มาตรฐานกรวยจราจรมีขนาดเท่าไหร่ และแต่ละขนาดใช้กันอย่างไร?

กรวยจราจร

กรวยจราจรเป็นอุปกรณ์สำหรับอำนวยความสะดวกด้านการจราจรที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย เพราะใช้งานได้ง่ายสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งที่ต้องการได้สะดวก สามารถใช้ควบคุมการสัญจรทั้งบนทางเท้า อาคารจอดรถ หรือทางสาธารณะในลักษณะต่าง ๆ ได้สะดวก อย่างไรก็ดีร้านไทยจราจรขอชี้แจงว่ามีมาตรฐานที่กำหนดไว้โดยกระทรวงอุตสาหกรรมนั้นได้กำหนดขนาดของกรวยควบคุมการจราจรไว้ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ระดับความสูงและขนาดของฐานกรวย ความสูงตามมาตรฐานที่ดีสำหรับกรวบควบคุมการจราจรคือ 500 – 800 มิลลิเมตร ขนาดของฐานต้องสัมพันธ์กับความสูงของกรวยด้วย กรณีความสูง 500 มิลลิเมตรฐานของกรวยจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร แต่หากมีความสูงที่ 500 มิลลิเมตร ความกว้างของฐานจะต้องอยู่ที่ 340 – 360 มิลลิเมตร ส่วนกรวยที่มีความสูง 800 มิลลิเมตรจะมีฐานกว้างของกรวยที่ 420, 440 และ 460 มิลลิเมตร มีค่าความคลาดเคลื่อนได้ที่ 5 – 7 มิลลิเมตร

            2. ความกว้างของแถบสะท้อนแสง นอกจากความสูงและความกว้างของฐานกรวยจราจรจะต้องมีความสัมพันธ์กันแล้ว จำนวนและความกว้างของแถบสะท้อนแสงของกรวยก็ยังต้องสัมพันธ์กันอีกด้วย โดยกรวยที่มีความสูง 500 มิลลิเมตรต้องมีแถบสะท้อนแสงไม่น้อยกว่า 1 แถบ และมีความกว้างของแถบสะท้อนแสงที่ 100 – 150 มิลลิเมตร ส่วนกรวยที่มีความสูง 500 – 800 มิลลิเมตรจะต้องมีแถบสะท้อนแสงไม่น้อยกว่า 2 แถบ โดยแต่ละแถบมีความกว้างที่ 100 – 150 มิลลิเมตร และมีระยะห่างระหว่างแถบทั้ง 2 ที่ 50 – 60 มิลลิเมตร ระยะห่างจากปลายยอดกรวยจราจรกับแถบสะท้อนแสงคือ 75 – 100 มิลลิเมตร
                ด้วยขนาดที่กำหนดตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้กรวยที่พบเห็นได้ทั่วไปจะมีขนาดอยู่ที่ 500 – 1000 มิลลิเมตร วัสดุที่นำมาประกอบเป็นฐานจะมีทั้งวัสดุพลาสติก และยางคุณภาพสูง เพื่อให้ยึดเกาะพื้นผิวถนนได้ดี สามารถวางในพื้นที่ลาดชัน หรือมีแรงยึดเกาะพื้นผิวถนนน้อย ๆ ได้ดี หรือแม้ว่าจะมีลมแรง ๆ มาปะทะ กรวยควบคุมการจราจรก็จะไม่ล้มลง และเพื่อให้การใช้งานกรวยควบคุมการจราจรมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ควรเลือกขนาดของกรวยให้สัมพันธ์กับรูปแบบการใช้งานตามรายละเอียดต่อไปนี้

1. กรวยที่มีความสูงไม่เกิน 500 มิลลิเมตร คือกรวยที่วางเพื่อควบคุมการสัญจรของคนเดินเท้า หรือยวดยานพาหนะที่มีความเร็วต่ำ ๆ อย่างจักรยาน หรือสกู๊ตเตอร์ สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งบริเวณภายในและภายนอกอาคารได้ดี อย่างบริเวณทางเดินภายในตึกที่มีผู้คนเดินไปมามากมาย หรือบริเวณที่ต้องการควบคุมไม่ให้มีคนเดินผ่าน อาจเนื่องมาจากกำลังทำความสะอาด หรือพื้นผิวทางเดินกำลังได้รับการซ่อมแซมอยู่ การนำกรวยมากีดขวางบริเวณดังกล่าวเอาไว้ก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ที่สัญจรผ่านไปมาได้รับอันตรายได้ดี

