วิธีดูแลการจราจรในสถานที่ก่อสร้างให้ปลอดภัยไร้กังวล

 
ในเขตพื้นที่ของการก่อสร้าง นั้นถูกกำหนดให้เป็นเขตอันตรายที่ต้องมีการควบคุมเป็นพิเศษ เพราะบริเวณที่มีการก่อสร้างจะเต็มไปด้วยวัสดุอุปกรณ์รวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ รวมไปถึงการใช้รถในบริเวณดังกล่าวอาจต้องพบเจอสภาพพื้นผิวถนนที่เต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง สภาพถนนที่เปลี่ยนไปจากความชำรุด การเปลี่ยนช่องทางเดินรถใหม่ ป้ายบอกทางที่หายไป การดูแลการจราจรในสถานที่ก่อสร้างจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยในการป้องกันอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง การนำอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจราจรมาใช้จะช่วยในแก้ปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

 วิธีดูแลการจราจรในสถานที่ก่อสร้างให้ปลอดภัย

 

 

 

 

 ในเขตก่อสร้างนั้น มีการปฏิบัติงานซึ่งมีความอันตรายเป็นอย่างมาก วันนี้ ร้านไทยจราจร ผู้จำหน่ายอุปกรณ์จราจรที่ครบครันและทันสมัยที่สุด จะมาแนะนำวิธีการดูแลเขตก่อสร้างด้วยการใช้อุปกรณ์จราจรในการอำนวยความสะดวกให้พื้นที่ก่อสร้างมีความปลอดภัยสูงสุด

     1. แบ่งพื้นที่การก่อสร้างให้ชัดเจน

  การกั้นเขตพื้นที่ของการก่อสร้างให้มีความชัดเจน จะช่วยเรื่องของความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี โดยอุปกรณ์ที่แนะนำให้ควรมีไว้ในเขตก่อสร้าง มีดังนี้
 
 
 

  • แผงกั้นจราจร ผู้ควบคุมงานก่อสร้างควรใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าแผงกั้นจราจร มาติดตั้งเพื่อให้บุคคลทั่วไปทราบถึงอาณาเขตของพื้นที่อันตรายเพื่อให้เกิดความระมัดระวัง โดยแผงกั้นนั้นก็มีให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น แผงกั้นแบบเหล็ก ที่มีความแข็งแรงทนทาน มีให้เลือกหลายขนาด ควรเลือกแผงกั้นแบบเหล็กที่มีการทาสีกันสนิมด้วย เพราะมีความทนทานเป็นพิเศษ อายุการใช้งานยาวนาน  หรือจะเป็นแผงกั้นแบบสเตนเลส ที่มีความสวยงาม ทนทาน และไม่มีทางเป็นสนิมเหมือนแผงกั้นเหล็กหรือถ้าเป็นพื้นที่ก่อสร้างในร่ม ก็หรือจะเลือกใช้แผงกั้นแบบพลาสติกก็ได้ ซึ่งมีราคาถูกกว่า มีน้ำหนักเบา ขนย้ายได้สะดวก เรายังสามารถเพิ่มตัวเลือกให้แผงกั้นได้ด้วยการติดโลโก้หน่วยงาน รวมไปถึงติดสัญญาณ ไฟกระพริบ เอาไว้ที่แผงกั้นด้วยก็ได้ หมดกังวลกับการทำงานตอนกลางคืน หรือการให้สัญญาณตอนกลางคืนที่อาจมีความผิดพลาดจากความมืด ป้ายสัญญาณแบบมีไฟนั้นมองเห็นได้ไกล ลดอุบัติเหตุการจราจรในพื้นที่งานก่อสร้างได้เป็นอย่างดี
  • กรวยจราจร เป็นอุปกรณ์ที่นับได้ว่ามีความสำคัญและมีใช้งานอย่างแพร่หลายในสถานที่ก่อสร้างต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ง่าย ยืดหยุ่นได้ในหลายสถานการณ์และมีราคาที่ถูกกว่าแผงกั้นจราจร เราสามารถใช้กรวยตั้งเรียงเป็นแนวพร้อมใช้เชือกขึงระหว่างกรวยแต่ละอันเพื่อทำเป็นอาณาเขตหวงห้ามแบบชั่วคราวได้ในกรณีที่พื้นที่นั้นไม่ได้มีอันตรายจากการก่อสร้างมาก เพียงแค่ต้องการสร้างสัญลักษณ์ให้ผู้คนทั่วไปทราบ

