เมื่อมีไฟไหม้ มักจะมีผู้ได้รับอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์ มาตรการรับมือ การปฐมพยาบาลผู้ประสบเหตุ ฯลฯ การเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ไฟไหม้อย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อทุกคน ซึ่งในบทความนี้ ร้านไทยจราจร ได้รวบรวม 8 วิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ไฟไหม้ในอาคารมาฝากกัน เพื่อให้ทุกท่านนำไปใช้เป็นแนวทางในปฏิบัติอย่างเหมาะสม ดังนี้
- การเลือกพักอาศัยในโรงแรมหรือการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมที่ใดก็ตาม ควรทำการศึกษาแผนผังอาคาร เส้นทางหนีไฟ โดยเฉพาะตำแหน่งของบันไดหนีไฟตั้งแต่ต้น และควรจะถ่ายรูปไว้หรือจดจำให้ได้ เผื่อจำเป็นฉุกเฉินจะได้ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
- การเรียนรู้เรื่องของสัญลักษณ์ที่แสดงถึงทางออกหนีไฟ เช่น ป้ายไฟฉุกเฉิน เทปเรืองแสง ฯลฯ เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยให้หาทางออกไปสู่ภายนอกอาคารได้ดีขึ้น โดยเทปแบบเรืองแสงที่ติดไว้ตามพื้น จะสามารถเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ในที่มืดได้ ซึ่งจำเป็นมากโดยเฉพาะช่วงที่มีไฟไหม้ มักจะทำให้ระบบไฟฟ้าดับ เทปเรืองแสงก็จะเกิดความสว่างขึ้นให้เดินตามแถบเทปก็จะเจอกับทางออกหนีไฟได้ โดยไม่ชุลมุน และไม่เสี่ยงต่อการหกล้มเหยียบทับกันจนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเสียชีวิตได้
ส่วนป้ายที่แสดงทางออกฉุกเฉิน จะเป็นป้ายสีเขียวมีรูปสัญลักษณ์ลูกศรชี้ไปทางประตูคู่กับรูปคนวิ่งเพื่อให้เป็นภาษาสากลให้ทุกคนเข้าใจว่าเข้าใจได้ว่าให้ออกทางด้านนี้ มักเป็นป้ายที่ทำจากวัสดุแอลอีดีที่ให้แสงสว่างให้สังเกตเห็นได้
- เมื่อเริ่มเกิดเพลิงไหม้ ให้มองหาถังดับเพลิงที่อยู่คู่กับอุปกรณ์ดับเพลิงอื่น ๆ เช่น ขวาน สายดับเพลิง ฯลฯ ซึ่งอาจอยู่ในตู้กระจกใสขนาดใหญ่ ที่อาจมีการล้อมกรอบด้วย เทปเรืองแสง เพื่อให้นำมาใช้ได้โดยด่วน จะทำให้สามารถหยุดสาเหตุของการลุกลามของไฟและควันพิษได้อย่างรวดเร็ว
- เรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์จำพวกถังดับเพลิงเบื้องต้น เพื่อที่จะ ได้ไม่ตื่นตระหนกในการใช้งานจริง ซึ่งโดยทั่วไป มี 4 ลำดับ คือ
(1) ให้ทำการดึงสลักที่เป็นกระดูกงูล็อกตัวที่หัวถังดับเพลิงออกก่อน
(2) ทำการปลดสายออกจากตรงที่เก็บสายด้านข้างตัวถัง แล้วจับให้ถนัดมือ
(3) กดคานบีบถังดับเพลิงให้สารเคมีออกมาสู่ภายนอกแล้วฉีดไปที่ต้นเหตุของไฟไหม้ โดยให้ตัวอยู่ห่างจากเปลวไฟประมาณ 2-4 เมตร เพื่อป้องกันสะเก็ดไฟกระเด็นใส่
(4) ฉีดสารเคมีใส่ต้นเพลิงจนกว่าไฟจะดับสนิท จึงหยุดได้ ที่สำคัญคือ ไม่ควรฉีดไปที่เปลวเพลิงเพราะว่าเป็นการแก้ไขที่ปลายทางและสารเคมีอาจจะหมดถังก่อนที่ไฟจะดับสนิทด้วย
- หลบเลี่ยงควันไฟ ด้วยการให้ทำการมอบตัวให้ราบกับพื้นให้มากที่สุด อาจใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำคลุมศีรษะแล้วก็ให้หายใจผ่านผ้า เพื่อไม่ให้สูดหายใจรับเขม่าควันมากจนเกินไป
