“เราไม่มีทางที่จะรู้ว่ามันผิดพลาด จนกว่าจะลงมือทำ” คำพูดนี้ ไม่เป็นความจริง หากคุณรู้จักที่จะค้นคว้าหาข้อมูลจากผู้ที่เคยลงมือทำ เพื่อให้คุณเข้าถึงการทำธุรกิจลานจอดรถให้เช่าแบบเจาะลึก ร้านไทยจราจรจึงรวบรวมความผิดพลาดที่ผู้ทำธุรกิจนี้จริง มาไว้ในที่นี้ ให้คุณผู้อ่านทุกคน ได้เรียนรู้กัน
-
การตัดสินใจซื้อที่ดินเพื่อทำที่จอดรถ
ที่ดินใจกลางกรุงหรือใจกลางตลาด มีราคาสูงมาก คุณอาจจะต้องลงทุน 50 ถึง 60 ล้านบาทในการซื้อที่ดินเปล่า หากคุณให้เช่าที่จอดรถรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 20 บาท เป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน คุณจะมีรายได้ 12,000 บาทต่อวัน ในเวลา 1 ปีคุณจะมีรายได้เพียง 4 ล้านกว่าบาทเท่านั้น จึงต้องใช้เวลากว่า 10 ปีถึงจะคืนทุนทั้งหมดได้ การตัดสินใจซื้อที่ดินเปล่า จึงเป็นอีกหนึ่งความผิดพลาดของคนที่อยากทำธุรกิจนี้
-
ทำลานจอดรถใกล้ตึกสูง
การทำลานจอดรถใกล้ตึกสูง โดยเฉพาะอาคารที่พักอาศัย มักมีปัญหาสิ่งของตกหล่นทิ้งขว้างเป็นประจำ ถ้าเป็นเพียงแค่ขยะ คุณก็ต้องเสียค่าจ้างคนมาทำความสะอาดบ่อยขึ้น แทนที่จะจ้างแค่สัปดาห์ละ 2 วัน อาจจะต้องจ้างทุกวัน วันละ 300 บาท จากสัปดาห์ละ 600 บาทจะกลายเป็นสัปดาห์ละ 2,100 บาทขึ้นมาทันที แต่ถ้ามันเป็นสิ่งของอันตรายคุณต้องทำหลังคาหรือตระแกรงกับของหล่นลงใส่รถลูกค้า ไม่อย่างนั้นคุณต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้า
-
ไม่มีการใช้ป้ายจราจร
การใช้ป้ายจราจรเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความปลอดภัยภายในลานจอด แม้คุณเป็นเอกชนก็สามารถติดป้ายจราจรได้ ดังนั้นอย่างหลีกเลี่ยงการใช้ป้ายและเครื่องหมายจราจร หากเกิดการเฉี่ยวชนในลานจอด มันไม่คุ้มกับค่าเสียหายที่คุณต้องจ่ายแน่นอน
-
ปลูกไม้ใหญ่ให้ร่มเงา
หลายคนอาจคิดว่าการปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาในลานจอดรถจะทำให้ลูกค้าอยากจอดมากขึ้น แต่ความจริงมันเป็นหายนะเลยก็ว่าได้ เพราะคุณจะต้องจ่ายค่าแรงในการตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ หากกิ่งก้านหล่นลงมาใส่รถของลูกค้าจนเสียหาย คุณยังต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอีกด้วย ทางที่ดีคุณควรใช้สแลนในการให้ร่มเงามากกว่า เพราะปลอดภัยได้มาตรฐาน
-
ไม่ติดกระจกโค้ง
อย่าคิดว่าจะต้องใช้กระจกโค้งเฉพาะในซอยหรือที่ที่มีกำแพงเท่านั้น ลานจอดรถโล่ง ๆ นี่แหละ ต้องใช้กระจกโค้งด้วยเหมือนกัน หากถนนภายในลานของคุณมีลักษณะหักศอก ติดกระจกโค้งเสียเถอะ ไม่อย่างนั้นคุณอาจต้องจ่ายค่าเสียหาย หากรถชนกันภายในลานจอดของคุณ
-
ใช้กระถางต้นไม้แทนกรวยจราจร
