จป. หรือ เจ้าหน้าที่ดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงงาน เป็นอาชีพที่ต้องรับผิดชอบสูง เนื่องจากต้องควบคุมดูแล ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ (งานเทคนิค) ระดับการวางแผนและมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (ระดับเทคนิคชั้นสูง และหัวหน้า จป.) และการประสานกับองค์กรภายนอก เพื่อการประเมินโรงงานตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ นอกจากต้องใส่ใจความปลอดภัยในขั้นตอนการทำงานที่เป็นลำดับเหมาะสมต่อการสร้างสินค้าหรือผลผลิตที่มีคุณภาพสมตามมาตรฐานของสินค้านั้น ๆ หรือ ISO แล้ว จป. ยังมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการสัญจรทั้งของบุคลากรและเครื่องจักรในการทำงาน ทั้งภายในและภายนอกโรงงานด้วย
ซึ่งร้านไทยจราจรได้ทำการรวบรวม 5 สิ่งด้านการจราจร ที่ จป.ต้องรับผิดชอบดูแลดังต่อไปนี้
- การจัดสรรอุปกรณ์การจราจรภายในโรงงานให้เพียงพอ คิดเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดโรงงานหรือจำนวนผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้พื้นที่ร่วมกัน และลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการทำงาน เช่น
– การกำหนดทิศทางการเดินทั้งพื้นราบและการขึ้น-ลงบันได ควรให้เป็นแบบแผนเดียวกัน เช่น ให้เดินชิดด้านขวามือเป็นหลัก โดยการติดเทปติดถนนสะท้อนแสง และเทปที่ตัดเป็นรูปลูกศรชี้ขึ้น-ลง สำหรับควบคุมทิศทางการเดิน ไม่ให้มีการชนกัน หรือไม่ให้คนเดินตัดหน้ารถสำหรับขนส่งลังใส่สิ่งของภายในโรงงาน เป็นต้น
– การวางกรวยจราจร แผงกั้นจราจร หรือ เสาหลักอ่อน ในจุดที่ห้ามเข้าชั่วคราว กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น น้ำหก ขวดแก้วแตก เพื่อป้องกันการเดินเหยียบลื่นหกล้ม หรืออาจเสี่ยงเกิดอันตรายถึงชีวิต หากถือของมีคมอยู่ในมือ เป็นต้น
- นอกจากความกว้างของทางเดินภายในโรงงานที่ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 ฟุตครึ่ง (ราว 30 นิ้ว) หรือกว้างกว่านี้ สำหรับการต้องขนส่งสิ่งของภายในโรงงานด้วย รถเข็นอเนกประสงค์ (ซึ่งมีลักษณะคล้ายรถเข็นห้างสรรพสินค้านั่นเอง)
จป. ยังต้องดูแล การทำสัญลักษณ์หรือมีป้ายเตือนระวังอันตราย ในจุดที่มีความลาดชันพื้นเทลงหรือยกขึ้นสูงจากระดับปกติ (ซึ่งควรมีองศาความชันไม่เกิน 15 องศา) หรือเป็นจุดมุมหักศอกในโรงงาน ซึ่งเป็นมุมอับสายตาทำให้เกิดการชนกันระหว่างคนกับรถส่งของในโรงงานได้
ซึ่งในปัจจุบัน มี “ตัวช่วย” หลายรูปแบบ ได้แก่
– เทปกันลื่น เป็นแถบเทปพิเศษ สำหรับติดที่พื้นเป็นแนวยาว เพื่อเป็นจุดสังเกตและเพิ่มความเสียดทานในการสัญจรไปมาภายในโรงงาน
– การติดกระจกโค้งจราจรเป็นตัวช่วยที่ทรงประสิทธิภาพ เพื่อทำให้มุมในการมองเห็นชัดขึ้น มีทั้งแบบที่ติดด้านบน เข้ามุมเพดาน และแบบเสาตั้งให้มุมมองเกิน 180 องศา
- จป. ต้องดูแลเรื่องแสงสว่างภายในและภายนอกอาคารโรงงานให้เพียงพอ 24 ชั่วโมง ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยตลอดเวลา ลดการเกิดอุบัติเหตุจากรถได้มาก
