ห้างสรรพสินค้าต้องรู้ ควรมีช่องจอดคนพิการกี่ช่อง??

เมื่อเร็ว ๆ นี้ คุณคงเคยได้ยินมาบ้างว่ามีการพูดถึงช่องจอดรถคนพิการในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะพูดถึงกันมาก ว่าที่จอดรถคนพิการมีจำนวนน้อยเกินไปบ้าง หรือไม่ก็กลายเป็นที่จอดรถให้คนทั่วไป (ที่มีความพิการทางจิตใจ) มาลักไก่จอดกันบ้าง เมื่อคนพิการจริง ๆ ต้องมาจอด ก็ไม่สามารถจอดได้ สร้างภาระให้กับทั้งตัวคนพิการและผู้ดูแลอาคารเป็นอย่างมาก เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้น ก็ทำให้ใครหลายคนเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า สรุปแล้วที่เราจัดที่จอดรถคนพิการในห้างอย่างทุกวันนี้ถือว่าเพียงพอแล้วยัง น้อยเกินไปไหม หรือมากเกินไป วันนี้ ร้านไทยจราจรจะขอมาไขข้อสงสัยจุดนี้ให้ทุกคนได้รู้กัน

โดยในทางกฎหมาย มีการกำหนดจำนวนจุดติดตั้งที่จอดรถคนพิการไว้อย่างชัดเจนว่า ในอาคารจอดรถ หรือลานจอดรถที่มีรถจอดได้มากกว่า 10 คัน แต่ไม่เกิน 50 คัน จะต้องมีจุดจอดรถคนพิการอย่างน้อย 1 จุด ส่วนถ้าลานจอดรถ หรืออาคารจอดรถนั้นสามารถจอดได้ 50 คัน แต่ไม่เกิน 100 คัน ต้องมีช่องจอดรถคนพิการอย่างน้อย 2 คัน และถ้ามีมากกว่า 100 คัน ให้เพิ่มช่องจอดรถคนพิการทุก ๆ 1 ช่อง ต่อ 100 คันที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ สมมติว่าห้างสรรพสินค้า A มีลานจอดรถที่จุรถได้ 300 คัน จะต้องมีช่องจอดคนพิการอย่างน้อย 5 จุด โดยสามารถติดตั้งมากกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด หากว่าห้างสรรพสินค้าใดที่มีจุดจอดรถคนพิการไม่เพียงพอ จนทำให้ผู้พิการได้รับความลำบาก มีโทษปรับ

ด้วยเหตุนี้ หากคุณได้มีโอกาสไปห้างสรรพสินค้าที่มีอาคารจอดรถ หรือลานจอดรถขนาดใหญ่ชนิดที่ว่ารับรถได้หลายร้อยคัน จะเห็นช่องจอดรถคนพิการอยู่ตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะที่หัวแถวของจุดจอดรถ ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับประตูห้างมากที่สุด เมื่อผู้พิการลงจากรถ ก็สามารถนั่งรถเข็น หรือเตรียมตัวเพื่อเข้าห้างได้เลย ไม่ต้องเดินจากท้ายลานจอดรถเพื่อเข้าห้างให้ลำบาก และเมื่อผู้พิการทำธุระในห้างสรรพสินค้าเสร็จแล้ว ก็สามารถขึ้นรถได้ทันทีเพื่อกลับบ้าน สรุปได้ว่า ห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ จะจัดช่องจอดรถคนพิการไว้ในจุดที่สะดวก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนพิการตามข้อบัญญัติของกฎหมายอยู่แล้ว

