หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าเพียงการติดป้ายสัญลักษณ์ที่จำเป็น ในระดับที่มองเห็นได้ชัดเจน และอยู่ในระยะที่เหมาะสมแล้วก็จะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ดี หลายชีวิตที่สามารถรอดตายออกมาจากอาคารหรือสถานที่ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้แบบทันเวลา ก็เนื่องมาจากป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ การเรียนรู้ทำความเข้าใจว่าป้ายแต่ละชนิดว่าบ่งบอกถึงสิ่งใด สามารถช่วยผู้ประสบภัยในขณะเพลิงไหม้ได้อย่างไร ทางร้านไทยจราจรจึงอยากจะขอแนะนำและรายละเอียดของป้ายสัญลักษณ์ที่จำเป็นต่ออาคาร เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ที่อยู่ภายในอาคารตามรายละเอียดต่อไปนี้
1.ป้ายตั้งถังดับเพลิง การติดตั้งถังดับเพลิงนับว่ามีความจำเป็นต่อการรับมือกับเหตุไม่คาดฝันอย่างการเกิดเพลิงไหม้ที่จำเป็น เป็นอุปกรณ์ระงับเหตุที่ใช้ง่ายและหยิบเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกมากกว่าอุปกรณ์ดับเพลิงประเภทอื่น ๆ ติดตั้งง่ายไม่ต้องวางระบบท่อหรืออุปกรณ์ป้องกันให้วุ่นวาย แต่การติดตั้งถังดับเพลิงก็ต้องคำนึงถึงจุดในการจัดวางว่าสะดวกต่อการเข้าถึงหรือไม่ หากติดตั้งบนผนังต้องไม่สูงเกินเอื้อมถึง และต้องติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ในระยะไกล เพื่อให้ในขณะเกิดเพลิงไหม้สามารถหยิบใช้งานถังดับเพลิงได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาค้นหา ป้ายสำหรับถังดับเพลิงที่ดีควรมีขนาดใหญ่ มีตัวอักษรหรือภาพสัญลักษณ์ที่อ่านได้ชัดเจนแม้ในระยะไกล ใช้สีที่สะดุดตาอย่างสีขาวแดงเพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่าย
2.ป้ายทางออกฉุกเฉิน การอพยพออกจากอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ยิ่งรวดเร็วมากเท่าไรก็ยิ่งสร้างความปลอดภัยต่อผู้ที่อยู่ภายในอาคารได้มากเท่านั้น แต่บางครั้งทางออกเพียงทางเดียวก็อาจไม่เพียงพอต่อการเคลื่อนย้ายผู้คนภายในอาคารออกไปได้ จำเป็นต้องกำหนดเส้นทางพิเศษเพื่อการอพยพหนีไฟโดยเฉพาะ และเพื่อแจ้งให้ทุกคนภายในอาคารทราบก็ควรติดตั้ง 2.ป้ายทางออกฉุกเฉิน เพื่อแสดงทางออกฉุกเฉินให้ทุก ๆ คนภายในอาคารสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ขนาดและข้อความบนป้ายต้องสัมพันธ์กับระยะที่คนอยู่ห่างจากป้ายมากที่สุดเพื่อให้มองเห็นได้ง่าย กรณีทางออกจากอาคารมีลักษณะเป็นทางแยกหรือมีทางเลี้ยวต้องติดป้ายบริเวณดังกล่าวทุก ๆ จุดด้วยเพื่อป้องกันการหลงทิศทางในสภาวะที่ผิดปกติจากการเกิดเหตุเพลิงไหม้ และป้ายประเภทนี้ยังถูกบังคับให้มีระบบแสงสว่างในตัวที่จะส่องสว่างต่อเนื่องแม้ว่ากระแสไฟฟ้าปกติจะดับไปแล้วก็ตาม สีของป้ายจะเป็นสีขาวเขียวเพื่อบอกถึงการนำทางไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย
