กรวยจราจรเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการกั้นพื้นที่ห้ามเข้า ล้อมเขตอันตราย ลดช่องทางการจราจร แต่กรวยจราจรมีหลายขนาด หากคุณต้องการซื้อกรวยจราจรไปใช้งานสักชุดหนึ่ง จะซื้อขนาดไหนดี วันนี้ ร้านไทยจราจร มีเรื่องราวของขนาดและลักษณะของกรวยจราจรมาเล่าประกอบการตัดสินใจของคุณผู้อ่านทุกท่าน
1. มาตรฐานกรมทางหลวง
คู่มืออุปกรณ์จราจร กรมทางหลวง กำหนดให้กรวยจราจรจะต้องมีความสูงจากพื้นถึงยอดกรวย 0.70 เมตร (70 ซม.) หรือกว่านั้นขึ้นไป ตัวกรวยเป็นสีส้มเรืองแสง แถบสีขาว 2 แถบสลับส้ม ค่าสะท้อนแสงไม่ต่ำกว่าระดับ 1 ค่ามาตรฐาน มอก. 606-2529 เรียงจากบนลงล่างต้องมีขนาดดังนี้ ยอดกรวยเป็นพื้นที่สีส้มขนาด 10 เซนติเมตร ถัดลงมาเป็นแถบขาวมีความกว้าง 15 ซม. ติดที่ระยะ 10 ซม. วัดจากยอดกรวยลงมา ต่อมาเป็นพื้นที่สีส้มมีความกว้าง 15 ซม. ถัดลงมาอีกเป็นแถบขาวมีความกว้างไม่น้อยกว่า 10 ซม. ติดที่ระยะ 15 ซม. วัดจากยอดกรวยลงมา ที่เหลือคือพื้นที่สีส้มซึ่งเป็นโคนของกรวย ถัดลงไปอีกคือฐานซึ่งต้องเป็นสีส้ม
การวางกรวยตามมาตรฐานทางหลวง คือ ในเมืองหรือเขตชุมชนให้วางกรวยบนถนนหลวงมีระยะห่าง 5-10 เมตร นอกเขตชุมชนวางกรวยมีระยะห่างไม่เกิน 30 เมตร
2. มาตรฐานสหรัฐอเมริกา
U.S. Department of Transportation’s Federal Highway Administration หรือกรมการทางหลวงของสหรัฐกำหนดลักษณะกรวยจราจรอีกด้วยว่า กรวยจะต้องเป็นสีส้ม จะเป็นส้มแดง หรือส้มเหลืองก็ได้ สำหรับขนาดขึ้นกับการใช้สอย ดังนี้
2.1 ความสูง 305 มม. (30.5 ซม.) น้ำหนัก 0.68 กก. ใช้ได้ทั้งกิจกรรมภายในและภายนอกอาคาร
2.2 ความสูง 457 มม. (45.7 ซม.) น้ำหนัก 1.4 กก. ใช้บนทางหลวงเวลากลางวันที่ซึ่งจำกัดความเร็วไม่เกิน 40 ไมล์ต่อชั่วโมง
2.3 ความสูง 711 มม. (71.1 ซม.) น้ำหนัก 3.2 กก. ใช้บนถนนเทศบาลและถนนท้องถิ่นที่ไม่ใช่ทางหลวง
2.4 ความสูง 711 มม. (71.1 ซม.) น้ำหนัก 4.5 กก. ใช้บนทางด่วน และทางหลวงที่รถวิ่งด้วยความเร็วเกินกว่า 45 ไมล์ต่อชั่วโมง อาจใช้ร่วมกับยูโรเทป เทปกั้นกรวยจราจร
2.5 ความสูง 914 มม. (91.4 ซม.) น้ำหนัก 4.5 กก. ใช้บนทางด่วน และทางหลวงที่ไม่จำกัดความเร็ว แต่ต้องใช้ร่วมกับยูโรเทป หรือ เทปกั้นกรวยจราจร หรือใช้กรวยเปล่าในเวลากลางคืน
นอกจากนี้กรมการทางหลวงของสหรัฐยังกำหนดไว้ด้วยว่า ในเวลากลางวันที่ทัศนะวิสัยไม่ดี ต้องใช้ ไฟแฟลชติดกรวยจราจร สำหรับเวลากลางคืนต้องใช้กรวยขนาดความสูง 71.1-91.4 ซม. ต้องมีแถบขาวสองแถบจากบนลงล่าง แถบแรกต้องมีความกว้าง 6 นิ้ว แถบที่สองมีความกว้าง 4 นิ้ว ช่องว่างสีส้มระหว่างแถบต้องมีขนาดไม่เกิน 3 นิ้ว รายละเอียดอื่นให้เป็นไปตามที่มลรัฐกำหนด
3. กรวยจราจรเอกชน
