เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติที่สนับสนุนนวัตกรรมการประดิษฐ์และเทคโนโลยีที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งรวมทั้งผู้พิการทางร่างกายและผู้สูงวัย หากใครได้มีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่นบ่อย ๆ จะสามารถสังเกตเห็นได้ ว่าในประเทศนี้มีอุปกรณ์ที่น่าสนใจมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของคนพิการในสังคม ซึ่งในวันนี้ ร้านไทยจราจร ได้รวบรวม 9 อุปกรณ์ในประเทศญี่ปุ่นที่มีความโดดเด่นสะดุดตาและเป็นประโยชน์ต่อผู้พิการมาฝากกัน ดังนี้
1. ทางเดินคนตาบอด เป็นกระเบื้องสี่เหลี่ยมสีเหลืองที่มีการปูต่อ ๆ กัน เป็นแนวยาว สำหรับให้คนพิการทางสายตารับรู้ได้ ถึงพื้นผิวสัมผัสที่แตกต่างจากพื้นราบปกติ ทำมาจาก วัสดุที่มีความคงทนอย่าง Polyurethane สามารถกันน้ำ กันการลื่นไถลและทำความสะอาดได้ง่าย โดยมีการดีไซน์ในสองลักษณะ เพื่อสื่อความหมายที่เป็นนัยสำคัญ คือ ลายเส้นตามแนวยาวหนาสลับบางหมายถึงสามารถเดินต่อไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีสิ่งกีดขวาง และแบบลายจุดนูนกลมจะหมายถึงสุดทางเดิน เป็นทางแยก หรือทางให้เลี้ยว เป็นต้น
2. ทางเดินคนตาบอด ชนิดปุ่มสแตนเลส มีทั้งแบบรอยนูนยาวทรงแคปซูล ที่สื่อความหมายว่าให้เดินไปได้เรื่อย ๆ และแบบจุดนูน ที่หมายถึงให้หยุดเดิน เตรียมเลี้ยวหรือเป็นทางแยก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มักติดตั้งกับพื้นสถานีรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน สนามบิน ตลอดจนบริเวณทางเดินในอาคารออฟฟิศต่าง ๆ ทั่วไป
3. ช่องจอดรถคนพิการ เป็นตำแหน่งในลานจอดรถสีฟ้าสดใส พร้อมมีโลโก้รูปคนพิการนั่งบนรถเข็นสีขาวอยู่ตรงกลาง โดยใช้สีที่มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมอย่างแดดและฝนอย่างสี EPOXY ACRYLIC ENAMEL ระบายที่พื้น ให้มีความกว้างxยาว คือ 48 นิ้ว x 48 นิ้ว เพื่อเป็นการสงวนที่จอดรถในบริเวณที่ใกล้กับประตูทางเข้าออกไว้สำหรับผู้พิการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องนั่งรถเข็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดระยะทางและความยากลำบากในการเดินทางในสถานที่สาธารณะและหน่วยงานห้างร้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
4. ป้ายที่จอดรถคนพิการ เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ควบคู่กับช่องจอดรถคนพิการ ทำให้เป็นจุดสังเกตและลดระยะเวลาในการมองหาที่จอดรถในลานกว้าง โดยเป็นป้ายขนาดมาตรฐาน 30 x 45 และ 60 x 45 เซนติเมตร ติดบนเสาเหล็กสูงจากพื้นราว 2.5 เมตร และมีการติดสติกเกอร์ที่สามารถสะท้อนแสงได้ ทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
5. สะพานลอยแบบใช้รถเข็นคนพิการเคลื่อนล้อไปได้ เป็นการดีไซน์ให้ส่วนพื้นของสะพานลอยมีลักษณะคล้ายตะแกรง ที่ช่วยเพิ่มแรงเสียดทานให้กับรถเข็นที่ต้องเคลื่อนสวนทางกับความชันของสะพานลอย ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่นั่งรถเข็นในการข้ามฝั่งถนนที่มีรถวิ่งจอแจ ช่วยลดอุบัติภัยจากรถยนต์และเพิ่มความสะดวกให้กับผู้พิการได้ในเวลาเดียวกัน
6. ป้ายเตือนหรือป้ายไฟ สำหรับขอความร่วมมือจากประชาชนในการเอื้อเฟื้อให้คนพิการ เช่น บริเวณทางเข้าลิฟต์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะหรือตึกที่ทำการของเอกชน ก็จะมีป้ายที่เขียนได้ใจความเป็นภาษาอังกฤษ ว่า “please cooperate for priority” อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยคอยเป็นหูเป็นตาและช่วยเหลือคนพิการอยู่ใกล้ ๆ ด้วย นับว่าเป็นอีกเรื่องที่น่ายกย่องของประเทศญี่ปุ่นและควรนำมาเป็นแบบอย่างในบ้านเรา
7. มีการติดตั้งราวสแตนเลสสำหรับการเกาะจับตามทางเดินทั่วไป รวมถึงภายในห้องส้วมและห้องอาบน้ำ ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้สูงวัยและผู้พิการ ที่ต้องมีตัวช่วยในการลุก นั่ง ยืน ทำให้ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการลื่นล้ม ศีรษะฟาดพื้น ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้
จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์ที่กล่าวมา ล้วนเป็นตัวช่วยสำคัญในการเสริมสร้างความสะดวกสบายในวิถีประจำวันของคนพิการทั้งในการเดินทางเพื่อทำงาน จับจ่ายซื้อของ และเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งร้านไทยจราจร หวังว่าจะเป็นแนวทางที่ดีในการวางแผน ออกแบบ และก่อสร้างถนนและอาคารในประเทศไทย ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการในประเทศไทยเช่นเดียวกัน
หากท่านสนใจเสริมสร้างความปลอดภัยในการเดินทางและการจราจรทั้งในอาคาร และพื้นที่ภายนอก เชิญชมสินค้าดีมีคุณภาพทั้งผลิตในไทยและนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นได้ที่ www.trafficthai.com ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
Block "content-bottom" not found