“ปอด” เป็นอวัยวะที่มีส่วนสำคัญต่อระบบหายใจของเรา โดยเป็นส่วนควบคุมการหายใจเข้าและออก เป็นส่วนที่รับเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย แจกจ่ายไปตามระบบไหลเวียนโลหิตเพื่อหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ รวมถึงสมอง และรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์จากระบบของร่างกายเพื่อปล่อยออกมา หากมีเหตุทำให้การหายใจของเราติดขัดหรือทำให้เราหยุดหายใจเช่นการจมน้ำ ไฟฟ้าช็อตจนหมดสติ มีสิ่งแปลกปลอมติดในหลอดลม ฯลฯ กระบวนการทำงานนี้ก็จะหยุดชะงักไป และหากสมองเราไม่ได้รับออกซิเจนเพียงระยะเวลาประมาณห้านาที การทำงานก็จะผิดปกติตลอดไป แทบจะไม่มีโอกาสเลยที่จะกลับมาฟื้นคืนเป็นปกติได้ ฉะนั้นการช่วยหายใจหรือ “การผายปอด” จึงเป็นสิ่งจำเป็น หากคุณยังไม่รู้วิธี หรือไม่แน่ใจในวิธีที่ถูกต้อง วันนี้ ร้านไทยจราจร ผู้จำหน่าย ตะขอช่วยชีวิต และ เสื้อชูชีพ ป้องกันการจมน้ำ มีคำตอบมาให้คุณ โดยเราจะนำเสนอคุณด้วย 4 วิธีในการช่วยหายใจ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลย
1. เริ่มกันด้วยวิธีการเป่าปากหรือที่เรียกกันว่า Mouth-to-mouth
น่าจะเป็นวิธีการช่วยหายใจที่ได้รับความนิยมที่สุดแล้ว เป็นวิธีแรกที่เรานึกถึงเมื่อจะทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการช่วยหายใจ มีขั้นตอนคือ
• ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมหรือเสมหะอยู่ในปากของผู้ป่วยหรือไม่ หากมีให้กำจัดออก เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวขัดขวางทางเดินหายใจได้
• ให้ผู้ป่วยนอนในลักษณะที่ศีรษะอยู่ต่ำกว่าระดับไหล่ พูดให้เห็นภาพได้ชัดคือหากผู้ป่วยนอนหงาย เราจะต้องหาผ้าพับหลายชั้นหรือวัสดุอื่นมาหนุนไหล่ให้สูงขึ้น เพื่อให้ศีรษะของผู้ป่วยเงยไปด้านหลังให้มากที่สุด การทำเช่นนี้เพื่อไม่ให้ลิ้นไปปิดกั้นทางเดินหายใจ
• อ้าปากของผู้ป่วยให้กว้างที่สุด ประกบปากของเรา ใช้มือบีบจมูกของผู้ป่วยไว้ เป่าลมเข้าไปอย่างเต็มที่ จนกระทั่งเห็นทรวงอกของผู้ป่วยขยายตัวขึ้น
• จากนั้นถอนปากที่ประกบไว้ออกมา ให้ผู้ป่วยหายใจเองโดยสังเกตว่าทรวงอกลดต่ำลง เริ่มเป่าลมอีกครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ประมาณ 12 ครั้งต่อนาที (ระยะห่างต่อครั้งคือ 5 วินาที) ซึ่งหากเป็นการผายปอดให้เด็ก การเป่าลมจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ครั้งต่อนาที
2. การช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าจมูก
ขั้นตอนและวิธีการจะเหมือนกับการเป่าปาก (สามารถทำตามขั้นตอนทุกอย่างจากวิธีในข้อหนึ่งได้ทันที) เพียงแต่ในขั้นตอนการเป่าลม เราจะใช้มือบีบปากของผู้ป่วยไว้และเป่าลมเข้าจมูก ซึ่งถ้าสังเกตขั้นตอนให้ดี การใช้มือกับการเป่าลมในวิธีนี้จะสลับกับวิธีแรก ส่วนเรื่องจำนวนครั้ง ระยะห่างระหว่างการเป่าลมหนึ่งครั้ง และการสังเกตทรวงอก ไม่มีอะไรต่างกัน