 

 

     2. ออกแบบเส้นทางการจราจรภายในเขตก่อสร้าง

  บางครั้งเขตพื้นที่การก่อสร้างนั้นก็อาจจะอยู่ใกล้ถนนที่มีผู้คนสัญจรไปมา หรือมีผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องใช้ยวดยานพาหนะเพื่อเข้าไปยังสถานที่ก่อสร้างนั้น ๆ การวางแผนการจราจรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ การออกแบบการจราจรในพื้นที่ก่อสร้าง มีหลักปฏิบัติดังนี้
  • ทางเข้า พื้นที่ก่อสร้างต้องมีการล้อมรั้วให้เป็นสัดส่วน มีการกำหนดทางเข้าให้ง่ายต่อการควบคุม ตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะเข้าไปยังพื้นที่ โดยติดตั้งป้ายเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ผู้ควบคุมงานตั้งเอาไว้
  • ทางออก ในเขตพื้นที่ก่อสร้างควรต้องกำหนดทางออกเอาไว้แยกจากทางเข้า เพราะในบางครั้งหากมีรถบรรทุกขนวัสดุก่อสร้างเข้ามายังพื้นที่ อาจจะทำให้การจราจรติดขัดหรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ และต้องมี ป้ายห้ามเข้า ไว้ตรงบริเวณทางออก เพื่อเตือนให้รู้ว่าควรใช้ช่องทางเข้า-ออกอย่างถูกต้อง ในกรณีที่ไม่สามารถแยกทางเข้า-ออกเป็นคนละทางได้ ก็อาจจะใช้ กรวยจราจร เป็นตัวแบ่งช่องทางเดินรถให้ชัดเจน

 

 

 

  • ถนนภายในเขตก่อสร้าง ในเขตพื้นที่ที่มีการก่อสร้างนั้น ปัญหาอย่างหนึ่งที่มักพบเจอก็คือปัญหาการเดินรถที่ค่อนข้างสับสน เนื่องจากถนนที่ใช้สัญจรนั้นเป็นเพียงเส้นทางที่ถูกสร้างขึ้นมาเพียงชั่วคราว ผู้ควบคุมการก่อสร้างควรแบ่งช่องทางเดินรถให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งานยานพาหนะสัญจรอยู่ภายในเขตพื้นที่ควบคุมอย่างปลอดภัย รวมถึงต้องจัดทางเท้าหรือทางเดินสำหรับใช้สัญจรด้วยเท้าภายในพื้นที่ให้ปลอดภัยจากการเดินรถด้วย ทั้งนี้อาจใช้ เครื่องหมายจราจร มาเป็นสัญลักษณ์ในการควบคุมการจราจรภายใน เช่น ป้ายห้ามเข้า สำหรับการเดินรถทางเดียว หรือทางตันที่ไม่สามารถใช้งานได้ ป้ายบอกทางเลี้ยวตามทางแยกต่าง ๆ

     3. ติดตั้งป้ายเตือนในเขตอันตราย 

 

 

  ในเขตก่อสร้างบางพื้นที่นั้นมีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายมากเป็นพิเศษ ควรมีการติดตั้งป้ายเตือนให้ชัดเจน เช่น ป้ายจำกัดน้ำหนัก สำหรับป้องกันรถที่มีน้ำหนักเกินกำหนด เพราะบางพื้นที่อาจมีปัญหาดินทรุด ป้ายจำกัดความกว้าง เพื่อไม่ให้รถที่มีความกว้างเกินกำหนดเข้าไปยังถนนที่มีความแคบเป็นพิเศษ ป้ายจำกัดความเร็ว เนื่องจากพื้นที่การก่อสร้างนั้นเต็มไปด้วยวัสดุอุปกรณ์และคนงานจำนวนมาก การควบคุมความเร็วจะเป็นการป้องกันอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี

     4. ให้ความสำคัญของระบบไฟส่องสว่าง

 

 

