รู้จัก 10 ป้ายจราจร ที่มักพบเห็นได้บ่อยบนท้องถนน

 
                          ในการใช้รถใช้ถนนนั้น การปฏิบัติตามกฎจราจรเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ประเทศไทยมีกฎหมายจราจรเพื่อควบคุมการเดินทางบนท้องถนนให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและมีบทลงโทษต่อผู้กระทำผิด ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎจราจรจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราสังเกตดูตามท้องถนนก็จะพบว่าตามถนนสายต่างๆนั้นมีการใช้ เครื่องหมายจราจร เช่น ป้าย หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายในการควบคุมการจราจร ซึ่งผู้ใช้รถต้องศึกษาความหมายของสัญลักษณ์เหล่านั้นให้ดี เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามได้ถูกต้อง

ประเภทของ ป้ายจราจร ที่ควรทราบ

 

 

 

 

     1. ป้ายประเภทบังคับ

ป้ายประเภทนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการบังคับให้ผู้ใช้รถปฏิบัติตามความหมายของสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนป้ายนั้น โดยจะกำหนดเอาไว้ 3 ลักษณะ คือ
              การฝ่าฝืนป้ายประเภทบังคับนั้น ผู้กระทำย่อมมีความผิดตามกฎหมายและต้องถูกดำเนินคดีที่มีทั้งทางแพ่งและทางอาญา โดยป้ายประเภทบังคับมักจะใช้พื้นสีขาว ขอบสีแดง เป็นหลัก
 
 
 

     2. ป้ายประเภทเตือน

ป้ายประเภทนี้ มักจะมีพื้นสีเหลือง ขอบสีดำเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนผู้ขับขี่ให้ทราบล่วงหน้าถึงสภาพเส้นทางหรือเหตุบางอย่างบนท้องถนนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในการใช้ถนนได้ เป็นการเตือนให้ผู้ขับขี่ระมัดระวัง เช่น ป้ายเตือน ทางแยก ป้ายทางโค้ง ป้ายบอก สัญญาณจราจร เป็นต้น

     3. ป้ายประเภทแนะนำ

ป้ายประเภทนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำแนะนำผู้ใช้รถใช้ถนนเพื่อการเดินทาง หรือเพื่อให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เส้นทาง เช่น ป้ายบอกทาง ป้ายบอกสถานที่สำคัญ ป้ายบอกจุดพักรถ เป็นต้น

 

รู้จัก 10 ป้ายจราจร ที่พบเห็นได้บ่อยบนท้องถนน

ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะหรือโดยสารยานพาหนะเป็นประจำ คงจะเคยเห็นป้ายต่างๆตามเส้นทางกันมาบ้าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักป้าย 10 แบบที่มักจะพบเห็นได้อยู่เป็นประจำบนท้องถนน

   1. ป้ายห้ามจอดรถ

         ป้ายห้ามจอดนี้เป็นป้ายประเภทบังคับ มีความหมายถึงการห้ามรถทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุกหรือแม้กระทั่งรถจักรยาน ห้ามมิให้จอดรถระหว่างแนวขอบทางบริเวณที่มีป้ายห้ามจอดรถติดตั้งอยู่ แต่ก็มีข้อยกเว้นเล็กน้อยด้วยการอนุญาตให้จอดรับส่งคนหรือสิ่งของได้ชั่วคราวและต้องกระทำอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เกิด ปัญหารถติด ในบริเวณที่มีการจราจรคับคั่งหรือในชั่วโมงเร่งด่วน
 
 
 
 

   2. ป้ายห้ามเลี้ยว

   ป้ายห้ามเลี้ยวถือเป็นป้ายบังคับอีกประเภทหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ห้ามมิให้ผู้ใช้ทางเปลี่ยนช่องทางเดินรถไปยังทิศทางที่ห้ามไว้ เช่น ห้ามเลี้ยวขวา ห้ามเลี้ยวซ้าย ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมการจราจรให้มีความคล่องตัว เรามักจะเห็นป้ายห้ามเลี้ยวนี้ในเส้นทางในช่วงที่เป็นทางวันเวย์หรือการเดินรถทางเดียว

   3. ป้ายห้ามเข้า

   เป็นป้ายที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อห้ามไม่ให้ยานพาหนะทุกชนิดเข้าไปยังบริเวณนั้น โดยมากจะพบป้ายลักษณะนี้ในพื้นที่แหล่งชุมชนที่มีการเดินเท้าสัญจรเป็นหลัก เช่น แถวห้างสรรพสินค้า ชุมชน หรือห้ามเข้าไปในถนนที่เป็นเส้นทางการเดินรถทางเดียวหรือพื้นที่หวงห้าม
 
 
 
 

   4. ป้ายหยุด

   เป็นป้ายลักษณะแปดเหลี่ยมพื้นสีแดง ขอบสีขาว มีตัวหนังสือคำว่า “หยุด” อยู่ที่กลางป้าย ส่วนมากเรามักจะเห็นป้ายหยุดตรงบริเวณทางร่วมทางแยก ทั้งที่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่มี วัตถุประสงค์ของป้ายนี้ก็เพื่อให้ผู้ขับขี่ทำการหยุดรถบริเวณทางแยกเพื่อสังเกตการจราจรให้ปลอดภัยเสียก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึงทำการขับขี่ต่อไปได้ เพราะในบริเวณทางแยกหลายแห่งนั้นไม่มีสัญญาณไฟจราจร จึงต้องหยุดรถเพื่อความปลอดภัยเสียก่อน เรายังสามารถพบป้ายนี้ได้ตรงบริเวณทางข้ามทางรถไฟ และตามด่านกวดขันวินัยจราจร และด่านตรวจได้อีกด้วย ซึ่งบริเวณด่านตรวจนั้นอาจจะมีการตั้ง กรวยจราจร เป็นแนวยาวเพื่อควบคุมการเดินรถให้เข้ามายังช่องของด่านตรวจอย่างเป็นระเบียบ
 
 
 
 

   5. ป้ายห้ามกลับรถ

   หลายครั้งที่ผู้ใช้ทางมีความจำเป็นต้องกลับรถ อาจจะด้วยสาเหตุของการขับรถเลยเส้นทางที่ต้องการไป หรือเพื่อเข้าสู่เส้นทางเดินรถใหม่ จุดกลับรถจึงมีความสำคัญสำหรับกรณีดังกล่าว แต่การกลับรถในบริเวณที่มีป้ายห้ามเอาไว้ ถือเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎจราจร เพราะการกลับรถในบริเวณที่มีป้ายห้าม อาจจะก่อให้เกิดอันตรายจากอุบัติเหตุจากรถที่มาทางตรงอย่างถูกต้อง นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของการเกิด ปัญหารถติด จากความมักง่ายและเห็นแก่ตัวของคนบางคน
 
 
 
 

   6. ป้ายระวังคนข้ามถนน

     ป้ายคนข้ามถนนนี้เป็นป้ายประเภทเตือน มีลักษณะพื้นหลังสีเหลือง มีรูปคนเดินคล้ายข้ามถนนอยู่ตรงกลาง เรามักพบเห็นป้ายเตือนลักษณะนี้อยู่ในเขตชุมชนที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานที่ประกอบธุรกิจต่าง ๆ โดยป้ายนี้มักถูกติดตั้งให้อยู่ใกล้กับทางม้าลาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์เตือนให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังคนที่ต้องการเดินข้ามถนน ข้อปฏิบัติที่สำคัญของผู้ขับขี่ก็คือ การลดความเร็วเมื่อเห็นป้ายเตือน และต้องหยุดรถเมื่อมีผู้รอข้ามทางม้าลาย ไม่ควรเร่งความเร็วเพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อคนเดินเท้าได้ และนอกจากนั้นการไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลายถือเป็นความผิดตามกฎจราจร มีโทษทั้งจำทั้งปรับ เพราะการทำให้ผู้อื่นเป็นอันตรายจากความประมาทถือเป็นโทษร้ายแรง ดังนั้นผู้ใช้รถควรมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนเดินถนนด้วย
 
 
 
 