3.ป้ายสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ป้ายสัญญาณนี้นิยมใช้เป็นรูปสัญลักษณ์วงกลมเล็ก ๆ ตรงกลาง และมีสัญญาณคลื่นเสียงกระจายออกมาในลักษณะของรัศมี อาจใช้ร่วมกับข้อความเพื่อความชัดเจน การติดตั้งจะติดตั้งในบริเวณที่มีกริ่งสัญญาณเตือนภัยติดตั้งหรือจัดเก็บเอาไว้อยู่ เพื่อให้ผู้ที่พบเหตุเพลิงไหม้เป็นคนแรกสามารถส่งสัญญาณเตือนคนอื่น ๆ ภายในอาคารให้สามารถอพยพหรือเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงที โดยสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 ประเภทคือแบบที่ทำงานอัตโนมัติและแบบที่ต้องใช้คนกด ซึ่งทั้ง 2 ประเภทจะต้องมีการติดป้ายสัญลักษณ์แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน และควรมีการทดสอบว่าสัญญาณยังสามารถใช้งานได้ดีอยู่เสมอหรือไม่ ป้ายสัญลักษณ์นี้มักใช้สีขาวแดงเพื่อเตือนถึงอันตรายและการระมัดระวังในการนำไปใช้งานทุกครั้ง
4.ป้ายจุดรวมพล จุดรวมพลคือบริเวณที่กำหนดขึ้นเพื่อรวบรวมผู้คนที่อพยพออกมาจากอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ให้ได้มีการนับจำนวน ตรวจสอบผู้เสียหายหรือบาดเจ็บและดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสม โดยบริเวณจุดรวมพลจะต้องมีการติดตั้งป้ายสัญลักษณ์หรือข้อความให้ทุกคนภายในอาคารทราบอย่างชัดเจน มีการฝึกซ้อมเพื่อให้ทุกคนภายในอาคารทราบจุดรวมพลดังกล่าวเป็นประจำ บริเวณพื้นที่ดังกล่าวต้องง่ายต่อการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คน ไม่ใกล้อาคารจนเกินไป โดยป้ายสัญลักษณ์นั้นจะใช้สีขาวเขียวเป็นหลักเพื่อแสดงถึงความเป็นพื้นที่ปลอดภัย มีความสูงที่เพียงพอต่อการสังเกตเห็น หากใช้ข้อความแจ้งจะต้องเป็นภาษาที่ทุกคนภายในอาคารเข้าใจ อาจกำหนดความกว้างของพื้นที่ให้ชัดเจนโดยการนำเทปติดถนนสะท้อนแสงมาใช้กำหนดเขตได้
5.ป้ายชุดปฐมพยาบาล ในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่อยู่ภายในอาคาร ดังนั้นจึงควรมีการเตรียมชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นเอาไว้ด้วย อุปกรณ์ที่ต้องจัดเตรียมมีทั้งยาทาบาดแผล อุปกรณ์ห้ามเลือด และอุปกรณ์สำหรับทำแผลหรือพันรอบบริเวณที่บาดเจ็บเอาไว้ชั่วคราว ควรมีการกำหนดพื้นที่หรือบริเวณในการจัดเก็บที่ชัดเจน มีการติดป้ายสัญลักษณ์ชุดปฐมพยาบาลเอาไว้ด้วย และในบริเวณที่จัดเก็บยังควรติดตั้งไฟฉุกเฉินเพื่อให้มองเห็นได้แม้ว่าไฟฟ้าจะดับก็ตาม
ทางร้านไทยจราจรขอแนะนำว่าการติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ทุกชนิดที่กล่าวมานี้ควรมีระดับความสูงที่มากเพียงพอกับการสังเกตเห็นได้ชัดแม้อยู่ในระยะไกล การติดป้ายนอกจากคำนึงถึงผู้ที่อยู่ภายในอาคารสถานที่นั้นเป็นประจำแล้ว ยังควรคำนึงถึงผู้มาเยือนที่ต้องประสบเหตุเพลิงไหม้ร่วมไปด้วยอย่างไม่คาดผัน เพราะเขาเหล่านั้นอาจไม่ได้ร่วมซ้อมหรือทำความเข้าใจมาก่อนเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ประจำ ซึ่งจะทำให้ยากต่อการเอาตัวรอดได้ และควรดูแลรักษาให้ป้ายอยู่ในสภาพดี ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แสดงอยู่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉินอยู่เสมอ
Block "content-bottom" not found