สำหรับการตั้งกรวยในพื้นที่เอกชน ไม่จำเป็นต้องใช้กรวยที่มีขนาดตามที่กรมทางหลวงกำหนด โดยคุณอาจเลือกใช้กรวยตามความเหมาะสมในการใช้งาน
3.1 ขนาด
สำหรับความสูง 70 เซนติเมตรขึ้นไป สามารถใช้กั้นทางเดินรถยนต์ในลานจอดหรือกั้นเขตห้ามเข้าได้ แต่ถ้า 70 เซนติเมตรลงมา คุณควรใช้มันกับพื้นที่อื่นๆ ที่รถใช้ความเร็วในการวิ่งผ่านต่ำกว่า 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่น จำกัดช่องทางจราจรบริเวณประตูหน้าอาคารที่รถต้องค่อย ๆ เคลื่อนเข้ามารับผู้โดยสาร หรืออาจใช้งานภายในอาคาร เช่น ใช้ในลานสเก็ต
3.2 สี
สีส้มเป็นสีมาตรฐานที่ผู้ขับขี่คุ้นตาทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นกรวยจราจร หากใช้สีอื่นผู้ขับขี่อาจรู้สึกว่าไม่ใช่กรวยสำหรับการจราจรบนถนน ดังนั้นถ้าเป็นการใช้กรวยเพื่อบอกเขตห้ามเข้าหรือให้รถหยุดต้องใช้สีส้มเท่านั้น เช่น ใช้กรวยติดป้ายที่จอดรถคนพิการบนยอดกรวยแทนแผงกั้นจราจร สำหรับการใช้งานอื่นๆ คุณอาจใช้กรวยสีอื่นสำหรับบริเวณที่ต้องการความแตกต่าง เช่น ใช้กรวยสีเขียวแทนเสาแบ่งเลนส์จักรยาน หรือใช้สีน้ำเงินสำหรับทางเท้าคนพิการก็ได้
3.2 วัสดุ วัสดุที่นิยมนำมาทำกรวยจราจรมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
3.2.1 EVA ย่อมาจาก Ethylene vinyl acetate หรือ เอทิลีน ไวนิล อะซิเตท ข้อดีของวัสดุชนิดนี้คือมีน้ำหนักเบาและมีความหยุ่นพิเศษ ความหยุ่นนี้ทำให้กรวยจราจรไม่เปราะหรือแตกง่าย เมื่อถูกรถทับก็จะบี้หรือยู่ลงกับพื้นจากนั้นกลับคืนตัวอย่างรวดเร็ว ข้อเสียของยาง EVA คือไม่สามารถใส่กลิ่นลงไปได้
3.2.1 PE ย่อมาจาก polyethylene หรือ โพลีเอทิลีน ข้อดีของ PE คือมีความเหนียวและทนทานมาก ทนกรดและด่างอ่อนได้ดี สามารถพับงอและคืนรูปได้ ลักษณะเด่นคือความชื้นไม่สามารถผ่านเข้าออกโมเลกุลของโพลีเอทีลีนได้ จึงหมดปัญหาการผุพังเพราะความชื้น
3.2.3 PVC ย่อมาจาก Polyvinyl chloride หรือ โปลีสไวนีล ครอไรด์ ข้อดีคือทำความสะอาดง่าย เวลาที่มีโคลนกระเด็นโดนกรวย โคลนจะไม่ซึมเข้าไปเนื้อ PVC หมดปัญหากรวยดำเข้าฝัก แม้จะมีความหยุ่นน้อยกว่า EVA แต่ก็เหนียวมากกว่าพลาสติกชนิดอื่น กรวยจราจร PVC ปกติแล้วจะผสม PE ความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น เพื่อเพิ่มความเหนียว ทำให้เมื่อรถทับแล้วไม่แตกหักง่าย
ร้านไทยจราจร มีกรวยจราจรจำหน่ายทั้งที่ทำจาก EVA, PE และ PVC สีและแถบมาตรฐานทางหลวง หรือแม้แต่กรวยจราจรในรูปแบบที่แตกต่างออกไป เช่น สีส้มไม่มีแถบ สีเขียว สีน้ำเงิน ดำ และขาวล้วน มีทุกขนาดให้คุณเลือกสรรตามลักษณะการใช้งานในพื้นที่เอกชนของคุณ
Block "call-to-action" not found
Block "content-bottom" not found