สำหรับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องมีการใช้บริการอยู่ตลอดเวลานั้น ช่องจอดรถ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าไม่มีที่ให้ผู้มาใช้บริการสามารถจอดรถได้ จะทำให้เกิดการเบียดบังพื้นที่จราจรด้านนอก ผู้มาติดต่องานจะต้องนำรถออกไปจอดริมถนนบ้าง จนเกิดปัญหาการจราจรติดขัด เพราะช่องจราจรถูกยึดเป็นที่จอดรถไปเสียช่องหนึ่ง หรือไม่ ก็เกิดปัญหารถยนต์จอดปิดขวางทางเข้าออกอาคาร จนสร้างความลำบากให้กับการเข้าออกในอาคารได้ แต่เมื่อพูดถึงช่องจอดรถ คุณอาจจะไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว ถ้าจะทำช่องจอดรถให้ได้มาตรฐาน ต้องทำอย่างไร บางคนคิดว่าแค่เปิดประตูมาแล้วไม่ชน สามารถเข้าออกได้สะดวกก็เพียงพอแล้ว บางคน ใช้วิธีไปวัดช่องจอดรถจากห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ แล้วทำเลียนแบบเลย ถึงแม้ว่าการทำเลียนแบบจะทำให้คุณได้ช่องจอดรถใกล้เคียงมาตรฐานอยู่เหมือนกัน แต่ก็มีข้อเสียคือ คุณจะไม่รู้เลยว่าช่องจอดรถที่ได้มาตรฐานจริง ๆ หน้าตาเป็นอย่างไร ดังนั้นในวันนี้ ร้านไทยจราจร จะขอพาคุณไปดูกัน ว่าช่องจอดรถที่ได้มาตรฐาน มีลักษณะอย่างไร?
1.ขนาด ช่องจอดรถสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ ช่องจอดรถที่ขนานไปกับถนนใหญ่ และช่องจอดรถชนิดที่ตั้งฉากกับถนนใหญ่ ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ จะให้ขนาดที่แตกต่างกัน หากเป็นช่องจอดรถแบบขนานไปกับถนนใหญ่ จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ถ้าเป็นช่องจอดรถที่ตั้งฉากกับถนนใหญ่ จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร ด้วยขนาดตามที่กำหนดไว้นี้ จะช่วยให้ผู้จอดรถสามารถนำรถเข้าช่องได้สะดวก ไม่มีปัญหารถครูดกับขอบทาง หรือจอดแล้วเปิดประตูออกลำบาก โดยเฉพาะที่จอดรถที่ต้องจอดรวมกับรถคันอื่น ๆ หรือที่จอดรถที่อยู่ในอาคาร ยิ่งต้องมีขนาดได้มาตรฐาน เพื่อให้การจอดรถทำได้อย่างสะดวกที่สุด อย่างไรก็ตาม ขนาดที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช่ขนาดที่ต้องทำตามตายตัว คุณสามารถขยายให้กว้างกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีพื้นที่แค่ไหน แต่โดยทั่วไป ในช่องจอดรถ 1 ช่อง ไม่ควรมีความกว้างเกิน 3 เมตร และความยาวไม่ควรเกิน 8 เมตร พูดง่าย ๆ ก็คือ ใน 1 ซอง จะต้องจอดรถได้เพียงคันเดียว อย่างไม่กินที่ในอาคารหรือบนลานมากนัก
2.อุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบช่องจอดรถ หลายคนคิดว่าแค่วัดพื้นที่ให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนด แล้วตีเส้นให้พอดี ก็เพียงพอที่จะเป็นช่องจอดรถที่ดีแล้ว ขอบอกเลยว่าเป็นความคิดที่ผิด เพราะพื้นที่ลานจอดรถแต่ละแห่งนั้นไม่เหมือนกัน บางแห่งอาจจะเป็นที่ราบ แต่บางแห่งก็อาจจะเป็นพื้นที่ที่มีความลาดเอียง ถ้าไม่มีอุปกรณ์ประกอบ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหารถไหล หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ หากลานจอดรถใดที่มีพื้นที่ลักษณะดังกล่าว ควรติดตั้งยางกั้นล้อรถไว้ที่ด้านในสุดของช่อง เมื่อรถเข้าจอด ยางกั้นจะช่วยป้องกันไม่ให้รถไหลได้ กับอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่ร้านไทยจราจรแนะนำว่าควรมี ก็คือ หมุดปักถนนสะท้อนแสง เพื่ออำนวยความสะดวกในการจอดรถ ในกรณีที่ลานจอดรถ หรืออาคารจอดรถค่อนข้างมืด หรือการจอดรถในเวลากลางคืน นอกจากนี้ บนถนนเส้นหลัก หรือช่องทางเดินรถก่อนที่จะเข้าสู่ช่อง ควรติดตั้งยางชะลอความเร็ว เพื่อให้รถยนต์ที่ขับเข้าลานจอดรถขับด้วยความเร็วต่ำ ใช้ความระมัดระวังในการเข้าสู่ลานจอดรถมากยิ่งขึ้น
3.การตีเส้น ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับช่องจอดรถ คือ ต้องมีการตีเส้น แสดงขอบเขตและลักษณะของพื้นที่ช่องจอดรถให้ชัดเจน เพื่อให้รถแต่ละคันรู้ว่าช่องจอดรถของตนเองมีขอบเขตแค่ไหน และระมัดระวัง จอดให้ตรงช่อง ไม่คร่อมไปยังช่องจอดรถช่องอื่น รวมทั้งยังป้องกันไม่ให้รถคันอื่นล้ำเข้ามาในช่องจอดรถของตนเองด้วย
4.พื้นผิวของช่องจราจร ร้านไทยจราจรขอแนะนำว่า ควรใช้พื้นที่เป็นคอนกรีต หรือพื้นผิวลาดยาง เพราะเป็นพื้นผิวที่มีความทนทานสูง รับน้ำหนักรถยนต์ได้ดี โดยการจัดการพื้นผิวสำหรับช่องจอดรถ ควรทำให้มีความเรียบเสมอกันที่สุดเท่าที่พื้นที่นั้นจะอำนวยให้ได้ อย่าทำพื้นแบบเล่นระดับ มีสูงมีต่ำสลับกัน เนื่องจากจะทำให้การจอดรถไม่ปลอดภัย เกิดปัญหารถไหล หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างจอดรถ แถมยังทำให้เข้าออกรถได้ยากอีกด้วย
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็คือ รายละเอียดของลานจอดรถที่ได้มาตรฐานที่ร้านไทยจราจรได้รวบรวมมาให้คุณดู อาคารใดที่กำลังคิดจะทำลานจอดรถสักลานหนึ่ง ขอให้ทำตามขั้นตอนดังที่กล่าว จัดหาอุปกรณ์ให้ครบถ้วน กำหนดความกว้างของช่องจอดรถไว้ให้เหมาะสม รวมถึงมีป้ายเพียงพอ เท่านี้ช่องจราจรในอาคารก็จะได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยสูงแล้ว แต่ถ้าสถานที่ของคุณมีปัญหา ไม่สามารถทำที่จอดรถให้มีขนาดใหญ่ตามที่ต้องการได้ ก็ไม่ต้องกังวลไป แค่คุณจัดการพื้นที่ให้สามารถเข้าออกรถได้สะดวก เปิดประตูรถออกไปได้สุดทั้ง 2 ฝั่ง ไม่ติดเสาหรือติดผนัง เท่านี้ก็ถือว่าเป็นลานจอดรถที่ใช้งานได้ ไม่มีปัญหาใด ๆ แล้ว
Block "content-bottom" not found