พอกันที!! 10 วิธีการปราบ คอร์รัปชั่นในต่างประเทศ ที่ได้ผลจริง!

      การคอร์รัปชั่นถือเป็นปัญหาใหญ่มาก ๆ ของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย นั่นเพราะเมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นในรัฐบาลเมื่อไหร่นั่นหมายความว่าเงินที่ควรจะตกถึงมือประชาชนหรือสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ประชาชนควรได้รับอย่างดีที่สุดกลับกลายเป็นว่าคนมีอำนาจได้เงินก้อนนี้ไปใช้ส่วนตัว เช่น ไม่มี สัญญาณไฟจราจร ในบางแยกอันตราย, แทนที่จะมี เครื่องนับถอยหลังไฟจราจร ก็ไม่มี, พื้นที่ควรติดตั้ง โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ ไม่มีการติดตั้ง หรือ ไม่มี ป้ายเขตโรงเรียน ในหลายโรงเรียน เป็นต้น ส่งผลให้ประเทศไม่เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง แต่ก็มีหลายประเทศที่พยายามสร้างวิธีปราบคอร์รัปชั่นจนในที่สุดพวกเขาก็สามารถทำได้และกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วไปในที่สุด ร้านไทยจราจร จะพามาดูกันว่ามีวิธีไหนน่าสนใจกันบ้าง

1.สิงคโปร์มีการปรับกฎหมายขั้นรุนแรง 

     เริ่มด้วยประเทศใกล้บ้านเราอย่างสิงคโปร์พวกเขาใช้วิธีปรับกฎหมายการคอร์รัปชั่นให้รุนแรงเพื่อบรรดาข้าราชการต่าง ๆ หรือผู้มีอำนาจจะได้เกรงกลัวไม่กล้าทำผิดต่อเรื่องเหล่านี้ การปรับกฎหมายของพวกเขาหลัก ๆ คือ ยืดหยุ่นตัวกฎหมายให้แก้ไขได้ง่ายและทันสมัย, ลงโทษแม้ไม่มีหลักฐานแต่พิสูจน์ได้ว่าคอร์รัปชั่นจริง และการลงโทษสถานหนักกับผู้กระทำผิด

2.ฮ่องกงใช้กฎหมายคู่ไปกับการสร้างทัศนคติใหม่ให้สังคม 

     นี่คืออีกหนึ่งเมืองที่มีปัญหาคอร์รัปชั่นมากว่าร้อยปีแต่พวกเขาก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้กฎหมายต่อต้านปัญหานี้บวกกับการพยายามเปลี่ยนทัศนคติใหม่ในสังคม เนื่องจากในอดีตเน้นเรื่องใช้กฎหมายรุนแรงแต่ไม่ถูกบังคับใช้จริง เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการปราบปรามผสมผสานกับการเปลี่ยนแปลงจนสำเร็จ

3.สหรัฐฯ ให้อำนาจกรมสรรพากรอย่างเต็มที่ 

      ในสหรัฐฯ กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานอิสระไม่ได้ขึ้นต่อกระทรวงยุติธรรมหรือหน่วยงานใดทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ใครที่คาดว่าเป็นบุคคลสร้างคอร์รัปชั่นให้ประเทศ กรมสรรพากรสามารถเข้าไปตรวจสอบพร้อมยึดทรัพย์ได้ทันทีหากพบว่ามีทุจริตในประเด็นต่าง ๆ ถือว่าเป็นวิธีที่ดีโดยใช้หน่วยงานอิสระ

4.ญี่ปุ่นใช้ผลงานมาเป็นตัวปราบ 

    วิธีของญี่ปุ่นจริง ๆ ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับนิสัยหรือบุคลิกของประเทศเขาด้วย เขาไม่จำเป็นต้องสร้างหน่วยงานใด ๆ ให้เปลืองงบประมาณแต่ใช้การแข่งขันระหว่างตำรวจกับอัยการที่ใครสามารถหาคนทุจริตคอร์รัปชั่นมาลงโทษได้ก็มีชื่อ มีหน้ามีตา ได้ชื่อเสียงกันไปเต็ม ๆ รวมถึงกฎหมายเขาชัดเจนว่าข้าราชการระดับสูงทำอะไรได้ไม่ได้บ้าง