อนึ่ง มีรายงานทางสุขภาพกล่าวว่าวิธีการช่วยหายใจแบบนี้บางครั้งก็ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยกลับมาหายใจเองได้ เพราะเหตุแห่งการหยุดหายใจนั้นต่างกัน บางครั้งอาจเกิดจากการหมดสติ ซึ่งอาจเป็นอาการของภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือบางคนก็เกิดจากการสัมผัสกับควันพิษและสารเคมี ซึ่งการช่วยเหลือด้วยวิธีเป่าปากก็อาจทำให้ผู้ช่วยเหลือได้รับอันตราย จึงมีผู้นำเสนอวิธีอื่นไว้เพิ่มเติมคือ
3. การผายปอดด้วยวิธีกดทรวงอก
เหมาะกับการช่วยหายใจในผู้ที่สัมผัสสารเคมีซึ่งผู้ช่วยเหลือก็ไม่ควรใช้การเป่าปากเพราะอาจได้รับอันตรายจากสารพิษไปด้วย วิธีนี้มีขั้นตอนคือ
• ให้ผู้ป่วยนอนในท่าเดียวกับวิธีการเป่าปาก โดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าระดับไหล่ด้วยการหนุนไหล่ขึ้น
• ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าอยู่ที่เหนือศีรษะของผู้ป่วย เพื่อการถ่ายเทน้ำหนักได้อย่างสะดวก
• พับแขนของผู้ป่วยขึ้นมา โดยให้มือวางอยู่บนอก วิธีนี้จะช่วยขยายปอดและเปิดกระบังลมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบการหายใจ
• จากนั้นจับข้อมือผู้ป่วยทั้งสองข้าง เทน้ำหนักกดลงไปที่ข้อมือ วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยหายใจออกและขับเอาน้ำที่ตกค้างออกมา
• คลายน้ำหนักที่กดไว้ ยกข้อมือของผู้ป่วยขึ้น ขั้นตอนนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยเริ่มหายใจเข้าด้วยตัวเอง
• ทำตามขั้นตอนทั้งหมดนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้ด้วยตัวเอง
4. วิธีแยกแขนพร้อมกับการกดหลัง มีขั้นตอนคือ
• ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ พับแขนเข้าหากัน หนุนอยู่ใต้คาง ด้วยการนอนแบบนี้ ศีรษะของผู้ป่วยจะอยู่ระดับต่ำกว่าไหล่โดยอัตโนมัติ
• ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าอยู่เหนือศีรษะของผู้ป่วย วางมือทั้งสองไว้บริเวณหลังส่วนบนของผู้ป่วย วางตำแหน่งมือให้อยู่ถัดจากกระดูกสะบักลงไป
• โน้มตัวไปข้างหน้า เทน้ำหนักกดลงไป วิธีนี้เท่ากับเป็นการกดทรวงอกเช่นเดียวกับวิธีก่อนหน้า แต่จะช่วยให้ผู้ป่วยขับน้ำที่ตกค้างอยู่ออกมาได้ดีกว่า เพราะน้ำจะออกมาตามแรงโน้มถ่วง ทำให้เหมาะอย่างยิ่งกับการช่วยหายใจในคนจมน้ำที่จะมีน้ำตกค้างอยู่จำนวนมาก
• จากนั้นดึงน้ำหนักกลับ พร้อมกับแยกแขนของผู้ป่วยออกด้วย วิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ปอดและกระบังลมขยายตัว ช่วยให้การหายใจทำได้สะดวกขึ้น
• ทำการกดหลังซ้ำ และทำซ้ำขั้นตอนเดิม จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้ด้วยตัวเอง
การผายปอดอย่างถูกวิธีและเหมาะกับต้นเหตุแห่งการหยุดหายใจ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีก่อนการส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อดำเนินการรักษาต่อ มีส่วนอย่างมากในการช่วยชีวิตผู้ป่วยก่อนถึงมือแพทย์ ร้านไทยจราจร ผู้จำหน่าย ห่วงชูชีพ และ ตะขอช่วยชีวิต หวังว่าหลังจากอ่านบทความนี้ คุณจะตั้งสติได้อย่างมั่นคงเมื่อเจอคนหยุดหายใจและหมดสติอยู่ตรงหน้า และพร้อมทุกสถานการณ์ในการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้เพื่อนร่วมทางของคุณได้รับโอกาสมากขึ้นในการมีชีวิตรอดและใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติต่อไป
Block "content-bottom" not found