ทั้งนี้ ต้องทำความเข้าใจว่าสาเหตุการตายของคนส่วนใหญ่ในเหตุการณ์ไฟไหม้ ไม่ได้เกิดจากการที่ไฟเผาที่ตัวคนในทันที แต่มักจะเกิดจากเขม่าควันพิษที่เมื่อหายใจเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดการอุดกั้นระบบของทางเดินหายใจ ทำให้เป็นลมหมดสติและเสียชีวิตได้ (ในควันมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจนไซยาไนด์ที่จะไปทำให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้)
- ถ้าตัวคุณไม่สามารถออกไปนอกห้องได้ เพราะมีไฟและควันจำนวนมากอยู่หน้าห้อง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำให้ชุ่มแล้วอุดที่บริเวณขอบบานประตูด้านล่างให้สนิทที่สุด และให้ไปตะโกนขอความช่วยเหลือที่หน้าต่างหรือระเบียงตึก และอาจใช้โทรศัพท์ ขอความช่วยเหลือจากเบอร์ 191 หรือรีบติดต่อญาติพี่น้อง เพื่อให้ช่วยกระจายข่าวก็ได้ด้วยเช่นกัน
- ไม่ควรจะไปหลบอยู่ในห้องน้ำของอาคาร เพราะเมื่อเกิดไฟไหม้ลาม จะมีเขม่าควันไฟเข้ามาเข้ามาในห้องน้ำด้วย ซึ่งคุณจะไม่มีทางออกไปสู่ภายนอกได้เลย และความร้อนของไฟจะทำให้ประตูของห้องน้ำเกิดการบวม หรือเกิดการหลอมทำให้ไม่สามารถที่จะเปิดประตูได้ นอกจากนี้ ตำแหน่งของลูกบิดประตู หรือที่จับที่เป็นโลหะ ก็จะร้อนจัดเมื่อได้รับความร้อนจากไฟที่อยู่โดยรอบด้วย การหลบอยู่ในห้องน้ำจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
- เมื่อเดินตาม ป้ายไฟฉุกเฉิน ออกสู่ภายนอกอาคารได้แล้ว ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ตัวเองและคนรอบข้าง เช่น ถ้ากำลังถูกไฟลวกผิวหนัง ให้ใช้น้ำราดเพื่อดับไฟก่อน หรือใช้ผ้าห่มหนา ๆ แทนก็ได้ หลังจากนั้นให้ถอดเสื้อผ้าที่ถูกไฟไหม้ออก รวมถึงถอดเครื่องประดับด้วย เพราะจะสะสมความร้อนแล้วทำลายผิวได้
หากมีแผลที่ผิวหนังเป็นตุ่มพอง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำประคบ แล้วทายาเบตาดีน ใช้ผ้าสะอาดปิดแผลเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อเข้ากระแสเลือด หากมีผู้หมดสติหรือหอบแน่นหน้าอก ก็จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องให้ออกซิเจน เครื่องปั้มหัวใจ ฯลฯ ซึ่งต้องรีบประสานอาสาสมัครหรือหน่วยงานด้านสาธารณสุขด้วย
จะเห็นได้ว่า ทั้ง 8 วิธีที่ ร้านไทยจราจรรวบรวมมาเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งนี้นอกจากเรื่องของเทคนิคแล้ว การมีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่พร้อมใช้งาน ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ควรจัดเตรียมระบบให้พร้อมและตรวจเช็คการทำงานของอุปกรณ์ทุกชิ้นอยู่เสมอเพื่อให้มั่นใจว่าใช้งานได้ไม่มีปัญหา ที่สำคัญคือการซ้อมหนีภัยเป็นประจำตามกำหนด จะช่วยให้ทุกคนจะไม่สับสนอลหม่านเวลาเกิดเหตุ มีสติพร้อมรับมือทุกเมื่อ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้ทุกท่านเอาตัวรอดและช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย