10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

                  สีเทอร์โมพลาสติกที่จริงแล้วก็คือพลาสติกชนิดที่สามารถนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ได้ที่อุณหภูมิ 160-180 องศา นั่นแสดงว่าหากอุณหภูมิต่ำกว่านั้น สีจะกลายเป็นพลาสติกแข็ง ในการทาสีเทอร์โมพลาสติกจึงมีขั้นตอนที่แตกต่างจากการทาสีธรรมดา แถมในการตีเส้นบนถนน กรมทางหลวงยังกำหนดมาตรฐานเอาไว้ ร้านไทยจราจร จึงนำ 10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติกให้มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐานมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

1.การกะเทาะสี

             หากการทาสีเทอร์โมพลาสติกเป็นการทาทับสีเดิม จะต้องกะเทาะสีเดิมออกให้หมดเสียก่อน เนื่องจากสีเทอร์โมพลาสติกจะอยู่ในสภาพของแข็งนูนขึ้นจากพื้นประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จะต้องใช้วิธีกะเทาะให้หลุดออกมาเป็นแผ่นๆ โดยอาจใช้เครื่องมือช่างในการแซะหรือใช้เครื่องกะเทาะสีก็ได้ แต่หากใช้เครื่อง เครื่องจะต้องกะเทาะสีออกได้หมดโดยไม่ทำอันตรายต่อโครงสร้างถนน

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

2.การทำความสะอาด

             ก่อนการทาสีเทอร์โมพลาสติกทุกครั้ง จะต้องทำความสะอาดพื้นถนนด้วยเครื่องเป่าฝุ่น เพราะนอกจากจะทำให้สีติดกับถนนได้ดีแล้ว ยังเป็นมาตรฐานที่กรมทางหลวงกำหนดไว้ให้ต้องใช้เครื่องดังกล่าวอีกด้วย

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

3.การเลือกสีที่ใช้

            คุณควรเลือกสีเทอร์โมพลาสติกตามมาตรฐาน มอก. 542-2549 โปรดอย่าสับสนกับ มอก. 415-2551 เพราะ มอก. 415-2551 เป็นมาตรฐานสีทาถนนชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีเทอร์โมพลาสติก เช่น สีอีพอกซ์ อะคริลิค อีนาเมล เป็นต้น 

ในการเลือกสีเทอร์โมพลาสติก คุณควรเลือกสีที่มีคุณสมบัติตามที่กรมทางหลวงได้กำหนดไว้ในข้อกำหนดการจัดทำเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางว่าเมื่อสีแห้งแล้วแฟคเตอร์การสะท้อนแสงในเวลากลางวัน สำหรับสีขาวจะต้องเท่ากับหรือมากกว่า 75% ส่วนสีเหลืองจะต้องเท่ากับหรือมากกว่า 45%  โดยสีขาวจะต้องมีดัชนีความเหลือง 0.01 และสีเหลืองจะต้องใกล้เคียงกับ Highway Yellow #13538 

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

4.อุณหภูมิที่ใช้ในการต้มสี

           สีเทอร์โมพลาสติกจะมีลักษณะเป็นผง ก่อนใช้จะต้องนำไปต้มในหม้อต้มในอุณหภูมิ 160 ถึง 180 องศาเซลเซียส จึงจะทำให้สีอยู่ในสถานะของเหลวได้ แต่จะต้องไม่เกิน 200 องศาเซลเซียส เพราะนอกจากจะทำให้สีเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซบางส่วนจนไม่เหมาะกับการใช้งานอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังผิดมาตรฐานของกรมทางหลวงด้วย

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

5.การเติมสีในหม้อต้ม

           ตามข้อกำหนดกรมทางหลวงข้างต้น กำหนดให้หม้อต้มจะต้องต้มได้ไม่น้อยกว่าครั้งละ 400 กิโลกรัม เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการเติมสีก็คือจะต้องต้มล็อตแรกไปก่อน พอสีเริ่มละลายแล้วก็เปิดใบพัดกวนสี เมื่อสีล็อตแรกละลายจนเหลวแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มสีลงไปทีละถุง ไม่ควรเติมทีละหลายๆ ถุงเพราะจะทำให้ใบพัดสีทำงานหนักเกินไปจนสีไม่เรียบเป็นเนื้อเดียวกัน

6.การกวนสี

          ดังที่กล่าวไปแล้วว่า จะต้องมีการต้มสีที่อุณหภูมิ 160 ถึง 180 องศาเซลเซียส พอสีเริ่มละลาย จะต้องเปิดใบพัดกวนสี ใบพัดนี้ให้เปิดอยู่ประมาณ 30 นาที จากนั้นหรี่ไฟและรักษาอุณหภูมิไว้ เสร็จแล้วก็เปิดปากสีให้สีไหลลงมายังเครื่องตีเส้น การทำอย่างนี้จะทำให้ได้สีเนียนสวยเนื้อละเอียด

