อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน มีสาเหตุได้หลายอย่าง มีหลายกรณีที่คุณอาจคิดว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูก เพราะได้รับความเสียหาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว คุณอาจจะเป็นฝ่ายผิดก็ได้ ถ้าหากเข้าข่าย 8 สิ่งที่ ร้านไทยจราจร ได้รวบรวมนำมากล่าวไว้ ต่อไปนี้
- การขับรถด้วยอาการบกพร่องไม่สมบูรณ์ของสมองและร่างกาย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ ความอ่อนเพลีย ง่วงนอน หลับในขณะขับรถ แล้วทำให้ขับรถออกนอกถนน หรือไปชนกับ แบริเออร์กั้นน้ำ กรวยจราจร ชนรถคันอื่น ชนต้นไม้ พลิกคว่ำ ฯลฯ จนทำให้หน่วยกู้ภัยต้องมาช่วยกู้รถและนำคุณออกจากรถไปส่งโรงพยาบาลถ้าทางตำรวจได้มีการสืบหาสาเหตุและพบว่าเกิดจากการหลับในของตัวคุณ ก็ไม่สามารถที่จะไปเรียกร้องค่าเสียหายได้
หรือกรณีที่คุณมีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก โรคหัวใจ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดต่ำ ฯลฯ ถ้าอาการของโรคกำเริบช่วงที่กำลังขับรถ จนทำให้มีอุบัติเหตุ มีผู้เสียชีวิตหรือทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ก็ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบหรือต้องถูกดำเนินคดีในศาลด้วย
- การขับรถด้วยอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวตึงเครียด เช่น เพิ่งถูกไล่ออกจากงาน อกหัก ฯลฯ ทำให้คุณขาดสมาธิ จนเกิดการขับรถผิดกฎจราจร เช่น ขับรถแช่เลนขวา จนกีดขวางการจราจร ทำให้รถคันอื่นต้องบีบแตรไล่ หรือเปิดไฟไล่ เพื่อให้คุณเปลี่ยนเลนไปทางซ้าย หรือถ้ารถคันอื่นต้องการรีบแซงแล้วทำให้ไปไม่พ้น ซึ่งเป็นการผิดกฎจราจรและเป็นจุดบอดของการขับรถ ถ้าตำรวจมีการสืบหาสาเหตุพบว่าเกิดจากการที่คุณไม่มีสมาธิในการขับรถและขับรถแช่เลนขวาบนถนน คุณก็จะเป็นฝ่ายผิดและต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย
- การที่ไม่มีใบขับขี่ที่ตรงกับรถที่ใช้ เช่น คุณมีใบขับขี่รถส่วนบุคคล แต่ในวันนี้คุณใช้รถแท็กซี่ในการขับรถรับส่งผู้โดยสาร เช่น กรณีของการขับรถตาม Application ต่าง ๆ ไปรับผู้โดยสารหากเกิดปัญหาอุบัติเหตุใด ๆ เช่น ชนกับรถคันอื่นหรือ มีปัญหากับรถแท็กซี่คันอื่นในการแย่งผู้โดยสาร เกิดการชกต่อยหรือทำร้ายร่างกายกันแล้วตำรวจพบว่าคุณใช้ใบขับขี่ไม่ตรงกับประเภทของยานพาหนะ คุณก็จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายด้วย
- การขับรถตามหลังรถคันอื่นอย่างกระชั้นชิด แล้วเกิดการชนท้ายคันหน้า เพราะรถคันหน้ามีการเบรกอย่างกะทันหัน ไม่ว่าคุณจะเป็นนักขับขี่มือใหม่ ที่บอกว่ายังไม่ชำนาญในการกะระยะ หรือคุณจะให้เหตุผลว่าเกิดจากรถคันหน้าเบรกกะทันหัน แต่เมื่อมีการชนกัน คุณก็มีส่วนผิดด้วยเช่นกัน หากไกล่เกลี่ยกันได้ก็จะไม่เสียเวลามาก แต่ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ ก็ต้องเรียกบริษัทประกันหรือให้ตำรวจมาพิจารณาตามความเหมาะสม