 2. กรวยที่มีความสูง 700 – 800 มิลลิเมตร เป็นระดับความสูงของกรวยควบคุมการจราจรที่พบเห็นได้ทั่วไป เพราะสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ความสูงของกรวยเพียงพอที่รถยนต์ที่สัญจรผ่านไปมาจะมองเห็นได้ชัดเจน จึงสามารถนำมาใช้เพื่อกีดขวางรถยนต์ในกรณีที่เกิดรถเสียกลางท้องถนน หรือเกิดสารเคมีหกกระจายบนพื้นผิวถนนได้ดี ยิ่งกรณีกรวยจราจรพับได้ก็ยิ่งสะดวกในการพกพาไปใช้เมื่อรถยนต์เกิดเสียกลางทางได้ดี สร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานเมื่อประสบเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนนได้ดี หรือใช้ในกรณีกีดขวางเพื่อควบคุมเส้นทางสัญจรให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนด ป้องกันการย้อนศร หรือขับขี่สวนเลนกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               3. กรวยที่มีความสูงมากกว่า 1000 มิลลิเมตร เป็นกรวยที่มีขนาดสูงมากที่สุดที่สามารถซื้อหาได้จากร้านค้าทั่วไป เป็นกรวยที่นิยมนำมาใช้งานในลักษณะเฉพาะ เช่นในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง พื้นที่โรงงาน พื้นที่ทำเหมืองแร่ เพราะยวดยานพาหนะที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวมักมีขนาดใหญ่กว่ายวดยานพาหนะทั่วไปบนท้องถนน เพราะมีลักษณะพิเศษเพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้า หรือสิ่งของที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ หรือใช้เพื่อช่วยให้งานที่ใช้แรงมาก ๆ อย่างงานก่อสร้างสะดวก ง่าย และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น กรวยที่นำมาใช้จึงควรมีขนาดสูงกว่ากรวยตามท้องถนนทั่วไป เพื่อให้ยวดยานพาหนะเหล่านี้สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจนมากขึ้น

สรุป

              การเลือกกรวยจราจรมาใช้งานจึงเป็นการใช้งานที่คุ้มค่าและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้สัญจรไปมาและใช้รถใช้ถนนทุกคน การเลือกใช้งานจึงควรพิจารณาขนาดที่มีความเหมาะสม ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะชนิดต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่สัญจรผ่านไปมาสามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่หากบริเวณดังกล่าวมีลักษณะทึบแสง หรือเป็นการใช้งานในเวลากลางคืนควรพิจารณาเลือกใช้กรวยที่มีสีสันสะดุดตาอย่างสีเขียวสะท้อนแสง หรือกรวยที่มีระบบแสงสว่างที่ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
กรวยที่ดีควรมีความทนทานต่อแรงชน แรงกระแทก หรือแรงกดทับได้ดี เพราะการใช้งานกรวยนั้นจะอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงที่มียวดยานพาหนะ หรือผู้ที่สัญจรผ่านไปมาอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เสี่ยงต่อการถูกชน ถูกกระแทกได้ตลอดเวลา หากกรวยมีคุณภาพไม่เหมาะสมก็จะทำให้เสียหาย กลายเป็นความสิ้นเปลืองเป็นอย่างมาก ร้านไทยจราจรจึงขอแนะนำให้ท่านเลือกใช้กรวยโดยพิจารณาทั้งความสูง ลักษณะของแถบสะท้อนแสง ความกว้างของฐานกรวย และคุณภาพของเนื้อยางเป็นสำคัญ ก่อนพิจารณาถึงอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ต่อไป

Block "call-to-action" not found

Block "content-bottom" not found