5.เดนมาร์กใช้ความเชื่อมั่นเป็นที่ตั้ง 

    ลำพังประเทศนี้จัดเป็นประเทศเบอร์ต้น ๆ ของโลกในเรื่องความโปร่งใส แต่ปัจจัยหลักที่ทำให้พวกเขาปราบคอร์รัปชั่นได้เพราะสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านสาธารณะต่าง ๆ ส่วนข้าราชการก็พยายามสร้างความเชื่อมั่นด้วยผลงานที่ตนเองแสดงออกมาจึงทำให้พวกเขาโปร่งใส แทบไร้ทุจริตไม่ว่าโครงการใด ๆ ก็ตาม

6.สวีเดนใช้การสืบสวนและประจานทันที

   อีกหนึ่งประเทศที่ว่ากันว่ามีความโปร่งใสเป็นลำดับต้น ๆ ของโลกคือสวีเดน ที่นั่นเขาจะใช้ระบบการจัดการแบบจริงจังมาก คือเมื่อใดก็ตามหากพบเงื่อนงำว่ามีข้าราชการทุจริตคอร์รัปชั่นพวกเขาจะเริ่มสอบสวนอย่างรวดเร็ว จริงจัง เข้มงวด เมื่อพบว่ามีความผิดจริงจะประกาศออกสื่อเพื่อให้ประชาชนรับรู้พร้อมหลักฐาน เรียกว่า ประจานก็ได้ ต่อให้ยิ่งใหญ่ มีเงินมาจากไหนก็โดนหมดหากทำผิด

7.นิวซีแลนด์ใช้หน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชั่นอิสระ 

    อีกหนึ่งประเทศที่เป็นเบอร์ต้น ๆ ของโลกเรื่องของการไร้คอร์รัปชั่น เขามีแนวทางแก้ไขคือสร้างหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชั่นขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐและเอกชนทุกประเภท โดยหน่วยงานนี้จัดเป็นหน่วยงานอิสระไม่ขึ้นตรงกับใครทั้งสิ้น ส่งผลให้สามารถทำงานของตนเองได้อย่างสบาย ไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใด ๆ เข้ามาหาทั้งนั้น

8.เกาหลีใต้ใช้กฎหมายบวกหน่วยงานอิสระพร้อมพัฒนาโครงสร้างต่าง ๆ ไปพร้อมกัน

    อีกหนึ่งประเทศพัฒนาแล้วของเอเชียพวกเขาใช้การปราบคอร์รัปชั่นร่วมกันหลายวิธีทั้งออกกฎหมาย การจัดตั้งหน่วยงานอิสระสำหรับดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างความเข้าใจต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับรู้ เช่น พัฒนาหน่วยงานให้หมดปัญหาคอร์รัปชั่น, ให้การศึกษาและทำความเข้าใจถึงผลร้าย, ป้องกันบุคคลที่เป็นพยานหลักฐานอย่างแน่นอน

9.ฟินแลนด์ให้ถือเป็นคดีอาญารวมถึงมีมาตรการเชิงรับ 

     การทำตามกฎหมายถือเป็นมาตรการเชิงรุกที่ฟินแลนด์ใช้คือข้าราชการคนไหนมีปัญหาคอร์รัปชั่นให้ถือเป็นคดีอาญาทั่วไปทั้งหมด แต่ก็มีการใช้มาตรการเชิงรับเข้ามาด้วย เช่น ลดแรงจูงใจของบรรดาข้าราชการที่จะรับสินบนหรือประพฤติตัวไม่ดี, ภาครัฐต้องมีความโปร่งใสให้ประชาชนรับรู้ เป็นต้น

10.นอร์เวย์มีการตั้งองค์กรดำเนินการเอาผิดชัดเจน 

     ปิดท้ายด้วยนอร์เวย์ที่มีการตั้งองค์กรชื่อ หน่วยงานสืบสวนและสั่งฟ้องการก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินอร์เวย์ ขึ้น โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อปราบการคอร์รัปชั่นให้หมดไปจากประเทศ และพวกเขาก็ทำได้ดีจนเป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศโปร่งใส

 

      ต้องบอกว่าจริง ๆ แล้วแนวทางการปราบคอร์รัปชั่นของแต่ละประเทศล้วนมีแนวทางที่น่านับถือทั้งสิ้น แต่อีกประเด็นหลักที่ ร้านไทยจราจร มองคือขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและธรรมเนียมการปฏิบัติมาของประเทศนั้น ๆ ด้วย ประเทศไหนยังคงมีผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจครอบงำ ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในการปราบคอร์รัปชั่นดังประเทศพัฒนาแล้วเขาสามารถทำกันได้จนเป็นเรื่องปกติ

 

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found