- การขับรถสาธารณะแล้วปล่อยผู้โดยสารลงไม่ตรงตาม ป้ายจราจร เช่น รถตู้ รถเมล์ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หากมีการปล่อยผู้โดยสารลงระหว่างทางไม่ว่าจะเกิดจากผู้โดยสารไม่พอใจการบริการ หรือว่าผู้โดยสารต้องการรีบลงเพื่อไปต่อรถคันอื่นที่กำลังขับรถตามมาอย่างรวดเร็ว หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น มีรถมอเตอร์ไซค์ปาด มาจากด้านหลัง หรือมีผู้โดยสารวิ่งแล้วล้มจนมีรถทับทำให้พิการหรือเสียชีวิต ผู้ที่ต้องได้รับโทษทางกฎหมายคือ ผู้ขับขี่รถที่ปล่อยผู้โดยสารให้ลงกลางทาง ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้ขับขี่รถสาธารณะต้องใส่ใจในการกำชับผู้โดยสารให้ขึ้นลงรถตาม ป้ายจราจร เพื่อความปลอดภัยมากที่สุด
- คนที่ไม่เดินข้ามสะพานลอยหรือ ทางม้าลาย ตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่รอสัญญาณไฟจราจรเป็นรูปคนสีเขียว จึงจะข้ามถนนได้ ถ้ามีรถที่วิ่งมาตามสัญญาณไฟเขียวปกติของรถ แล้วเกิดการชนกับคน อาจทำให้เสียชีวิตได้ อุบัติเหตุลักษณะนี้ ผู้ที่ผิดคือผู้ที่ข้ามถนน ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ดังนั้น ถ้ามีกล้องวงจรปิดที่สังเกตเห็นเหตุการณ์ได้ชัดเจน หรือมีพยานยืนยันเหตุการณ์ได้ ผู้เสียหายก็จะไม่สามารถที่จะฟ้องร้องคนที่ขับรถยนต์ได้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอุบัติเหตุนี้ ก็คือ การข้ามถนนตรงบริเวณ ทางเดินคนข้าม โดยดูสัญญาณไฟประกอบหรือข้ามถนนด้วยสะพานลอยเท่านั้น
- อุบัติเหตุจากยางรถระเบิด การที่รถแล่นมาด้วยความเร็วสูงบนถนนลื่น เช่น ฤดูฝน แล้วเกิดอุบัติเหตุรถตกถนนหรือแหกโค้ง เกิดจากเจ้าของรถไม่ได้ดูแลเรื่องของคุณภาพยาง หรือไม่ได้เปลี่ยนยางตามเวลา ทำให้ยางระเบิดง่าย ถ้าตำรวจพบว่าสาเหตุเกิดจากคุณภาพของยางเอง ก็เท่ากับไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้
- การปรับเปลี่ยนรถ เช่น เพิ่มความแรงของรถ แต่งท่อไอเสีย ทำให้เกิดเสียงดัง เมื่อมีการนำรถไปใช้ในพื้นที่สาธารณะ แล้วเกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนหรือว่าสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น จนทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกันในภายหลัง ถือว่าผู้ที่เป็นเจ้าของรถมีความผิดด้วย
จะเห็นได้ว่าทั้ง 8 อุบัติเหตุที่ ร้านไทยจราจร ยกตัวอย่างมานั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ซึ่งผู้ที่กระทำผิด อาจเป็นผู้ขับรถเองหรือผู้ที่ข้ามถนนโดยไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรก็ได้ เราทุกคนจึงควรระมัดระวังมากขึ้น เพื่อช่วยกันลดปริมาณและความรุนแรงของอุบัติเหตุบนท้องถนน
Block "content-bottom" not found