เคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ว่าถนนในบ้านเรากับถนนต่างประเทศที่เขาพัฒนาแล้วถึงได้มีมาตรฐานต่างกัน คำว่ามาตรฐานต่างกันในที่นี้เชื่อว่าหลายคนคงเห็นอย่างชัดเจนมาก ๆ โดยเฉพาะคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเหล่านั้นนาน ๆ เมื่อเทียบกับบ้านเราจะสัมผัสได้เลยว่าต่างประเทศจะมีการพังเสียหายของถนนในระดับต่ำมาก ๆ พอมองย้อนกลับมาดูเมืองไทย ถนนบางพื้นที่ทำขึ้นมาได้ยังไม่ถึงปีก็เกิดความเสียหายขึ้นมาเฉยเลย เล่นเอางงไปตาม ๆ กันว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ทั้ง ๆ ที่รูปแบบการสร้างก็คงไม่ต่างกันเท่าไหร่ ร้านไทยจราจร เลยจะพามาดูเหตุผลที่ต่างประเทศถนนเขาไมได้พังเหมือนบ้านเรา
1. ความต่างเรื่องการคำนวณโครงสร้าง – ต่างประเทศหลาย ๆ ชาติ เช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้ หรือทางยุโรปมักมีปัญหาเรื่องของแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อย นั่นทำให้การคำนวณโครงสร้างถนนของพวกเขาจะต้องแข็งแกร่งกว่าเมืองไทยที่ไม่ค่อยเกิดเหตุการณ์แบบนี้หลายเท่ามาก ๆ ดังนั้นเมื่อมีการคำนวณเรื่องโครงสร้างให้หนาและแข็งแกร่งมากกว่า จึงเป็นเรื่องปกติที่ความแข็งแรงทนทานของถนนในประเทศเหล่านั้นจะสูงกว่าประเทศไทยเราที่ไม่ได้ทำโครงสร้างเพื่อรองรับเรื่องเหล่านี้
2. สภาพอากาศ – หลาย ๆ คนอาจคาดไม่ถึงว่าเรื่องสภาพอากาศส่งผลต่อเรื่องของถนนด้วยเหมือนกัน อย่างบ้านเราเป็นสภาพอากาศแบบร้อนชื้นดังนั้นบรรดาคอนกรีตหรือปูนต่าง ๆ ที่ผสมลงไปเพื่อใช้สร้างถนนในระดับเท่ากันจะเกิดการคลายตัวและแตกระแหงได้ง่ายกว่าสภาพอากาศของเมืองนอกบางประเทศหนาวเย็น แห้ง มันก็เลยทำให้อายุการใช้งานต่างกัน
3. เรื่องของการดูแลรักษา – เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับว่าด้วยระเบียบต่าง ๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของต่างประเทศเขามีระบบการบำรุงรักษาอย่างดีเยี่ยม มีรูปแบบของการดูแลถนนหนทางต่าง ๆ ชัดเจน นั่นทำให้พอตรงจุดไหนมีปัญหา ก็จะมีการดำเนินการซ่อมแซมทันที หรือมีการตรวจสอบอายุของถนนเพื่อซ่อมแซมจุดต่าง ๆ เสมอ ผิดกับบ้านเราที่เรื่องการบำรุงรักษายังเป็นสิ่งด้อยคุณภาพมาก ๆ ถนนบางแห่งสร้างมาเป็นสิบปีแต่ไม่เคยมีใครเข้าไปดูแลเลย
4. ปัญหาคอรัปชั่น – แม้ดูเป็นเรื่องไม่ดีแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างมาก ๆ ระหว่างการก่อสร้างถนนในไทยกับต่างประเทศคือปัญหาเรื่องของการคอรัปชั่น เราอาจบอกไม่ได้ว่าที่ไหนในบ้านเรามีการคอรัปชั่นหรือไม่มี แต่สำหรับคนในแวดวงบางคนอาจรู้อยู่แก่ใจว่าเกิดขึ้นตรงไหนบ้าง เชื่อว่าหากตัดปัญหาตรงนี้ในบ้านเราไปได้ จะทำให้ถนนหรืออุปกรณ์จราจรต่าง ๆ บนท้องถนน เช่น หมุดถนนโซล่าเซลล์, โคมไฟถนนโซล่าเซลล์, เสาหลักอ่อน มีคุณภาพมากกว่านี้อีกเยอะเลย
5. การเคารพในกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด – ต่างประเทศถนนบางสายจะมีการบอกชัดเจนว่าคุณต้องจัดความเร็วเท่าไหร่, รถที่วิ่งห้ามมีน้ำหนักเกินเท่าไหร่ เพราะสิ่งเหล่านี้หากเกินมาตรฐานที่เขากำหนดจะส่งผลกระทบต่อถนนอย่างมาก จากที่ระยะเวลาในการซ่อมแซมหลังสร้างเสร็จ 10 ปี อาจเหลือแค่ 5 ปี แล้วใครทำผิดกฎคือถูกดำเนินคดีจริง ปรับจริง ไม่มีข้อยกเว้น หันกลับมามองที่บ้านเราบางครั้งมี ป้ายจราจร ติดเอาไว้ให้วิ่งได้ความเร็วไม่เกินกำหนดเท่านี้ก็ไม่สนใจ บอกให้รถบรรทุกเข้าด่านชั่งก่อนก็ไม่สนใจ มันเลยส่งผลให้ถนนในบ้านเราพังเสียหายก่อนเวลาอันควร
6. ความใส่ใจของพลเมือง – อันนี้ก็เป็นอีกสิ่งที่เราต้องยอมรับด้วยเหมือนกัน นิสัยคนไทยพื้นฐานเป็นคนอะไรก็ได้ ง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่คิดมาก บางครั้งเห็นคนทำผิดนิด ๆ หน่อย ๆ ก็อะลุ่มอล่วยกันไป คิดเอาว่าแค่ครั้งสองครั้งถนนคงไม่เป็นไรหรอกหรือเห็นการแตกของถนนทั้งที่พอจะซ่อมแซมได้ก็มองว่าเป็นหน้าที่ของภาครัฐต่างกับเมืองนอกที่เขามองว่าทุกอย่างต้องทำตามอย่างถูกต้อง หรือถนนมีปัญหานิดหน่อยเขาก็ซ่อมแซมกันเองได้โดยไม่ต้องรอภาครัฐมาช่วยเหลือ เป็นวินัยของพลเมืองประเทศนั้น ๆ ด้วย
7. เรื่องของเทคโนโลยี – นี่ก็เป็นอีกข้อที่ส่งผลให้ถนนบ้านเรายังไม่แข็งแรงเหมือนกับถนนหลาย ๆ ประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว ด้วยระบบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ใช้งานดีขึ้นแต่อาจต้องเสียเงินในการนำเข้าสูงจึงไม่มีใครกล้าลงทุนมันก็เลยส่งผลให้มาตรฐานของการทำถนนในบางช่วงหรือบางพื้นที่ที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นยังไม่สูงแบบต่างประเทศ
8. คุณภาพของวัสดุ – จริง ๆ วัสดุที่ใช้ทำถนนในเมืองไทยหลาย ๆ แห่งก็ไม่ได้ขี้เหร่แต่ในทางกลับกันของต่างประเทศเขาอาจยังดีกว่าเรามาก ๆ ดังนั้นเมื่อคุณภาพวัสดุดีกว่าจึงทำให้งานออกมาได้มาตรฐานมากกว่าตามไปด้วย ตรงนี้เป็นจุดที่หากถนนในเมืองไทยต้องการทำออกมาให้ดี จำเป็นต้องนำเข้าวัสดุหรือผลิตที่มีคุณภาพสูงทัดเทียมต่างประเทศ
เหตุผลเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ ร้านไทยจราจร มองว่าพอจะตอบคำถามที่หลายคนสงสัยได้เยอะทีเดียว กระนั้นมันไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น แต่มันคือหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับการทำถนนหนทางในบ้านเราให้มีคุณภาพดีเพื่อจะได้ทัดเทียมกับต่างประเทศเขาได้อย่างสบาย ๆ และจะเป็นการช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในบ้านเราด้วย
Block "content-bottom" not found