ทั้งนี้ ควรใช้อุปกรณ์ที่ไม่เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย เช่น ไฟกระพริบหรือโคมไฟถนนระบบโซล่าร์เซลล์ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมสูง เพราะมีอายุการใช้งานทนทานและประหยัดค่าไฟฟ้าได้ตั้งแต่เดือนแรกที่ติดตั้ง
- จป. ต้องตรวจสอบจุดเสี่ยงในการทำงาน โดยให้มีการติดป้ายเตือน สีน้ำเงิน ซึ่งมีความหมายสากลถึงการ “ให้ปฏิบัติตาม” ทั้งจำนวนและความชัดเจนของป้าย ต้องเหมาะสมกับการทำงานจริง เช่น สวมหมวกนิรภัย สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อชูชีพ (เช่น ทำงานในจุดที่ต้องขุดลอกท่อ หรือมีบ่อพักน้ำที่เสี่ยงต่อภัยทางน้ำได้) สวมชุดเอี๊ยมกันน้ำ เพื่อป้องกันตัวเองจากสารเคมีหรือสารพิษกระเด็นใส่ เป็นต้น
นอกจากนี้ ควรติดไฟหมุน ไฟไซเรน บริเวณหน้าห้องที่มีการปฏิบัติการทางเคมี เช่น มีการฉายสารรังสีเพื่อการถนอมอาหาร ฉายรังสียูวีเพื่อฆ่าเชื้อ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้คนอื่น ๆ ทราบว่ากำลังใช้พื้นที่อยู่ เป็นต้น
- นอกจากการจราจรภายในโรงงานแล้ว บริเวณรอบ ๆ อาคารก็ยังเป็นหน้าที่ในการดูแลที่ จป. ไม่ควรมองข้าม โดยควรมีอุปกรณ์จราจรที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับงานภายนอกอาคาร และเห็นได้ชัดเจนเพื่อป้องกันอุบัติภัยอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
– ควรมีป้ายหรืออุปกรณ์ ที่บังคับเดินรถทางเดียว ที่ชัดเจนสำหรับจุดเสี่ยงที่ต้องการความเข้มงวด เช่น จุดที่รับส่งสินค้าวัตถุดิบพรีเมี่ยม ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิและเวลา เป็นต้น
– ติดยางป้องกันสายเคเบิ้ล ที่พื้นถนนเพื่อป้องกันการเสียหายต่อสายไฟสายเคเบิ้ลจากน้ำหนักรถบรรทุกที่แล่นผ่านทุกวัน
– ติดยางกันรถลื่นและยางปีนฟุตบาท สำหรับการจราจรของรถนอกโรงงาน เพื่อป้องกันอุบัติภัยจากรถไหล
– ควรติดป้ายเตือน LED ติดท้ายรถ เพื่อเป็นที่สังเกตของคนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงได้
– การทำทางม้าลาย เพื่อให้พนักงานโรงงานสังเกตเป็นจุดข้ามถนน จะช่วยลดระยะปัญหาคนขวางทางรถขนส่งสินค้าเป็นระยะ ๆ ซึ่งทำให้ส่งสินค้าล่าช้าได้
จะเห็นได้ว่างานจราจรทั้งภายในตัวอาคารโรงงานและบริเวณรอบตัวอาคาร เป็นสิ่งจำเป็นที่ จป. ต้องใส่ใจ เพราะให้ผลดีอย่างชัดเจนทั้งด้านการลดอุบัติเหตุต่าง ๆ ต่อผู้ปฏิบัติงาน และช่วยให้เสริมประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้น สอดคล้องกับ KPI หรือการวัดผลการทำงานของแต่ละโรงงานที่ต้องการให้ทำงานได้ผลผลิตสัดส่วนสูงขึ้นเมื่อเทียบต่อหน่วยเวลา โดยให้มีเปอร์เซ็นต์อุบัติภัยที่น้อยที่สุด
หากท่านเป็นหนึ่งในบุคคลกรด้านงาน จป. หรือดูแลด้านความปลอดภัยของบุคคล ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณโรงงาน เราขอแนะนำสินค้ามีคุณภาพด้านการจราจร ของร้านไทยจราจร ที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพียงคลิกที่นี่ www.trafficthai.com
Block "content-bottom" not found