ข้อดี/ข้อเสีย ของการใช้สีต้มจราจร ชนิดเทอร์โมพลาสติก

       เวลาขับรถไปตามท้องถนนที่มีการปรับเส้นการจราจรหรือถนนที่กำลังสร้างใหม่แล้วเริ่มมีการตีเส้นจราจรเรามักเห็นว่าบรรดาเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ จะเข็นรถเข็นที่ด้านล่างจะเป็นสีสำหรับตีเส้นจราจร เมื่อเดินผ่านไปทางไหนสีก็จะหลุดติดกับพื้นถนนกลายเป็นช่องจราจรที่เราเห็นกันจนชินตา ทั้งเส้นสีขาวและเส้นสีเหลือง สีที่ว่านี้คือสีชนิดเทอร์โมพลาสติก หรือบางคนก็เรียก สีต้มจราจร นั่นเอง บทความนี้ ร้านไทยจราจร จะพามารู้จักกับสีชนิดที่ว่ากันให้ละเอียดมากขึ้นรวมถึงบอกข้อดีข้อเสียอย่างชัดเจนกันไปเลย

สีชนิดเทอร์โมพลาสติก คืออะไร

        สีเทอร์โมพลาสติกคือสีประเภทหนึ่งที่เอาไว้ใช้งานกับพื้นผิวถนนเป็นส่วนใหญ่ บางคนก็เรียกว่าสีต้มจราจร หรือ สีตีเส้นจราจรก็แล้วแต่ว่าจะใช้คำไหนกระนั้นความหมายก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยสีชนิดนี้จะมีส่วนผสมของสารยึดเกิน 18% พร้อมด้วยส่วนผสมลูกแก้วสะท้อนแสง 30% ขึ้นไป เพื่อให้การใช้งานมีความติดแน่น คงทน สะท้อนแสงได้ดี โดยจะมีการผลิตออกมาเป็นผง ซึ่งการจะนำไปใช้นั้นต้องผ่านการต้มเสียก่อน โดยการต้มจำเป็นต้องต้มให้ไฟแรงพอสมควรราว 160 – 180 องศาเซลเซียส เป็นการทำให้สีแตกตัวและระหว่างการต้มจำเป็นต้องกวนสีตลอดเวลาไม่อย่างนั้นสีจะแห้งติดกันได้ง่ายมาก ๆ เมื่อต้มได้ที่จึงนำไปใส่กับรถเข็นทาสีต่อไป

การนำสีเทอร์โมพลาสติกไปใช้งาน

     การจะใช้งานสีเทอร์โมพลาสติกในการตีเส้นถนน ตีเส้นจราจรต่าง ๆ ก็ต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้สีเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยขั้นตอนการนำไปใช้มีดังนี้

  1. พื้นผิวของถนนที่จะทาสีจำเป็นต้องสะอาดเรียบร้อยแบบหมดจดด้วยการทำความสะอาดไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องพ่นเอาเศษฝุ่นละอองต่าง ๆ ออกไป ใช้ไม้กวาดกวาดเศษขยะ เศษผงให้ออกไปจากพื้นที่
  2. เมื่อไม่มีเศษขยะใด ๆ แล้วให้ทาสีรองพื้นก่อนโดยเลือกให้เหมาะสมกับถนนว่าเป็นยางมะตอย, แอสฟัลต์ หรือถนนคอนกรีต
  3. เมื่อต้มสีเสร็จเรียบร้อยก็ให้เทสีใส่ลงในรถทาสีจากก็จัดการทาสีเทอร์โมพลาสติกตามช่องที่ได้กำหนดเอาไว้ได้เลย ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับการทาสีด้วยเทอร์โมพลาสติกแบบนี้

ข้อดีของการใช้สีเทอร์โมพลาสติก

     ด้วยความที่สีประเภทนี้ถูกใช้งานกันมานานไม่แปลกที่จะต้องมีข้อดีหลาย ๆ ด้านที่ทำให้คนยังคงนิยมกันอยู่ ว่าแล้วลองมาดูถึงข้อดีของสีเทอร์โมพลาสติกกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

