จัดเก็บในคลังสินค้ามีลักษณะไวไฟ ต้องเลือกใช้วัสดุที่มีความทนทานต่อการเกิดเปลวไฟได้ดี
7.การออกแบบระบบระบายอากาศ พื้นที่ภายในคลังสินค้ามักเต็มไปด้วยกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร้อน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เชื้อเพลิงของรถขนส่ง การใช้แรงงานเพื่อขนสิ่งของต่าง ๆ ภายในระยะเวลาอันจำกัด ลักษณะโครงสร้างอาคารมักเป็นระบบเมทัลชีทเพราะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งหากไม่ติดฉนวนจะทำให้อุณหภูมิความร้อนแผ่ลงมายังพื้นที่ทำงาน ส่งผลให้ภายในพื้นที่คลังสินค้าร้อนจนเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานได้ จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบระบบระบายอากาศที่เหมาะสม เพราะสภาพอากาศที่ดียังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้าอีกด้วย
8.การออกแบบระบบไฟฟ้า การใช้งานระบบไฟฟ้านั้นมีทั้งใช้เพื่องานแสงสว่าง ใช้เพื่องานระบายอากาศ หรือใช้เพื่องานอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า ซึ่งหากปล่อยให้เดินสายไฟอย่างอิสระย่อมเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากสายไฟที่ยาวระเกะระกะ หรืออาจเสี่ยงอันตรายในกรณีที่ไฟฟ้ารั่วได้ ดังนั้นการออกแบบอาคารจึงควรคำนึงถึงทางเดินของสายไฟ และมีการนำอุปกรณ์ป้องกันสายไฟมาติดตั้งด้วย อย่างเช่นการนำยางป้องกันสายเคเบิ้ลมาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยได้อีกด้วย
การทำงานในพื้นที่คลังสินค้าอาจมีอันตรายที่เกิดขึ้นได้ง่ายอยู่มากมาย ซึ่งอาจมาจากผู้ปฏิบัติงานประมาท การเสื่อมสภาพของวัสดุและอุปกรณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทางร้านไทยจราจรขอแนะนำว่าสามารถป้องกันได้ด้วยการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม โดยยึดหลักความปลอดภัยต้องมาก่อน
Block "content-bottom" not found