ต่อมา ร้านไทยจราจร ขอนำทุกท่านมาดูประเด็นที่หลายคนข้องใจ ว่าในเมื่อช่องจอดคนพิการในห้างสรรพสินค้ามีเพียงพออยู่แล้ว แล้วเพราะเหตุใด จึงยังมีปัญหาคนพิการไม่มีที่จอดรถอยู่ หรือที่จอดไม่เพียงพออยู่อีก ก่อนอื่น ต้องบอกก่อนว่า ปกติตามช่องจอดรถคนพิการ จะถูกนำแผงกั้นจราจรมาปิดไว้เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้รถคันอื่นเข้าไปจอดเองโดยพลการ หากต้องการจอด จะต้องติดต่อผู้รักษาความปลอดภัยที่ดูแลพื้นที่ส่วนนั้น พร้อมทั้งแสดงตัวว่าเป็นคนพิการก่อน จึงจะได้รับอนุญาตให้จอดรถบริเวณนี้ได้ แต่ที่คุณเห็นว่าในหลาย ๆ ครั้งมีคนปกติเข้าไปจอด ส่วนนี้ก็อาจสันนิษฐานได้หลายอย่าง เช่น ก่อนหน้านี้มีคนพิการนั่งมาด้วย แต่ได้รับคำแนะนำจาก รปภ. ผู้รักษาอาคาร ว่าให้ลงจากรถมาพักในจุดรักษาความปลอดภัยก่อนได้ แล้วให้ญาติที่ทำหน้าที่ขับรถมาให้นำรถไปเก็บ เพราะถ้าจะให้เข้าห้างจากทางด้านลานจอดรถ อาจสร้างความเหน็ดเหนื่อยให้กับตัวคนพิการได้ โดยเฉพาะถ้าคนพิการนั้นจำเป็นต้องใช้รถเข็น หรือเป็นคนที่มีอายุมากแล้ว กรณีนี้ถือว่าไม่ผิด กับอีกกรณีหนึ่งคือ เป็นคนปกติจริง ๆ ไม่ได้มีญาติ หรือใครเป็นผู้พิการทั้งนั้น คนเหล่านี้มักจะใช้วิธีจ่ายเงินหรือซื้อของมาฝาก รปภ. พูดง่าย ๆ ก็คือติดสินบนนั่นแหละ จึงได้เข้าไปจอดในจุดจอดรถคนพิการ กับอีกกรณีหนึ่ง คือ ช่องจอดคนพิการไม่ได้มีแผงจราจรกั้น ดังนั้นจึงทำให้คนปกติแอบเข้าไปจอดได้

หากสาเหตุของปัญหามาจาก 2 ข้อหลัง คุณสามารถแก้ไขได้ด้วยการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น หัวหน้าฝ่ายดูแลอาคารให้ทราบ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ แต่ถ้าหากแจ้งแล้ว แต่พบว่ายังไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีเท่าที่ควร คุณก็สามารถดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไปได้ แต่ขอแนะนำว่า ไม่ควรใช้วิธีแอบถ่ายรูป แล้วนำมาลง Social Network โดยหวังจะให้คนใน Social เป็นปัจจัยในการแก้ปัญหาเด็ดขาด เพราะอาจกลายเป็นช่องทำให้ฝ่ายอาคารของห้างสรรพสินค้าดังกล่าวโจมตีคุณกลับได้ ว่าสร้างเรื่องทำให้ห้างสรรพสินค้าเสื่อมเสียชื่อเสียง แล้วคุณก็จะกลายเป็นผู้ที่โดนดำเนินคดีเสียเอง

จากรายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมด ร้านไทยจราจรเชื่อว่าคุณคงพอจะทราบแล้ว ว่าตามลานจอดรถ หรืออาคารจอดรถในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องมีจุดจอดรถอย่างน้อยกี่จุด และถ้าหากพบว่าช่องจอดคนพิการที่อยู่ในห้างสรรพสินค้านั้นอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน หรือมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น คุณต้องจัดการกับปัญหาอย่างไร โดยร้านไทยจราจรขอแนะนำให้คุณแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง ไม่ใช้อารมณ์ หรือโพสภาพห้างสรรพสินค้าดังกล่าวลง Social เพื่อหวังให้คนอื่นมารุมด่า เพราะบางทีรถที่คุณเห็น อาจจะเป็นรถของคนพิการจริง ๆ ก็ได้ ถ้าทำอะไรบุ่มบ่ามไป คนที่จะเดือดร้อนก็คือตัวคุณเอง

 

Block "content-bottom" not found