หลายคนอาจคิดว่าใช้กระถางปลูกต้นไม้กั้นแทนกรวยจราจรก็ได้ แต่ในความจริงแล้วนั่นเป็นเรื่องสิ้นคิดที่สุด เพราะหากรถเหยียบโดนกระถางต้นไม้ มันก็จะแตก หากเศษกระถางทิ่มยางรถของคนอื่นรั่ว คุณก็ต้องจ่ายค่าเสียหายให้เขาเช่นกัน ร้านไทยจราจรมีกรวยจราจรจำหน่าย ล้วนแต่ทำจากวัสดุชั้นดี เมื่อรถทับจะไม่แตกหักง่ายและไม่เกิดอันตรายต่อตัวถังหรือยางรถ
-
ไม่จัดเตรียมไฟฉายให้คนโบกรถ
ในกรณีที่ลานจอดของคุณอยู่ใกล้ตลาดโต้รุ่ง หรือตลาดเช้า จำเป็นต้องเปิดให้บริการตอนไม่มีแสงตะวัน ไฟฉายนับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่นอกจากจะทำให้ลูกค้าของคุณสังเกตเห็นการโบกรถแล้ว ยังช่วยให้ลูกจ้างของคุณปลอดภัยจากการที่ลูกค้าถอยรถชนเพราะมองไม่เห็นอีกด้วย
-
ตีเส้นแคบเพราะอยากได้ช่องจอดรถเยอะ ๆ
ช่องจอดที่ได้มาตรฐานควรมีความกว้างตั้งแต่ 2.5 เมตรขึ้นไป และมีความยาว 5.5 เมตรขึ้นไป หากคุณตีเส้นแคบกว่านั้นเพราะคิดว่าจะทำให้ลานจอดของคุณจุรถได้มากขึ้น คุณอาจกำลังทำผิดข้อบัญญัติเทศบาลหรือข้อบังคับกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมอาคารอยู่ก็เป็นได้ แล้วถ้าถูกตรวจสอบขึ้นมา บอกได้เลยว่า จบไม่สวยแน่นอน
-
ทำโปรโมชั่นลานจอดโดยไม่คิดถึงค่าใช้จ่ายรายเดือน
บ่อยครั้งเมื่อนักลงทุนมือใหม่คิดจะทำการตลาดด้วยการจัดโปรโมชั่น เขาอาจจัดหนัก เช่น 3 วันแรกจอดฟรี หรือ จอดครบ 5 ครั้งจอดฟรี 1 วัน โปรโมชั่นเหล่านี้ คุณจะต้องนำมันมาคิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่าแต่ละวันคุณจะได้เงินเท่าไหร่เพราะคุณมีรายจ่ายที่จะต้องใช้ในการจ้างคนทำความสะอาด คนเก็บเงินค่าที่จอดรถ และคนแจกบัตร ตลอดจน รปภ. หากคุณจัดโปรฯ โดยไม่คิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนอาจชีช้ำกะหล่ำปลีได้ในที่สุด
-
ไม่จ้างคนทำความสะอาดเพราะคิดว่าทำเองได้
นี่เป็นอีกหนึ่งความผิดพลาดอย่างมหันต์ การกวาดลานกว้างกลางแดดร้อน ๆ ไม่เหมือนกวาดพื้นบ้าน แถมคนที่มาจอด ก็ขยันทิ้งแก้ว กระดาษ หรือถุงพลาสติกใช้แล้ว เอาไว้บนพื้นอีกด้วย ถ้าคุณมีที่จอดรถขนาด 50 ช่องจอด คุณควรจะจ้างคนทำความสะอาดคนหนึ่ง แล้วตัวคุณก็ช่วยเขาทำความสะอาดด้วย รวมเป็น 2 คน จึงจะทำไหว พอกวาดแล้วก็ต้องโกยใส่ถังขยะขนาดใหญ่และจะต้องติดต่อรถเทศบาลมารับขยะอย่างน้อย 2-3 ถุงดำใหญ่ไปทิ้งอีกด้วย
“คนที่ไม่เรียนรู้จากผู้ทำงานจริง จะถูกลงโทษด้วยการทำความผิดที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วซ้ำอีก” คำพูดนี้แหละ จริงแท้แน่นอน ได้อ่านทั้ง 10 ข้อผิดพลาดจากผู้ทำงานจริงมาแล้ว ร้านไทยจราจรคิดว่าคุณผู้อ่านทุกคนคงจะไม่เผลอไปทำอีกอย่างแน่นอน
Block "content-bottom" not found