  ในตอนกลางวันที่มีแสงสว่างเพียงพอต่อการมองเห็น การปฏิบัติงานในพื้นที่ก่อสร้างอาจไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่ในเวลากลางคืน เขตก่อสร้างที่มีระบบแสงสว่างไม่เพียงพออาจจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ การให้ความสำคัญกับระบบแสงสว่างจึงถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จุดที่ควรติดตั้งระบบไฟส่องสว่างให้เพียงพอ มีดังนี้
  • บริเวณทางเข้า-ออก เป็นจุดที่มีการจราจรหนาแน่น การติดตั้งไฟส่องสว่างจะช่วยลดอุบัติเหตุได้ และควรควบคุมไม่ให้มีการวางวัสดุกีดขวางทางเข้า-ออก เช่น ถังขยะ เพราะนอกจากจะทำให้ทางเข้า-ออกคับแคบแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

 

  • ถนนภายในเขตก่อสร้าง บางพื้นที่การก่อสร้างที่มีการทำงานในตอนกลางคืน ต้องติดระบบไฟส่องสว่างตรงถนนที่ใช้สัญจรให้เพียงพอ ทั้งนี้นอกจากจะเป็นการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจรแล้ว ยังช่วยป้องกันอันตรายต่อคนงานที่ทำงานในช่วงเวลากลางคืนด้วย
  • โกดังเก็บวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง ในเขตก่อสร้างนั้นมีวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ต้องใช้งานหลายประเภท เช่น รถเข็น เครื่องโม่ปูน จอบ เสียม ค้อนปอนด์ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า และอุปกรณ์รวมถึงเครื่องจักรอีกหลายชนิด การติดตั้งระบบไฟส่องสว่างในโกดังเก็บวัสดุอุปกรณ์จะช่วยเรื่องของความสะดวกในการเข้าไปนำอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้งาน แล้วยังช่วยป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้

 

 

 

     5. มีพนักงานควบคุมความปลอดภัย

  นอกจากมาตรการความปลอดภัย ในพื้นที่ก่อสร้างที่ผู้รับผิดชอบต้องควบคุมอย่างเข้มงวดแล้ว ควรมีพนักงานในการดูแลความปลอดภัยเบื้องต้นด้วย เช่น จัดเวรยามดูแลการจราจรในพื้นที่ก่อสร้าง เวรยามรักษาความปลอดภัยในเวลากลางคืน โดยผู้ควบคุมงานก่อสร้างต้องให้ความสำคัญกับพนักงานเหล่านี้ด้วย ต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน เช่น
  • ไฟฉายส่องสว่าง เพื่อใช้ปฏิบัติหน้าที่ตอนกลางคืน หรือในบริเวณที่แสงสว่างส่องเข้าไปไม่ถึง

 

 

 

  • หมวกนิรภัย ถือเป็นอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยพื้นฐานที่ต้องมีใช้ในงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันวัสดุหล่นใส่ศีรษะเมื่อต้องเข้าไปยังพื้นที่อาคารก่อสร้าง การละเลยการใส่หมวกนิรภัยอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
  • เสื้อจราจรสะท้อนแสง เพื่อใช้งานในกรณีปฏิบัติหน้าที่ตอนกลางคืน  โดยเสื้อจราจรแบบมีแถบสะท้อนแสงของ ร้านไทยจราจร นั้น มีคุณสมบัติที่สามารถสะท้อนแสงได้ดีในเวลากลางคืน สวมทับเสื้อทั่วไปได้ทันที สามารถลดอุบัติเหตุจากการทำงานได้

 

 

 

  การควบคุมการจราจร ในเขตพื้นที่ก่อสร้างนั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ ซึ่งวิธีการต่าง ๆ ที่ ร้านไทยจราจร ผู้เชี่ยวชาญและผู้นำด้านอุปกรณ์จราจรทันสมัย แนะนำข้างต้นสามารถช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุในเขตก่อสร้างได้ แต่ถึงอย่างไรอุบัติเหตุก็เป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นในพื้นที่ก่อสร้าง ควรแจ้งเหตุไปยัง อปพร. ทีมกู้ภัย หรือโรงพยาบาลใกล้เคียง เพื่อขอรับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทุกชีวิตมีความปลอดภัยสูงสุดในการทำงานของไซต์งานก่อสร้าง
ที่มาข้อมูล