   7. ป้ายจำกัดความเร็ว

    เป็นป้ายประเภทบังคับ ที่มีลักษณะให้กระทำ โดยป้ายจะเป็นวงกลมใช้พื้นสีขาว ขอบสีแดง มีตัวเลขกำหนดความเร็วของการเดินรถเอาไว้  เช่น เลข 50 , 60 , 90 เป็นต้น ตัวเลขดังกล่าวมีไว้เพื่อควบคุมไม่ให้ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วเกินกำหนด โดยมากเราจะพบเห็นป้ายนี้ในเขตที่เป็นชุมชนหรือสภาพเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่น การขับรถเร็วเกินกำหนดในเขตชุมชนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งผู้ขับขี่ที่กระทำผิดกฎหมายด้วยการใช้ความเร็วเกินกำหนดและความสูญเสียต่อบุคคลอื่น การปฏิบัติตามป้ายควบคุมความเร็วอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดอุบัติเหตุได้ เช่น ป้ายจำกัดความเร็ว 90 km./hr ทำจากอลูมิเนียม หนา 1.2 mm จากร้านไทยจราจรที่มาพร้อมกับการรับประกัน 1 ปี
 
 
 
 

   8. ป้ายห้ามแซง

หนึ่งในสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเกิดอุบัติเหตุก็คือการแซงในเขตห้ามแซง เราจะพบเห็นป้ายห้ามแซงได้ในเส้นทางที่มีความโค้งชันที่มีทัศนวิสัยในการมองเห็นน้อย หรือถนนที่แคบมีเพียงสองเลนสวนกันไม่เหมาะสมที่จะแซง แต่ก็ยังมีผู้ฝ่าฝืนอยู่เสมอ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการแซงในที่คับขันอยู่เป็นประจำ

   9. ป้ายวงเวียน

      โดยป้ายนี้ จะติดเอาไว้เพื่อบอกผู้ขับขี่ว่าทางแยกข้างหน้าจะมีวงเวียน เพราะบางเส้นทางนั้นมีทางร่วมทางแยกมากว่าสี่แยก การใช้สัญญาณไฟจราจรตามแบบทางแยกทั่วไปอาจก่อให้เกิดความสับสนได้ จึงต้องมีการใช้สิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าวงเวียนมาแก้ปัญหา หรือในบางทางแยกการใช้วงเวียนมาแทนสัญญาณไฟจราจรจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดได้ เพราะรถที่มาถึงทางแยกไม่ต้องรอสัญญาณไฟอีกต่อไป ช่วยให้รถเคลื่อนตัวไปได้อย่างสะดวก หลักปฏิบัติในการใช้วงเวียนก็คือต้องให้รถที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน ซึ่งเป็นมารยาทของผู้ใช้รถใช้ถนนพึงกระทำร่วมกัน

 

 

 

 

 

   10. ป้ายจำกัดความสูง

      ป้ายลักษณะนี้ เป็นป้ายประเภทเตือน มีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดความสูงของรถที่สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวสัญจรไปมาได้ โดยป้ายจะมีตัวเลขกำกับเอาไว้ เช่น 2.5 ม. , 3 ม. , 5 ม. เราจะพบเห็นป้ายชนิดนี้ได้บริเวณทางลอดใต้สะพาน อุโมงค์ สะพานลอยที่มีความสูงจำกัด หรือที่จอดรถบนอาคารสูง โดยรถที่มีความสูงมากกว่าตัวเลขที่ระบุบนป้าย ต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าวโดยเด็ดขาด การฝ่าฝืนป้ายเตือนจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
ความสำคัญของป้ายหรือ เครื่องหมายจราจร
 
 
 
 
 
การปฏิบัติตามป้ายหรือสัญลักษณ์ต่างๆมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด จะช่วยสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยและช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงการเปรียบเทียบปรับหรือลงโทษตามกฎหมายแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทั้งนี้การปลูกฝังจิตสำนึกและวินัยจราจรเป็นเรื่องที่ทุกคนควรตระหนักต่อการเคารพกติกา ซึ่งร้านไทยจราจรขอเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้ทุกคนเคารพกฎจราจรเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมที่จะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการจราจร
 
ที่มาข้อมูล