  1. มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุประเภทอื่น ๆ ที่จะนำมาใช้ในการตีเส้นถนน อาทิ เทปติดกันลื่นสะท้อนแสง
  2. มีความทนทานต่อสภาวะอากาศทุกประเภทไม่ว่าจะช่วงเวลาฝนตกหรือเวลาที่แดดร้อนจัด ๆ เนื่องจากมีการผสมสารเคมีที่เกี่ยวข้องลงไปหลายส่วนจึงไม่ต้องห่วงเรื่องของการเจอสภาพอากาศแบบบ้านเรามากเท่าไหร่นัก
  3. สีแห้งไว้จึงไม่ต้องเป็นกังวลว่าเมื่อทาไปแล้วจะเปิดใช้งานถนนได้ช้า อีกทั้งยังทำให้คนทำงานไม่ต้องเป็นกังวลว่าสีจะแห้งตอนไหนกันแน่
  4. มองเห็นได้ดีเมื่อขับขี่ในเวลากลางคืน ทำให้ช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ยิ่งถ้ามี โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ เข้ามาติดตั้งช่วยด้วยแล้วพื้นที่บริเวณนั้นจะมองเห็นเส้นถนนชัดเจนมาก

ข้อเสียของการใช้สีเทอร์โมพลาสติก

     เป็นเรื่องปกติของสินค้าทุกประเภทเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย ซึ่งสีเทอร์โมพลาสติกเองหากมองในมุมที่เป็นด้านลบก็มีให้เห็นเหมือนกัน

  1. ขั้นตอนการใช้งานยุ่งยาก ต้องมีการนำสีไปต้มก่อน ต้องมีการทาสีรองพื้น หากคนทำไม่มีความชำนาญจริง ๆ โอกาสเกิดความเสียหายมีสูงมากทีเดียว
  2. เวลารวมแล้วใช้เยอะกว่าวัสดุประเภทอื่น – แม้จะบอกว่าสีเทอร์โมพลาสติกแห้งไว้แต่เมื่อเทียบกับวัสดุประเภทอื่น เช่น ใช้ เทปติดกันลื่นสะท้อนแสง ไม่ต้องรอสีแห้ง ไม่จำเป็นต้องทารองพื้นก่อน แค่เอาเทปใส่ลงไปใน รถเข็นติดเทปตีเส้น ก็สามารถใช้งานได้ทันที
  3. หากเทียบกับเทปสะท้อนแสงจริง ๆ แล้วความสว่างในตอนกลางคืนยังมีน้อยมาก ๆ อีกทั้งเมื่อสีหลุดล่อนไปจะทำให้การมองเห็นเป็นเรื่องยากกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว
  4. บางครั้งหากทาสีแบ่งเลนถนน, ลูกศร, เครื่องหมายจราจรต่าง ๆ บนท้องถนนมากเกินไปจะทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวนูนขึ้นเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของบรรดารถมอเตอร์ไซค์หรือรถจักรยานได้ง่ายมาก
  5. ระยะเวลาการใช้งานไม่สูงเมื่อเทียบกับวัสดุประเภทอื่น เพราะถ้าสีเทอร์โมพลาสติกโดนรถทับเป็นประจำทุกวันโอกาสที่จะหลุดหรือแตกออกมีสูงมาก

         ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของสีเทอร์โมพลาสติกที่ ร้านไทยจราจร หยิบนำมาฝากกัน จริง ๆ แล้วอย่างที่บอกไปว่าสิ่งของทุกอย่างบนโลกใบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกมองมุมไหนมากกว่ากันเท่านั้นเอง แต่ถ้าใครอยากลองวัสดุประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สีเทอร์โมพลาสติกในการตีเส้นถนน ขอแนะนำให้กดเข้าไปที่ https://trafficthai.com/road%20anti-slip.html แล้วจะเจอกับอีกสุดยอดวัสดุชั้นดีที่ทำให้คุณต้องประทับใจอย่างมากกับการตีเส้นจราจร

Block "content-bottom" not found

Block "catalog-trafficfence" not found