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

7.ไม่ควรให้สีค้างในหม้อ

           หากเหลือสีค้างอยู่ในหม้อ จะต้องนำสีออกให้หมด เพราะเมื่อคุณนำสีใหม่ลงไปต้มโดยที่มีสีเก่าค้างอยู่ จะทำให้ใช้เวลาในการต้มนานและเปลืองแก๊สมาก 

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

8.เทคนิคการรีไซเคิลสี

            เมื่อมีสีเหลืออยู่ในหม้อ และคุณได้นำสีออกมาจากหม้อจนหมดแล้ว ในการใช้งานครั้งต่อไปคุณยังสามารถนำสีเก่ามาต้มอีกได้ เพียงแต่ต้องไม่ใช้สีเก่าล้วนๆ ให้ผสมสีใหม่ลงไปต้มในหม้อด้วย เพราะสีเก่าที่ต้มแล้วจะมีคุณสมบัติในการเกาะยึดน้อยลง เมื่อทาถนนแล้วอาจจะเปราะแตกได้ง่าย

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

9.การพ่นวัสดุรองพื้น

             ก่อนการทาสีเพื่อตีเส้นจราจรทุกครั้ง จะต้องมีการพ่นวัสดุรองพื้นเพื่อเพิ่มการยึดเกาะของสี สีเทอร์โมพลาสติกไม่จำเป็นจะต้องใช้สีรองพื้นสำหรับผิวเปียกชื้นเหมือนกับสีอะคริลิค ในทางตรงกันข้ามสีเทอร์โมพลาสติกจะใช้ไพรเมอร์เป็นวัสดุรองพื้น โดยมาตรฐานกรมทางหลวงกำหนดให้เครื่องพ่นวัสดุรองพื้นต้องเป็นเครื่องลากเข็นใช้แรงลมในการฉีดพ่น

10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติก ให้มีคุณภาพ

10.การทาสี การรีดเส้นและโรยลูกแก้วสะท้อนแสง

            ในการทาสี สำหรับพื้นที่เอกชน อาจให้คนลากปากเครื่องตีเส้นแล้วตักสีหยอดลงไป หรือใช้เป็นเครื่องตีเส้นสีถนนที่มีระบบต้มและพ่นสีอยู่ในเครื่องเลยก็ได้ แต่สำหรับถนนของรัฐบาลแล้ว ข้อกำหนดกรมทางหลวงกำหนดให้ต้องใช้เครื่องทาสีเทอร์โมพลาสติกเท่านั้น 

             ในการทาสีจะต้องมีการรีดเส้นให้เรียบ โดยข้อกรมทางหลวงกำหนดให้ความหนาของเส้นที่ตีด้วยสีเทอร์โมพลาสติกจะต้องมีความหนาเท่ากับหรือมากกว่า 2 มิลลิเมตร ซึ่งจะแตกต่างจากสีทาถนนอื่นที่กรมทางหลวงกำหนดให้ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 0.2 มิลลิเมตรท่านั้น

              ลูกแก้วสะท้อนแสง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่มองเห็นเส้นได้ในเวลากลางคืน โดยปกติแล้วสีเทอร์โมพลาสติกจะผสมลูกแก้วสะท้อนแสงเอาไว้แล้ว แต่ถ้าหากลูกแก้วสะท้อนแสงมีปริมาณไม่ถึงมาตรฐาน ก็จะต้องโรยลูกแก้วลงไปในขณะที่ทาสี โดยตามมาตรฐาน มอก. 543 – 2549 กำหนดให้จะต้องมีลูกแก้วสะท้อนแสงโรยอยู่บนสีไม่น้อยกว่า 30% ส่วนข้อกำหนดการจัดทำเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางของกรมทางหลวงกำหนดให้อัตราการโรยลูกแก้วต้องไม่น้อยกว่า 400 กรัม ต่อตารางเมตร โดยค่าสะท้อนแสงของสีเมื่อทาแล้ว ตรวจวัดที่ 15 เมตร สีขาวจะต้องเท่ากับหรือมากกว่า 150 สีเหลืองต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 100 

              10 ขั้นตอนการทาสีเทอร์โมพลาสติกนี้ เป็นสิ่งที่คุณจะต้องคำนึงถึงเพื่อการทาสีให้ได้มาตรฐาน ร้านไทยจราจร ของเรารับทาสีพื้นถนนและขอบทางตามมาตรฐานกรมทางหลวง หากคุณต้องการคนช่วยดำเนินการทาสีพื้นถนนของคุณ ติดต่อเราได้ที่ https://trafficthai.com 

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found